คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้จากบัญชีเดินสะพัด
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจผู้แทนนิติบุคคลนั้นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022 แม้หนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ ไม่มีข้อความอ้างอิงระบุว่าบริษัทโจทก์มีกรรมการจำนวนเท่าใด มีใครเป็นกรรมการและใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์และไม่แจ้งชัดแต่อย่างใดไม่
อ.ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจกรณีถือได้ว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจต่อศาล แม้โจทก์จะส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจฉบับอื่น มิใช่ต้นฉบับของใบมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และทำขึ้นในภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตามสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลย แต่ก็ปรากฏตามข้อความใบมอบอำนาจว่าเป็นใบมอบอำนาจทั่วไปให้ อ.มีอำนาจฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ได้ทุกประการดังนั้น อ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โจทก์หาจำต้องระบุชื่อจำเลยในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, ใบมอบอำนาจ, และการปฏิเสธข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมาย
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจผู้แทนนิติบุคคลนั้นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021และ 1022 แม้หนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ ไม่มีข้อความอ้างอิงระบุว่าบริษัทโจทก์มีกรรมการจำนวนเท่าใด มีใครเป็นกรรมการ และใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์และไม่แจ้งชัดแต่อย่างใดไม่
อ.ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจกรณีถือได้ว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจต่อศาล แม้โจทก์จะส่งต้นฉบับใบมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจฉบับอื่น มิใช่ต้นฉบับของใบมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และทำขึ้นในภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตามสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลย แต่ก็ปรากฏตามข้อความใบมอบอำนาจว่าเป็นใบมอบอำนาจทั่วไปให้อ.มีอำนาจฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ได้ทุกประการดังนั้น อ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ โจทก์หาจำต้องระบุชื่อจำเลยในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853-4854/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโยกย้ายตำแหน่งและการละเมิด: สิทธิของนายจ้างและขอบเขตอำนาจศาลแรงงาน
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้างสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ จำเลยนายจ้างย่อมมีอำนาจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์ยังมิได้ถูกเลิกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา49 การโยกย้ายเช่นนี้หามีกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลที่จะพิจารณาเป็นประการใดไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853-4854/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างในการโยกย้ายงาน และขอบเขตการพิจารณาของศาลแรงงานในกรณีละเมิด
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้างสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ จำเลยนายจ้างย่อมมีอำนาจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์ยังมิได้ถูกเลิกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 การโยกย้ายเช่นนี้หามีกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลที่จะพิจารณาเป็นประการใดไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์, พาไปเพื่อการอนาจาร, ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา โดยจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมโดยการพาผู้เสียหายไปหาผู้กระทำผิด
การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีเศษ ไปให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกผลัดกันข่มขืนกระทำชำเรานั้นจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาโดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วยกรรมหนึ่ง และจำเลยที่ 1ยังมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายไปให้พวกของตนผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราและรออยู่จนพวกของตนข่มขืนกระทำชำเราเสร็จแล้วจึงพาผู้เสียหายกลับไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่1 ร่วมกับพวกกระทำผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา276 และมาตรา 318 โดยมิได้ระบุวรรคศาลฎีกาจึงระบุวรรคเสียให้ถูกต้องและเมื่อฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามมาตรา 284 วรรคแรกตามฟ้องอีกด้วย ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ แต่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์, พาไปเพื่อการอนาจาร, และร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราโดยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีเศษไปให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกผลัดกันข่มขืนกระทำชำเรานั้นจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาโดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วยกรรมหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ยังมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายไปให้พวกของตนผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราและรออยู่จนพวกของตนข่มขืนกระทำชำเราเสร็จแล้วจึงพาผู้เสียหายกลับไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่1 ร่วมกับพวกกระทำผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 และมาตรา 318 โดยมิได้ระบุวรรคศาลฎีกาจึงระบุวรรคเสียให้ถูกต้องและเมื่อฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามมาตรา 284 วรรคแรก ตามฟ้องอีกด้วย ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ แต่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782-4784/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่แจ้งเท็จเรื่องสถานะสมาชิกสหภาพแรงงาน แล้วขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ได้แจ้งต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างขอกลับเข้าทำงานตามปกติในระหว่างที่จำเลยปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโดยรับรองว่าตนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และจำเลยตกลงรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมเช่นเดียวกับสมาชิกสหภาพแรงงานที่ไม่ได้ถูกปิดงาน ครั้นโจทก์เข้าทำงานตามปกติแล้วได้ขาดงานติดต่อกันเกินกว่าสามวันโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบ ดังนี้ เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จะอ้าง ว่าความจริงโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่แจ้งเท็จเพื่อ ต้องการทำงานและได้ค่าจ้าง จึงมีสิทธิไม่เข้าทำงานในระหว่างปิดงานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782-4784/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเพื่อกลับเข้าทำงานหลังปิดงานสหภาพ และการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากขาดงาน
การที่โจทก์ได้แจ้งต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างขอกลับเข้าทำงานตามปกติในระหว่างที่จำเลยปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโดยรับรองว่าตนไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และจำเลยตกลงรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมเช่นเดียวกับสมาชิกสหภาพแรงงานที่ไม่ได้ถูกปิดงาน ครั้นโจทก์เข้าทำงานตามปกติแล้วได้ขาดงานติดต่อกันเกินกว่าสามวันโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบ ดังนี้ เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จะอ้าง ว่าความจริงโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่แจ้งเท็จเพื่อ ต้องการทำงานและได้ค่าจ้าง จึงมีสิทธิไม่เข้าทำงานในระหว่างปิดงานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779-4781/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน, การหักค่าจ้างและเงินประกัน, การพิพากษาเกินคำขอ: คดีนี้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา และการพิพากษาคืนเงินประกันไม่เกินคำขอ
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาก็อาจยกขึ้นพิจารณาได้แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยก็ไม่รับวินิจฉัยให้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ขาดไป ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยหักค่าจ้างโจทก์บางส่วนและหักจากเงินประกันความเสียหายของโจทก์บางส่วนซึ่งเป็นการไม่ชอบ เมื่อเงินประกันความเสียหายคือเงินค่าจ้างของโจทก์ที่จำเลยหักไว้แต่ละเดือน อันถือได้ว่าเป็นค่าจ้างส่วนหนึ่งด้วยเช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินประกันความเสียหายที่จำเลยหักจากโจทก์ไปดังกล่าว จึงหาเป็นการ เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779-4781/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน-การหักค่าจ้าง-เงินประกันความเสียหาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นอำนาจศาลและขอบเขตการพิพากษา
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาก็อาจยกขึ้นพิจารณาได้แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยก็ไม่รับวินิจฉัยให้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ขาดไป ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยหักค่าจ้างโจทก์บางส่วนและหักจากเงินประกันความเสียหายของโจทก์บางส่วนซึ่งเป็นการไม่ชอบ เมื่อเงินประกันความเสียหายคือเงินค่าจ้างของโจทก์ที่จำเลยหักไว้แต่ละเดือนอันถือได้ว่าเป็นค่าจ้างส่วนหนึ่งด้วยเช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินประกันความเสียหายที่จำเลยหักจากโจทก์ไปดังกล่าว จึงหาเป็นการเกินคำขอไม่
of 51