พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: แก้ไขโทษกรรมเดียว แต่ยังไม่เกิน 5 ปี – ห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 279 ให้จำคุก 4 ปี และตามมาตรา 317 ให้จำคุก 5 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 9 ปีลดโทษตามมาตรา 78 ให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 317 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี 4 เดือน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่ได้จำกัดเฉพาะคำสั่งตรงๆ การปฏิบัติเปลี่ยนไปถือเป็นการเลิกจ้างได้
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้น ไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่จำกัดรูปแบบคำสั่ง การปฏิบัติเสมือนบุคคลภายนอกถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้นไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่งตรงตามกฎหมาย การกระทำแสดงเจตนาให้ผู้อื่นออกจากงานถือเป็นการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง นั้น ไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้การที่จำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายด้วยอาวุธอันตรายจนถึงแก่ความตาย และความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมกระทำ
การที่จำเลยที่ 2 จับเก้าอี้เหล็กกลมไม่มีพนักแล้วกระแทกปลายขาเก้าอี้ซึ่งเป็นเหล็กกลวงไม่มียางหุ้มไปที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของผู้ตายโดยแรง ทำให้กะโหลกศีรษะใต้บาดแผลยุบขนาด 3+2.5 ซ.ม. นั้น จำเลยที่ 2 ย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนได้ว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกรุมทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 กับพวกตามจำเลยที่ 2ออกไปทำร้ายผู้ตายโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน และไม่มีอาวุธติดตัวแต่อย่างใด และการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ก็เพียงชกต่อยผู้ตายโดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตายด้วย จำเลยที่1 คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตาย.
แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกรุมทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 กับพวกตามจำเลยที่ 2ออกไปทำร้ายผู้ตายโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน และไม่มีอาวุธติดตัวแต่อย่างใด และการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ก็เพียงชกต่อยผู้ตายโดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตายด้วย จำเลยที่1 คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยเก้าอี้ และความรับผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยที่ 2 จับเก้าอี้เหล็กกลมไม่มีพนักแล้วกระแทกปลายขาเก้าอี้ซึ่งเป็นเหล็กกลวงไม่มียางหุ้มไปที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของผู้ตายโดยแรง ทำให้กะโหลกศีรษะใต้บาดแผลยุบขนาด 3 + 2.5 ซ.ม. นั้น จำเลยที่ 2 ย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนได้ว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกรุมทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 กับพวกตามจำเลยที่ 2 ออกไปทำร้ายผู้ตายโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน และไม่มีอาวุธติดตัวแต่อย่างใด และการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ก็เพียงชกต่อยผู้ตายโดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตายด้วย จำเลยที่1 คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตาย
แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกรุมทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น แต่จำเลยที่ 1 กับพวกตามจำเลยที่ 2 ออกไปทำร้ายผู้ตายโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน และไม่มีอาวุธติดตัวแต่อย่างใด และการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ก็เพียงชกต่อยผู้ตายโดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตายด้วย จำเลยที่1 คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเหตุสงสัยตามสมควร ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความเท็จได้
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเจตนาแจ้งความเท็จ ไม่ใช่เพียงข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อน
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะ ทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะ ทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไปจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความกล่าวหาเท็จและการสร้างพยานหลักฐานเท็จ ต้องพิสูจน์เจตนาแกล้งแจ้งความหรือสร้างหลักฐานผิด
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขยายผลถึงตัวการ กรณีบริษัทเชิด
ศาลแรงงานกลางฟังว่าผู้ร้องและบริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่เกี่ยวพันอันเดียวกัน การจัดตั้งบริษัทจำเลยก็เพื่อเชิดบังหน้าต่อทางราชการและบุคคลภายนอก การดำเนินการของบริษัทจำเลยคือการดำเนินกิจการของผู้ร้อง จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธิยึดทรัพย์สินของผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการได้ ดังนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำยึด การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นตัวแทนเชิดของผู้ร้องเป็นเรื่องนอกประเด็นนั้นผู้ร้องประสงค์ที่จะให้ศาลฎีการับฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยมิได้ร่วมกันดำเนินกิจการดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดทรัพย์ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง.