คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประวิทย์ ขัมภรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำต่อเนื่องแสดงเจตนาชิงทรัพย์
จำเลยทำร้ายและค้นเอาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยได้กระทำต่อเนื่องกันทั้งหลังจากได้ทรัพย์แล้วยังมีการข่มขู่ผู้เสียหายอีกย่อมเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำการทั้งหมดเป็นอันเดียวกันมาแต่ต้นหาใช่เจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแต่แรกแล้วเกิดเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำร้ายผู้เสียหายไปแล้วไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ มีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ฎีกาของจำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีปรากฏในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพื่อจะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องว่า ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไร้สาระเพราะเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างย่อมไม่เกิดข้อกฎหมายอันจะเป็นสาระแก่คดีขึ้นได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดีอาญาเมื่อจำเลยไม่มีทนาย และการใช้ดุลพินิจของศาล
ศาลได้อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเหตุทนายจำเลยป่วยและติดธุระมา 2 ครั้งแล้ว โดยได้กำชับให้จำเลยมีทนายความมาว่าความให้ได้ใน 2 นัด ที่เลื่อน และในนัดที่สามด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีในนัดที่สามโดยจำเลยได้ถามค้านพยานโจทก์ที่สืบในนัดนั้น และศาลชั้นต้นได้ซักถามพยานดังกล่าวไว้ด้วย ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การแจ้งขายก่อนครบกำหนดสัญญา และอำนาจฟ้องของผู้ให้เช่า
สัญญาเช่าที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควรฯลฯ" ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายถึงกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าจะขายที่ดินพิพาทก่อนครบกำหนดการเช่าเท่านั้น จึงจะต้องแจ้งให้จำเลยผู้เช่าทราบ หากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทก่อนครบกำหนดการเช่าก็ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าประเด็นข้อนี้ที่ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 6 ข้อเท็จจริงจากคำคู่ความเพียงพอยุติแล้ว คู่ความไม่จำต้องนำสืบก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จำเลยก็สามารถนำสืบตามประเด็นข้อต่อไปที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง แต่ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใดโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กลับปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่าโจทก์ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การแจ้งขายก่อนครบกำหนด & อำนาจฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์
สัญญาเช่าที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ฯลฯ" ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายถึงกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าจะขายที่ดินพิพาทก่อนครบกำหนดการเช่าเท่านั้น จึงจะต้องแจ้งให้จำเลยผู้เช่าทราบ หากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทก่อนครบกำหนดการเช่าก็ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าประเด็นข้อนี้ที่ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 6 ข้อเท็จจริงจากคำคู่ความเพียงพอยุติแล้ว คู่ความไม่จำต้องนำสืบก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จำเลยก็สามารถนำสืบตามประเด็นข้อต่อไปที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง แต่ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใดโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กลับปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่าโจทก์ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากกระบวนการชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งเป็นฟ้องซ้ำกับคดีอื่นเป็นฎีกาข้อที่โจทก์มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246, และ 247 ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะมิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อดังกล่าวไว้ แต่ข้อฎีกานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์ไปร้องคัดค้านการขอออกประทานบัตรของจำเลย ฟ้องคดีนี้และนำสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านต่อกรมทรัพยากรธรณีจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้งฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงาน และทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิมและให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าว แต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ15,000 บาท นั้น ปรากฏว่า มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้ง, สิทธิครอบครอง, ประทานบัตรทำเหมืองแร่, ความเสียหายจากการกระบวนการชั่วคราว, การแก้ไขฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองที่พิพาทของโจทก์และขอให้เพิกถอนประทานบัตรการทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยที่ 2 จำเลยฟ้องแย้งโดย ฟ้องแย้งเดิมก่อนที่จำเลยจะขอแก้ไขจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาทวันละ 15,000 บาท โดยอ้างว่าโจทก์แกล้งร้องคัดค้านการออกประทานบัตรของจำเลยที่ 2แกล้งฟ้องคดีนี้ และแกล้งนำเอาสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านการออกประทานบัตรดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณีอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์ที่ 1 หรือจำเลยที่ 2มีสิทธิครอบครองโจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะฟ้องแย้งทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยที่ 2 ก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดย สมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์กระทำการดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงานและทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิม และให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2521จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่ 13ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้ง การที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท ห้ามโจทก์และบริวารเกี่ยวข้องและให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงานนั้น ถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าวแต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000บาทนั้น จำเลยอ้างในฟ้องแย้งที่แก้ไขว่า จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2521 จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิและอำนาจที่จะทำเหมืองแร่ในที่พิพาทได้แต่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำการใด ๆ ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2521 จำเลยที่ 2 จึงไม่สามารถทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรได้ ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งและออกหมายห้ามตามคำขอในเหตุฉุกเฉินในวันเดียวกันนั้น แต่มูลหนี้ตามฟ้องแย้งเกี่ยวกับค่าเสียหายของจำเลยนี้เกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามมาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าสัญญาสาบานไม่ปฏิบัติตาม ศาลล้มละลายคำสั่งเดิมไม่ถูกต้องต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
