พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่ารักษาพยาบาลในระเบียบสวัสดิการนายจ้าง: รถพยาบาลไม่ใช่ค่าบำบัดโรคโดยตรง
เมื่อระเบียบของนายจ้างมีข้อจำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลและ ระบุ ชื่อโรงพยาบาลที่ลูกจ้างและครอบครัวจะไปรักษาไว้ การที่ลูกจ้างป่วย โดยมิได้เกิดจากประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงยกบทคำนิยามของค่ารักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ แต่ต้องพิจารณา จากระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของนายจ้างและเมื่อระเบียบไม่มีบทนิยาม คำว่าค่ารักษาพยาบาลไว้ จึงต้องแปลคำว่าค่ารักษาพยาบาล ตามความเข้าใจของคนทั่วไปว่า หมายถึงค่าบำบัดโรคโดยตรงเท่านั้น ดังนี้ ค่ารถพยาบาลซึ่งระเบียบมิได้กำหนดให้เบิกได้จึงมิใช่ค่าบำบัดโรค อันลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่ารักษาพยาบาลในระเบียบสวัสดิการ: รถพยาบาลไม่ใช่ค่าบำบัดโรคโดยตรง
เมื่อระเบียบของนายจ้างมีข้อจำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลและ ระบุ ชื่อโรงพยาบาลที่ลูกจ้างและครอบครัวจะไปรักษาไว้ การที่ลูกจ้างป่วย โดยมิได้เกิดจากประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงยกบทคำนิยามของค่ารักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ แต่ต้องพิจารณา จากระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของนายจ้างและเมื่อระเบียบไม่มีบทนิยาม คำว่าค่ารักษาพยาบาลไว้ จึงต้องแปลคำว่าค่ารักษาพยาบาล ตามความเข้าใจของคนทั่วไปว่า หมายถึงค่าบำบัดโรคโดยตรงเท่านั้น ดังนี้ ค่ารถพยาบาลซึ่งระเบียบมิได้กำหนดให้เบิกได้จึงมิใช่ค่าบำบัดโรค อันลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำเตือนลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากการให้ลงชื่อรับทราบได้ การไม่ลงชื่อไม่ใช่ความผิด
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่งจึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำเตือนลูกจ้าง นายจ้างมีวิธีอื่นนอกเหนือจากการให้ลงชื่อรับทราบได้
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่งจึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนนายจ้าง: การไม่ลงชื่อรับทราบคำเตือนไม่ใช่การขัดคำสั่ง หากนายจ้างแจ้งคำเตือนด้วยวิธีอื่น
เมื่อนายจ้างออกคำเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งคำเตือนให้ลูกจ้างทราบ การให้ลูกจ้างลงชื่อทราบคำเตือนมิใช่วิธีการอย่างเดียวสำหรับการแจ้งคำเตือน นายจ้างอาจใช้วิธีการอย่างอื่นแทนได้ เช่น การแจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศให้ทราบ ดังนั้นการที่ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนเป็นหนังสือตามที่นายจ้างสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนเงินยืมทดรองกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการจ้าง
แม้ระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ จะระบุว่า ถ้าการจ้างรายใดจำเป็นจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างก็จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อนโดยต้องจัดให้มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่รับไปล่วงหน้านั้น โดยมิได้ระบุถึงกรณีออกตั๋วแลกเงินไว้ก็ตาม แต่ตั๋วแลกเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือกันได้ ใช้ชำระหนี้ในวงการค้าและวงการธุรกิจเป็นปกติแพร่หลายอยู่โดยทั่วไป ผู้ใดได้ตราสารเช่นนี้ไว้เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ก็สามารถรับเงินได้ ตราสารเช่นว่านี้จึงมี "คุณค่า"เป็นเงิน ต้องด้วยเจตนารมณ์ ของ ระเบียบดังกล่าว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย กรณีฝ่าฝืนระเบียบ ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทจำเลย ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณโรงงานของจำเลย แม้จะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นการที่โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดย มิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเนื่องจากละเลยหน้าที่ปล่อยคนเข้าโรงงาน แม้ไม่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทจำเลย ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณโรงงานของจำเลย แม้จะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นการที่โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดย มิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน
หนังสือมอบอำนาจแผ่นแรกระบุผู้มอบอำนาจไว้ว่า "ข้าพเจ้า ก.กับพวก รวม 4 คน" ขอมอบอำนาจให้ ส.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องบริษัทท.เรื่อง ค่าจ้าง และในช่องผู้มอบอำนาจได้มีลายมือชื่อ ก. โจทก์ที่ 1 ลงไว้แต่ผู้เดียว แต่ในแผ่นที่ 2 ได้มีบัญชีรายชื่อลายมือชื่อ อายุ ที่อยู่ ผู้มอบอำนาจท้ายใบมอบอำนาจ และมีช่องแสดงลำดับที่รายชื่อ ผู้มอบอำนาจลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ อายุและที่อยู่ไว้โดยโจทก์ทั้งสี่มีรายชื่อ ในช่องรายชื่อ ผู้มอบอำนาจและลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไว้ทุกคน และใช้เป็นเอกสารแนบท้ายหนังสือมอบอำนาจฉบับแรก ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ทั้งสี่มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องบริษัทท. เรื่องค่าจ้างซึ่งเป็นเรื่องเดียวโดยเฉพาะ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการครั้งเดียวตามข้อ 7(ก) ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6เรื่อง อากรแสตมป์ แห่งประมวลรัษฎากร แม้ในหนังสือมอบอำนาจจะมีข้อความว่า โดยให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสี่ทุกประการรวมทั้งกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอน ฟ้องการประนีประนอมยอมความการสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ด้วยก็ตาม ก็เป็นเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผู้รับมอบอำนาจจำต้องกระทำในการพิจารณาของศาลอันสืบเนื่องมาจากการฟ้องคดีตามที่ได้รับมอบอำนาจ หาใช่เป็นเรื่องอื่นต่างหากจากการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ ดังนั้น ผู้มอบอำนาจจึงชอบที่จะเสียอากรโดยปิดแสตมป์เพียง 10 บาท อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ลาป่วย โดยจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ป่วยจริง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานโดยชอบของนายจ้างทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันทำงานและวันหยุดตามประเพณี
ในระหว่างปิดงาน การทำงานได้ยุติลงชั่วคราวไม่มีวันทำงานไม่มีวันลา และไม่มีวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันทำงานตามปกติและค่าจ้างในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อระหว่างปิดงานมีวันหยุดตามประเพณีอยู่ด้วย จำเลย ผู้เป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่โจทก์ลูกจ้าง