คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาและการระงับตามกฎหมาย กรณีเคยฟ้องคดีซ้ำ และความรับผิดของข้าราชการ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงตำแหน่งและหน้าที่ของจำเลยทั้งห้าตลอดจนการกระทำทั้งหลายว่าเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ไว้โดยละเอียดแสดงถึงการกระทำทั้งหลายซึ่งอ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ เพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความว่า การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันกับในคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ความเพียงว่า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทั้งโจทก์ไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5ได้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ แม้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจ นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยหากผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำพ.ศ. 2515 ก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 ก็ดี ต่างก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีห้ามรัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ แต่ก็ปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นข้อยกเว้นบทกฎหมายได้ และถือว่าจำเลยผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลของโจทก์ในวันสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ศาลแรงงานกลางสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบและสั่งงดสืบพยานจำเลย พิพากษายกฟ้อง เช่นนี้มิใช่การพิจารณาโดยขาดนัดอันจะเป็นเหตุให้คู่ความร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางฯพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิด
วันที่ 11 เมษายน 2531 อันเป็นวันนัดพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่งโจทก์จำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 22 เมษายน 2531 เวลา 9 นาฬิกา วันเวลาดังกล่าวจึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ไม่ใช่วันนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้มีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานนำเข้าสืบ และสั่งงดสืบพยานจำเลยพิพากษายกฟ้องโจทก์กระบวนพิจารณาที่ศาลแรงงานกลางดำเนินคดีมาไม่ใช่เป็นการ ิพิจารณาเลยขาดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิเช่นลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมต่อไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องร้องตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้ลูกจ้างต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และสิทธิลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานเกิน 120 วัน ได้รับค่าจ้างวันหยุดตามประเพณี
ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมต่อไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องร้องตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้ลูกจ้างต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่าง ใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในฟ้องอาญา และความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) บังคับให้ผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ถ้าผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องเป็นคนละคน ต้องแยกกันลงลายมือชื่อตามที่แบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาได้กำหนดไว้ แต่หากเป็นบุคคลเดียวกันก็ไม่จำต้องแยกลงลายมือชื่อให้ตรงแบบพิมพ์และย่อมลงลายมือชื่อไปในคราวเดียวกันโดยเติมคำว่า "และพิมพ์"ต่อท้ายคำว่าผู้เรียงได้ เมื่อเติมคำว่า "และพิมพ์" แล้ว แม้ผู้ตกเติมจะไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับข้อความที่เติมไว้ ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4569/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอาหารและค่ารถที่ไม่เป็นค่าจ้าง: ลักษณะความไม่แน่นอนและไม่ใช่การตอบแทนการทำงาน
ค่าอาหารและค่ารถที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างไม่มีความแน่นอนลูกจ้างคนใดมาทำงานก็ได้รับประทานอาหารและได้โดยสารรถวันใดไม่มาทำงานก็ไม่ได้รับประทานอาหารไม่ได้โดยสารรถ และนายจ้างก็มิได้ให้ค่าอาหารหรือค่าโดยสารรถเป็นตัวเงินแก่ลูกจ้างค่าอาหารและค่ารถจึงมิใช่เงินหรือสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานจึงมิใช่ค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4544/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันสิทธิและทรัพย์สิน: การยิงเพื่อป้องกันตัวจากการบุกรุกและประทุษร้าย
ผู้ตายกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนโดยเจตนาที่จะลักทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ยินเสียงสัญญาณป้องกันขโมยดังขึ้นจึงนำอาวุธปืนสั้นลงมาดู ก็ถูกฝ่ายผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงก่อนในระยะใกล้แม้กระสุนปืนไม่ถูกจำเลยก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าฝ่ายผู้ตายจะยิงซ้ำอีกหรือไม่ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปทางกลุ่มคนร้ายซึ่งมีผู้ตายอยู่ด้วยเพียงนัดเดียวในระยะกระชั้นชิดเช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิในชีวิตและทรัพย์สินของตนให้พ้นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายของผู้ตายกับพวกพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4544/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายจากการบุกรุกและประทุษร้าย ผู้ถูกบุกรุกมีสิทธิป้องกันสิทธิและทรัพย์สินของตนได้
ผู้ตายกับพวกบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนโดยเจตนาที่จะลักทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ยินเสียงสัญญาณป้องกันขโมยดังขึ้นจึงนำอาวุธปืนสั้นลงมาดู ก็ถูกฝ่ายผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงก่อนในระยะใกล้แม้กระสุนปืนไม่ถูกจำเลยก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าฝ่ายผู้ตายจะซ้ำอีกหรือไม่ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปทางกลุ่มคนร้ายซึ่งมีผู้ตายอยู่ด้วยเพียงนัดเดียวในระยะกระชั้นชิดเช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิในชีวิตและทรัพย์สินของตนให้พ้นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายของผู้ตายกับพวกพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด
of 51