คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460-4462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานตามสิทธิและผลต่อการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง นายจ้างมิอาจถือเป็นการขาดงานได้
ในระหว่างนัดหยุดงานลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเพราะมิได้ปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง แต่ก็ไม่ถือว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายนั้นได้ขาดงานตามหลักเกณฑ์ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกมาเป็นเหตุที่จะพิจารณาไม่ขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ได้ อย่างไรก็ตามการให้บำเหน็จความดีความชอบโดยการขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นสิทธิของนายจ้าง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่นายจ้างได้กำหนดไว้ ในชั้นนี้จึงไม่อาจบังคับจำเลยขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ได้โดยชอบที่จะบังคับเพียงให้จำเลยพิจารณาความดีความชอบของโจทก์เสียใหม่ตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิให้ถือว่าการนัดหยุดงานของโจทก์เป็นการขาดงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454-4455/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากคำสั่งยึดทรัพย์สินของบริษัท ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยและของกรรมการผู้จัดการของจำเลยไว้ทั้งหมด ตามมาตรา8วรรคแรกแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 นั้นจำเลยย่อมไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อไปว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำและจำเลยก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งดังกล่าวถึงวันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนเศษจำเลยจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีความสามารถจะจ้างโจทก์ที่ 2 ไว้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไปได้กรณีถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454-4455/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างอันเนื่องมาจากการถูกยึดทรัพย์สินของนายจ้าง ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยและของกรรมการผู้จัดการของจำเลยไว้ทั้งหมด ตามมาตรา 8 วรรคแรกแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 นั้นจำเลยย่อมไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อไปว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำและจำเลยก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งดังกล่าวถึงวันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนเศษจำเลยจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีความสามารถจะจ้างโจทก์ที่ 2 ไว้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไปได้กรณีถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานเกินเวลา: การได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน ทำให้ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือกว่ากฎหมายแรงงานทั่วไป
เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างของจำเลยทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง แล้ว จึงถือว่าการทำงานตามกำหนดเวลาเช่นว่านั้นเป็นเวลาปกติของวันทำงาน โจทก์จะได้รับค่าจ้างค่าครองชีพ และค่าจ้างคำนวณตามระยะทางเดินรถ อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง อีกไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้าง: การเลิกจ้างเนื่องจากทำร้ายร่างกายพนักงาน แม้นอกสถานที่ทำงาน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อพนักงานของบริษัท ฯ บริษัทจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้ระบุว่าต้องเป็นการกระทำเฉพาะภายในบริษัทฯดังนั้น แม้โจทก์จะตบหน้า ส. ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันภายนอกบริษัท ฯ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้าง: การทำร้ายร่างกายพนักงานนอกบริษัทถือเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงได้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อพนักงานของบริษัท ฯ บริษัทจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้ระบุว่าต้องเป็นการกระทำเฉพาะภายในบริษัท ฯ ดังนั้น แม้โจทก์จะตบหน้า ส. ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันภายนอกบริษัท ฯ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาระบุเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จขัดแย้งกับระเบียบของบริษัท ศาลฎีกาตัดสินตามสัญญา
คำสั่งของจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์กระทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงานของจำเลยและปฏิบัติผิดสัญญาจ้างตามหนังสือสัญญาจ้างโดยให้ออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม2527 เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นเรื่องลงโทษให้ออกเพราะโจทก์ทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงาน เมื่อจำเลยได้ดำเนินการและออกคำสั่งถูกต้องตามระเบียบก็เป็นการเลิกจ้างที่สมบูรณ์แล้ว หาต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์อีกไม่ สภาพของการเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่จำเลย และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างภายหลังจากวันนั้นอีก
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จขึ้นอยู่กับสัญญาจ้าง หากลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ
คำสั่งของจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์กระทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงานของจำเลยและปฏิบัติผิดสัญญาจ้างตามหนังสือสัญญาจ้างโดยให้ออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2527 เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นเรื่องลงโทษให้ออกเพราะโจทก์ทำผิดวินัยตามระเบียบการพนักงาน เมื่อจำเลยได้ดำเนินการและออกคำสั่งถูกต้องตามระเบียบก็เป็นการเลิกจ้างที่สมบูรณ์แล้ว หาต้องแสดงเจตนาแก่โจทก์อีกไม่ สภาพของการเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้แก่จำเลย และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างภายหลังจากวันนั้นอีก
มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้อง โดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และผลผูกพันนี้ หมายถึงผลผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาและผลผูกพันที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ฝ่ายใดจะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นมิได้ข้อตกลงนี้จึงมีผลผูกพันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับเท่านั้น ความในมาตรา 20 จึงเป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายคนโดยขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างที่ถูกผูกพันกันอยู่โดยผลของมาตรา 19 เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อระเบียบที่ 28/2522 ของจำเลยเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศขึ้นใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแม้จะถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แต่ก็มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 และมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะทำสัญญาจ้างแรงงานกันให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบที่ 28/2522 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ การบอกเลิกสัญญา การชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนด และการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดเวลาให้ชำระค่าเช่าซื้อทุกวันที่ 13 ของเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดแม้เพียงงวดหนึ่งงวดใดถือเป็นการผิดสัญญาและยอมให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันทีแต่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาตลอดมาทุกงวดตั้งแต่งวดแรกเป็นต้นไปซึ่งฝ่ายโจทก์ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ได้ กรณีนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อน แต่ไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลา และจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้ยึดไปโดยไม่ได้โต้แย้ง ก็เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ รวมทั้งค่าติดตามรถยนต์ให้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่1 ในการปฏิบัติตามสัญญา ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ให้โจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายจากพฤติการณ์ และการชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดเวลาให้ชำระค่าเช่าซื้อทุกวันที่ 13 ของเดือน หากจำเลยที่ 1ผิดนัดแม้เพียงงวดหนึ่งงวดใดถือเป็นการผิดสัญญาและยอมให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันทีแต่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาตลอดมาทุกงวดตั้งแต่งวดแรกเป็นต้นไปซึ่งฝ่ายโจทก์ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ได้ กรณีนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อน แต่ไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลา และจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้ยึดไปโดยไม่ได้โต้แย้ง ก็เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ดังกล่าวให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ รวมทั้งค่าติดตามรถยนต์ให้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่1 ในการปฏิบัติตามสัญญา ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ให้โจทก์ด้วย.
of 51