โจทก์กับจำเลยที่ 3 และทนายของจำเลยทั้งสี่ได้ตกลงกันสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมดและท้ากันไปดื่มน้ำสาบานกัน ต่อมาในวันนัดสาบาน จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 แถลงว่า ตนมิได้ยินยอมด้วยขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปทนายโจทก์ไม่ค้าน ดังนี้ มิใช่ว่าจำเลยขอยกเลิกคำท้า และการที่โจทก์ไม่คัดค้านคำแถลงของจำเลย ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมเลิกคำท้ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ด้วยในวันนัดสาบานตัวคู่ความมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำท้า เพราะศาลมีคำสั่งว่าคำท้าไม่มีผลบังคับตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ทักท้วงกับสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาเรื่องคำท้านั่นเอง หาใช่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำท้าแล้วแต่จำเลยผิดเงื่อนไขตามคำท้าไม่ กรณีเป็นเรื่องศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาย่อมยกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้เป็นไปตามคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิพากษา: ศาลต้องบังคับตามคำท้า หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม และการที่ศาลไม่บังคับตามคำท้าถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
คู่ความทั้งสองฝ่ายท้ากันให้ไปดื่มน้ำสาบาน โดยโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จะต้องสาบานตัวทุกคนตามที่กำหนด หากเป็นไปดังคำท้าทั้งสองฝ่ายจะแบ่งที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทกันฝ่ายละกึ่งหนึ่งไม่ติดใจเรียกร้องอะไรกันอีก แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่กล้าสาบานหรือสาบานตัวไม่ครบทุกคน ถือว่าฝ่ายนั้นแพ้คดี ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องอะไรในที่พิพาทอีก ในวันนัดพร้อมเพื่อไปสาบานตัว โจทก์ทั้งสองและทนายกับจำเลยทั้งสี่และทนายมาศาล จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4แถลงว่าที่ตกลงท้ากันตนไม่ได้มา ศาลมิได้ยินยอมด้วย ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กระทำต่อศาล มิใช่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ตกลงขอเลิกคำท้าต่อโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนเป็นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างธรรมดาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำท้าไม่มีผลบังคับจึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณานัดสืบพยานโจทก์ต่อไป ไม่ได้ให้คู่ความปฏิบัติตามคำท้า จึงไม่ถูกต้อง การที่ฝ่ายโจทก์ไม่คัดค้านจะถือว่ายินยอมยกเลิกคำท้ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 หาได้ไม่ คำท้ายังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่ความยังมิได้ปฏิบัติตามคำท้า ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษา ศาลล่างทั้งสองและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้เป็นไปตามคำท้า และพิพากษาคดีไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าต่อการดำเนินคดี: ศาลต้องให้ปฏิบัติตามคำท้าก่อนพิจารณาประเด็นอื่น หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นเหตุแพ้คดี
คู่ความทั้งสองฝ่ายท้ากันให้ไปดื่มน้ำสาบาน โดยโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จะต้องสาบานตัวทุกคนตามที่กำหนด หากเป็นไปดังคำท้าทั้งสองฝ่ายจะแบ่งที่ดิน น.ส. 3 ที่พิพาทกันฝ่ายละกึ่งหนึ่งไม่ติดใจเรียกร้องอะไรกันอีก แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่กล้าสาบานหรือสาบานตัวไม่ครบทุกคน ถือว่า ฝ่ายนั้นแพ้คดี ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องอะไรในที่พิพาทอีก ในวันนัดพร้อมเพื่อไปสาบานตัว โจทก์ทั้งสองและทนายกับจำเลยทั้งสี่และทนายมาศาล จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4แถลงว่าวันที่ตกลงท้ากันตนไม่ได้มาศาลมิได้ยินยอมด้วย ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กระทำต่อศาล หาใช่กรณีจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ตกลงขอยกเลิกคำท้าต่อโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนเป็นให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างธรรมดาไม่ การที่ทนายโจทก์แถลงไม่คัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ก็เนื่องจากข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 4 แถลงเป็นความจริง ไม่มีอะไรจะต้องคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำท้าไม่มีผลบังคับจึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณานัดสืบพยานโจทก์ต่อไป ไม่ได้ให้คู่ความปฏิบัติตามคำท้า เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง การที่ฝ่ายโจทก์ไม่คัดค้านจะถือว่าตกลงยินยอมยกเลิกคำท้ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 หาได้ไม่คำท้ายังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่ความยังมิได้ปฏิบัติตามคำท้า สมควรที่จะต้องยกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้เป็นไปตามคำท้า และพิพากษาคดีไปตามนั้น ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยทั้งสี่มิได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ในระยะเวลาอันสมควรจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกานั้นเมื่อจำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่จากสัญญาเช่าบนที่ดินที่สุขาภิบาลจัดให้เช่า แม้เดิมเป็นคลองสาธารณะ
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นคลองซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาสุขาภิบาลได้ถมคลองแล้วจัดให้ประชาชนวางแผงลอย โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาวางแผนลอยบนที่ดินพิพาทกับสุขาภิบาล แล้วจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
of 102