คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประวิทย์ ขัมภรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ต่อเติมดัดแปลงตึกแถวด้านหลังออกไปกว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร อันเป็นการสร้างเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารต่อจากอาคารด้านหลังไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้อง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 22 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารข้อ 76 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้อง คำให้การของจำเลยเท่ากับยอมรับว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมฯ มาตรา 22 แต่จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้านและมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้องเท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวตามฟ้อง มีผลเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) ซึ่งบัญญัติให้อาคารตึกแถวดังกล่าวต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติมอาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้มีการต่อเติมไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติมอาคารของตนเองด้วยเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76 (4) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ ทำการต่อเติมดัด แปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่ มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตาม ฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดย สุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติม อาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้ มีการต่อเติม ไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติม อาคารของตนเองด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายโดย จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติม อาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึง รั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตาม ฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้ กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีทายาท: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีจากผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ยื่นรายการเดิมถึงแก่ความตาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่ง เป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึง แก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่ง เป็นภรรยาของ อ. ในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ.แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้อง เสียภาษีเงินได้ของ อ.แต่ เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดย ไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้ วิธีคำนวณตาม ที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตาม นั้น ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อ ศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลังผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบไต่สวนทายาท/ผู้จัดการมรดกได้
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้มีหมายเรียก เพื่อทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. สามีโจทก์ประจำปี พ.ศ. 2519 ถึง 2523 ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2524สามีโจทก์ถึงแก่กรรมเสียก่อนทำการไต่สวนเสร็จ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ.ไปพบและทำการไต่สวน เมื่อผู้ถึงแก่ความตายต้องเสียภาษีผู้จัดการมรดกหรือทายาทเป็นผู้มีหน้าที่จัดการแทนผู้ตายตามป.รัษฎากร มาตรา 62 การที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์แทน อ. ผู้ตาย ดังนี้ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ลงชื่อในเอกสารโดยยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ยกขึ้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพราะโจทก์เห็นว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ลดภาษีให้โจทก์ถึง 400,000บาทเศษ หาใช่โจทก์ลงชื่อเพราะถูกหลอกลวง อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการประเมินได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีทายาท/ผู้จัดการมรดกได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ อ. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ
ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของ อ. แต่เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดยไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้วิธีคำนวณตามที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ฝ่ายผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฉ. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ คงมีจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธไว้เพียงว่า ฉ. จะมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์หรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 2ไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การดังกล่าวมิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ข้อใดและมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธดังนี้ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง สัญญาก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 360 วัน โจทก์ได้ต่ออายุสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีก 120 วัน ครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่เสร็จ จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ต่อมาโจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำการก่อสร้างให้เสร็จได้ภายในกำหนดสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ก็ได้ต่ออายุสัญญาให้ครั้งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จ้าง จ. ก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านเตาไท และโรงเรียนบ้านนารายณ์ เพิ่มเติมต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างค้างไว้ กับก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านดอนจันทร์ รวมเป็นเงิน1,350,000 บาท เท่ากับจำนวนเงินที่เหลือตามสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 พอดี โจทก์ดำเนินการก่อสร้างโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1ผิดสัญญาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าก่อสร้างส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทาวน์เฮาส์เพื่อหากำไรและการเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน ดังนั้นการที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ให้แก่บริษัท ย.โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากอ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้นศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทาวน์เฮาส์เพื่อหากำไร ถือเป็นการค้าต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จองซื้อทาวน์เฮาส์2หลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ราคาหลังละ 3,000,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2522 อ้างว่าจองเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง และสำหรับ ท.1 หลัง ต่อมาในเดือนกันยายน 2522โจทก์ชำระเงิน 3,000,000 บาท และขอยกเลิกการจองให้ ท. และได้ตบแต่งภายในทาวน์เฮาส์ หลังที่โจทก์จะอยู่เองสิ้นเงินไป 900,000บาท ต่อมาเดือนมีนาคม 2523 โจทก์ขายให้ อ. ในราคา 4,000,000 บาทโดยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.โอนกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์ และที่ดินให้ อ.โดยตรงแต่อ. เป็นคนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ จึงให้บริษัท ย.จำกัดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนค.ผู้จัดการบริษัท ย. จำกัด เป็นผู้แจ้งให้โจทก์ตบแต่งภายในทาวน์เฮาส์แสดงว่าโจทก์มิได้ตบแต่งภายในทาวน์เฮาส์ โดยมีเจตนาจะอยู่อาศัยเอง แต่ตบแต่งหลังจากที่โจทก์ตกลงขายให้ อ. แล้วเหตุที่ขายโจทก์อ้างว่าสภาพแวดล้อมของทาวน์เฮาส์ เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใช้เป็นที่ประกอบการค้าและธุรกิจไม่เหมาะใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งความจริงโจทก์ซื้อมาในเดือนกันยายน 2522 อ้างว่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่ในเดือนมีนาคม 2523 กลับอ้างว่าไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งช่วงเวลาผ่านไปเพียง3-4 เดือน ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วถึงเพียงนั้น ข้อที่โจทก์อ้างว่าจองให้ ท.1หลังไม่ปรากฏว่าท. ได้ติดต่อกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ทั้งเมื่อโจทก์บอกเลิกการจองให้ท.ก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ปรึกษาหารือกับ ท. จึงเป็นการจองเพื่อโจทก์เอง พฤติการณ์ดังกล่าวโจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร หาใช่ซื้อไว้อยู่อาศัยเองไม่ การที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์และที่ดินให้แก่บริษัทย.จำกัด โดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจาก อ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีผลอย่างเดียวกับโจทก์ขายทาวน์เฮาส์นั่นเองมิใช่เป็นการขายสิทธ์ในการซื้อทาวน์เฮาส์ ถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราการค้าประเภทการค้า 11 ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ศาลมีอำนาจสั่งได้แม้คู่ความไม่ได้ขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทาวน์เฮาส์เพื่อเก็งกำไร ถือเป็นการประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้า แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอน
โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน ดังนั้นการที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ให้แก่บริษัท ย. โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจาก อ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77, 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้น ศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
of 102