พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาดจริง โดยพิจารณาจากราคา CIF และความผันผวนของราคาน้ำมัน
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่อง การตรวจสอบและ ประเมินราคาสินค้าและคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า เป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดย การเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น คำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ ดุลพินิจพิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควร แก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงต้อง ให้ผู้อำนายการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือเอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้า เป็นราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้ สินค้าเคมีภัณฑ์ ที่โจทก์นำเข้าคือ เมทิ่วเอททิ่วคีโตน(methylethylketone) และ บิวทิ่วอะครีเลทโมโนเมอร์ (butylacrylatemonomer) อันเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ในการผลิตน้ำมันราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้น ราคาสูงและต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากันเป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้า: ราคา CIF เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ แม้ราคาจะต่ำกว่าผู้นำเข้ารายอื่น
หลักเกณฑ์การประเมินอากรตามคำสั่งเฉพาะกรมศุลกากร ที่14/2524 กับคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 สำหรับประเมินอากรที่โจทก์จะต้องชำระในกรณีที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดที่มีผู้นำเข้าภายในระยะ3 เดือน ก่อนที่โจทก์นำเข้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ในการผลิตน้ำมัน และราคาน้ำมันในท้องตลาดมีขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ราคาสูงและต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งจึงเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและสถานที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา ถือได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าตามราคา ซี.ไอ.เอฟ.เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่ยึดเพียงราคาสูงสุดที่ผู้อื่นนำเข้า
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่องการตรวจสอบและประเมินราคาสินค้า และคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่องระเบียบ ปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการ ตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โดยการเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นคำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ดุลพินิจ พิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควรแก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อน โจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด จึงต้องให้ ผู้อำนวยการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่งฉะนั้น การ ที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือ เอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าเป็น ราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ได้ ปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ ในการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้นราคาสูงและ ต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากัน เป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการป้องกันตัว: ศาลไม่รับฟังคำเบิกความขัดแย้งเรื่องการถูกทำร้ายก่อน
จำเลยและพยานจำเลยคือ ว.ภรรยาจำเลยร. น้องภรรยาจำเลยและ ด. ต่างเบิกความขัดแย้งกันในเรื่องของคำด่า และพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายใช้ขวดตีจำเลยอันเป็นสาระสำคัญตามข้ออ้างของจำเลยโดยจำเลยเบิกความว่าผู้เสียหายด่า ว่า "เย็ดแม่หมาเย็ดแม่"แล้วเดิน เข้ามาคว้าขวดสุราบนโต๊ะ ตีจำเลย ว.และด. เบิกความทำนองเดียวกันว่า ผู้เสียหายด่า "เย็ดแม่มึงหมาไม่มีเขี้ยว"พร้อมกับคว้าขวดโซดาซึ่งวางอยู่บนโต๊ะตีจำเลยร. เบิกความว่าผู้เสียหายด่า "เย็ดแม่หมาเย็ดแม่หมาคาบลูกไปแดก" จำเลยเดิน เข้าไปหาผู้เสียหาย ผู้เสียหายหลบเข้าไปหยิบขวดโซดา ข้างโต๊ะ ตีจำเลยกรณีจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายด่า จำเลย และใช้ขวดจะตีทำร้ายจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ตึกแถวเป็นสำนักงานทนายความ ไม่ถือเป็นการอยู่อาศัยเองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษา จึงไม่ได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน
นอกจากโจทก์จะใช้ตึกแถวของโจทก์เป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบุตรแล้ว โจทก์ยังให้บุตรเขยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานทนายความด้วยย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาอันจะได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 10 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 มาตรา 3. การใช้ตึกแถวตั้งสำนักงานทนายความ มีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและการตั้งสำนักงานทนายความ แม้ว่าจะไม่ต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีผลทำให้หน้าที่การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับตึกแถวของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรณีให้เช่าพื้นที่หรือใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ
โรงเรือนของโจทก์ โจทก์มิได้อยู่เองแต่ให้ภรรยาและบุตรอยู่อาศัย ทั้งยังให้บุตรเขยตั้งเป็นสำนักงานทนายความ กรณีไม่ใช่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา อันจะได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 10.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ส่วนลดประกันภัยต่อเป็นรายได้, เงินสำรองเบี้ยประกันภัยเป็นรายได้ในปีถัดไป, รายได้จากการค้าเป็นรายรับ
เมื่อได้รับเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์นำเบี้ยประกันภัยไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบรรเทาความเสียหายในกรณีที่ต้องชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้รับส่วนลดหรือค่านายหน้าจากบริษัทที่รับประกันภัยต่อ และได้นำส่วนลดดังกล่าวมาบันทึกเป็นรายได้ในกิจการของโจทก์เงินส่วนลดในการประกันภัยต่อที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้หรือรายรับที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยแม้เงินจำนวนดังกล่าวผู้รับประกันภัยต่อจะนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเป็นคนละนิติบุคคล
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
ความหมายของคำว่า "รายรับ" ตามมาตรา 79 เป็นเรื่องของภาษีการค้าไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้เบ็ดเตล็ดมารวมเป็นรายรับเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ไม่ได้กล่าวถึงค่าสินไหมรับคืนอัคคีภัย ค่าสินไหมรับคืนรถยนต์กับค่าสำรวจรายงานอัคคีภัยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินนำรายรับทั้งสามรายการดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการไม่ชอบนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง
เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่โจทก์กันไว้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ข) นั้นจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีสินค้าอาหารแปรรูปต้องไม่ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา แม้ผลิตจากแป้งหรือถั่ว
มาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ.(ฉบับที่ 179) พ.ศ.2529 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราช-กฤษฎีกา ดังนั้น การขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ด้วย
สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5 (8) (จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุห่อผนึก ต้องไม่ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 5(8)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 179) พ.ศ. 2529บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีที่ 1บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่วจะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวมิได้ระบุในบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ด้วย สินค้าของโจทก์เป็นวุ้นเส้นและเส้นหมี่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุอยู่ในห่อกระดาษแก้ว ระบุชื่อสินค้า ตราของสินค้า กับมีภาพประกอบและระบุว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก หรือที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อที่มีชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่บนหรือในภาชนะหรือหีบห่อซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก จึงเป็นสินค้าที่ระบุในบัญชีที่ 1หมวด 1(4)(ข) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8)(จ) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอดถอนเจ้าอาวาสและการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการร้องทุกข์ ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
จำเลยสั่งลงโทษถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสฐานลงชื่อเป็นนายแสดงภาวะไม่แน่นอนว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์ยื่นคำร้องทุกข์ต่อเจ้าคณะภาค 3 โดยมิได้ผ่านจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งลงโทษโจทก์ ทั้งยื่นคำร้องทุกข์เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งลงโทษดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ. 2506 ข้อ 4 และข้อ 5 ที่กำหนดว่าพระสังฆาธิการที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษฐานละเมิดจริยา ถ้าเห็นว่าคำสั่งลงโทษนั้นไม่เป็นธรรมก็ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยให้ส่งคำร้องทุกข์นั้นผ่านผู้สั่งลงโทษภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ คำสั่งลงโทษโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้อีก