คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนในที่ทำงาน: ระยะเวลาที่ใช้พิจารณาเลิกจ้าง - คำเตือนเก่าหมดอายุ
แม้ความในมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บัญญัติว่าคำเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะนานเกินสมควรที่จะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้ในระหว่างที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ก็ไม่อาจแปลได้ว่าเมื่อมีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานอยู่เพราะลูกจ้างย่อมขาดความคุ้มครอง ดังนั้น เมื่อลูกจ้างได้รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วรู้สำนึกแก้ไขการทำงานและประพฤติตนตามระเบียบข้อบังคับแล้ว คำเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไป
นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลาห่างกับการเลิกจ้าง 7 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว จะนำคำเตือนนั้นมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนเป็นหนังสือในทางแรงงาน: ระยะเวลาและผลกระทบต่อการเลิกจ้าง
แม้ความในมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มิได้บัญญัติว่าคำเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะนานเกินสมควรที่จะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้ใน ระหว่างที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ก็ไม่อาจแปลได้ว่าเมื่อมีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานอยู่เพราะลูกจ้างย่อมขาดความคุ้มครอง ดังนั้น เมื่อลูกจ้างได้รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วรู้สำนึกแก้ไขการทำงานและประพฤติตนตามระเบียบข้อบังคับแล้ว คำเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไป
นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลาห่างกับการเลิกจ้าง 7 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว จะนำคำเตือนนั้นมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่เจรจาตามกฎหมายแรงงาน การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือลดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่ในการเจรจาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือ ลด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ่ายค่าชดเชย
มีผู้โดยสารแอบขึ้นรถทางด้าน หลังคันที่โจทก์ขับรับส่งผู้โดยสารและมีเงินค่าโดยสารไม่พอ โจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคา โดยที่ผู้โดยสารเป็นหญิงอายุยังน้อยและมาเพียงคนเดียว ในฐานะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถและเป็นผู้ใหญ่ย่อมมีความเมตตาสงสาร จึงให้ความช่วยเหลือด้วยมนุษยธรรม โจทก์ไม่เจตนาทุจริตหรือกระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรหรือไม่เพียงไรมิได้อยู่ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลเลิกจ้าง ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาสาเหตุ ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีมิจำกัดตามตำแหน่งหน้าที่ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯได้กำหนดไว้ตาม ข้อ 45 โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวด้วยข้อ 36 ถึงข้อ 42 ข้อ 43 และข้อ 44 ประการใด สิทธิของลูกจ้างตามข้อ 45 จะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งต่างกว่าค่าทำงานในวันหยุดประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจเรียกร้องได้ในระหว่างทำงาน ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีเกณฑ์จำกัดสิทธิตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ดังวันหยุดประเภทอื่น แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาก็มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างทุกตำแหน่งมีสิทธิ แม้เป็นผู้บริหาร การพิจารณาต้องแยกจากวันหยุดประเภทอื่น
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯได้กำหนดไว้ตาม ข้อ 45 โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวด้วยข้อ 36 ถึงข้อ 42ข้อ 43 และข้อ 44 ประการใด สิทธิของลูกจ้างตามข้อ 45จะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งต่างกว่าค่าทำงานในวันหยุดประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจเรียกร้องได้ในระหว่างทำงาน ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีเกณฑ์จำกัดสิทธิตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ดังวันหยุดประเภทอื่น แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาก็มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากยุบหน่วยงาน: เหตุผลทางธุรกิจมิใช่การกลั่นแกล้ง
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า นายจ้างมีกิจการขนาดใหญ่ หากจะต้องยุบหน่วยงานที่ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ ก็สามารถโอนผู้ร้องไปหน่วยงานอื่นได้จึงไม่มีเหตุเพียงพอจะเลิกจ้างผู้ร้องได้นั้น เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีหน่วยงานอื่นที่เหมาะสมแก่พนักงานหน่วยนี้รวมทั้งผู้ร้อง ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 54
การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์เป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันแม้ตามมาตรา 123ซึ่งมุ่งหมายมิให้นยจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ 5ประการด้วยกันแต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้
เมื่อการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยให้นายจ้างเลิกกิจการจำหน่ายและให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงในบริเวณท่าอากาศยาน โดยมอบหมายให้บริษัทอื่นดำเนินการแทน นายจ้างจึงจำเป็นต้องยุบหน่วยงานนั้นและนายจ้างไม่มีตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมแก่ลูกจ้างที่ประจำอยู่ในหน่วยงานดังกล่าว การที่นายจ้างขอเลิกจ้างลูกจ้างจึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123.
of 51