คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประวิทย์ ขัมภรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทาวน์เฮาส์เพื่อขายเก็งกำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน การที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ ให้แก่บริษัท ย.โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากอ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้น ศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้วแม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลและไม่มอบฉันทะทำให้ถูกอ่านคำพิพากษาโดยชอบ ศาลไม่รับอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 เวลา10 นาฬิกา จำเลยที่ 4 ทราบนัดโดยชอบแล้ว ไม่มาศาลและไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาฟังคำพิพากษาแทน ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาให้คู่ความที่มาศาลฟัง จึงถือว่าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 เป็นวันที่พิพากษา จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์วันที่ 15 เมษายน 2531 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน โดยอ้างว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำคำแถลงมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาขอคัดหรือถ่ายคำพิพากษา เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าศาลได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป จะเลื่อนไปอ่านวันใดศาลจะออกหมายนัดส่งไปให้จำเลยที่ 4 ทราบเอง แม้จะฟังได้ว่าเป็นความจริง เสมียนทนายก็ควรที่จะได้ยื่นคำแถลงต่อศาลตามหน้าที่ที่ตนได้รับมอบฉันทะมา เพื่อที่ศาลจะได้มีคำสั่งให้ปรากฏชัดแจ้งว่าศาลมิได้อ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 จริง หาใช่เพียงแต่เชื่อตามคำบอกเล่าลอย ๆ ของเจ้าหน้าที่ศาล คดีจึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มเมื่อมีกรรมสิทธิ์ การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเช่าซื้อไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมีโฉนดแปลงพิพาทและแปลงที่จำเลยเช่าซื้อจาก ค. ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันในระหว่างที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วนตามสัญญาและ ค. ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของของจำเลยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ค. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยเมื่อยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เริ่มต้นเมื่อใด? กรณีผู้เช่าซื้อยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมีโฉนดแปลงพิพาทและแปลงที่จำเลยเช่าซื้อจาก ค. ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันในระหว่างที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วนตามสัญญา และ ค. ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของของจำเลยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ค. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลย เมื่อยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เริ่มต้นเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองระหว่างผ่อนชำระถือเป็นการครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมีโฉนดแปลงพิพาทและแปลงที่จำเลยเช่าซื้อจาก ค. ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันในระหว่างที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วนตามสัญญาและ ค. ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของของจำเลยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ค. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยเมื่อยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงรถใกล้ทางแยก: ห้ามทั้งเริ่มและไม่สำเร็จการแซงภายใน 30 เมตร
พระราชบัญญัติ ญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 46(2) ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ30 เมตร ก่อนถึงทางแยกนั้น หมายความรวมถึงการเริ่มขับรถแซงก่อนระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยก แต่เมื่อมาถึงระยะ 30 เมตรก่อนจะถึงทางแยกแล้วยังแซงไม่ได้ ผู้ขับขี่ก็ต้องห้ามมิให้แซงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงก่อนถึงทางแยก: การตีความมาตรา 46(2) พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และหน้าที่ของผู้ขับขี่
ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 46(2) นั้น มิได้หมายความแต่เพียงว่าห้ามมิให้ขับรถแซงหรือเริ่มขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยกเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงว่า แม้จะเริ่มขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นก่อนระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยก แต่เมื่อมาถึงระยะ 30 เมตรก่อนจะถึงทางแยกก็ยังไม่สามารถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นได้ ผู้ขับขี่ก็ต้องหยุดแซงและนำรถเข้าเส้นทางของตนทันที.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงรถใกล้ทางแยก: ผู้ขับขี่ต้องหยุดแซงหากไม่สามารถแซงได้ทันก่อนถึงทางแยก
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 46(2)ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซง เพื่อขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยกนั้นหมายความรวมถึงว่า แม้เริ่มขับรถแซงก่อนระยะ 30 เมตร แต่เมื่อมาถึงในระยะดังกล่าวยังแซง ไม่ได้ผู้ขับขี่ก็ต้องหยุดแซง ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงที่ผิดกฎหมาย: ผู้ขับขี่ต้องหยุดแซงเมื่อไม่สามารถแซงได้ก่อนถึงทางแยก
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 46 (2) ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยกนั้นหมายความรวมถึงว่า แม้เริ่มขับรถแซงก่อนระยะ 30 เมตร แต่เมื่อมาถึงในระยะดังกล่าวยังแซง ไม่ได้ผู้ขับขี่ก็ต้องหยุดแซงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีเจตนาใช้กำลังทำร้ายร่างกายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คนเข้าไปในบ้านและพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหาย แล้วพวกของจำเลยดังกล่าวได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์ หรือพาทรัพย์ไปแต่ไม่สามารถพาทรัพย์นั้นไปได้ เพราะมีผู้มาพบเห็นเสียก่อน ดังนี้การที่พวกของจำเลยที่ 1 ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายดังกล่าว จึงมิได้นอกเหนือความมุ่งหมายหรือเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก 80.
of 102