คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จูสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การปฏิเสธคำอุทธรณ์เนื่องจากกรรมการลงชื่อไม่ครบ และการตรวจสอบบัญชีจากผู้ขายปลีก
โจทก์ให้การในชั้นตรวจสอบไต่สวนต่อเจ้าพนักงานประเมินรับรองว่าจะนำหลักฐานการขายรถยนต์ของตัวแทนโจทก์มามอบให้เจ้าพนักงานประเมินจนครบถ้วนแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำรับรองดังนี้ คำรับรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และจะนำประมวลรัษฎากร มาตรา 21 มาใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินได้ บัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการจากโจทก์นั้น ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเป็นบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้จัดทำและเก็บรักษาและเอกสารดังกล่าวไม่มีที่โจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารดังกล่าวตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์การประเมิน คำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ลงชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทโจทก์ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนไว้ แต่เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมรับโดยมิได้ท้วงติงและรับวินิจฉัยให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นโดยมิได้โต้แย้งจึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันคำอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เสียไป จำเลยจะอ้างว่าคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไม่ชอบและถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1111 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดว่า ในการจดทะเบียนบริษัทนั้น ใบทะเบียนจะต้องมีข้อความตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มิใช่เป็นแบบที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับผู้มีอำนาจกระทำในนามนิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำในนามบริษัทโจทก์ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินไม่ครบถ้วนก็หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 ไม่ เมื่อบริษัทโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว คำอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัย กรณีเอกสารหลักฐานอยู่ที่บุคคลอื่น
โจทก์ให้การในชั้นตรวจสอบไต่สวนต่อเจ้าพนักงานประเมินรับรองว่าจะนำหลักฐานการขายรถยนต์ของตัวแทนโจทก์มามอบให้เจ้าพนักงานประเมินจนครบถ้วนแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำรับรองดังนี้ คำรับรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และจะนำประมวลรัษฎากรมาตรา 21 มาใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินได้
บัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการจากโจทก์นั้น ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเป็นบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้จัดทำและเก็บรักษา และเอกสารดังกล่าวไม่มีที่โจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารดังกล่าวตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์การประเมิน
คำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ลงชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทโจทก์ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนไว้ แต่เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมรับโดยมิได้ท้วงติงและรับวินิจฉัยให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นโดยมิได้โต้แย้งจึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน คำอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เสียไป จำเลยจะอ้างว่าคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไม่ชอบและถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1111 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดว่าในการจดทะเบียนบริษัทนั้น ใบทะเบียนจะต้องมีข้อความตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มิใช่เป็นแบบที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับผู้มีอำนาจกระทำในนามนิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำในนามบริษัทโจทก์ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินไม่ครบถ้วนก็หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115ไม่ เมื่อบริษัทโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว คำอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935-936/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การพิจารณาค่าเช่าและเงินช่วยค่าก่อสร้างเป็นรายได้ในการคำนวณภาษี
จำเลยประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับตึกแถวของโจทก์โดยเทียบเคียงกับตึกแถวที่อยู่บนถนนเดียวกัน มีสภาพเช่นเดียวกันได้
แม้โจทก์จะได้รับค่าเช่าเดือนละ 100-300 บาทต่อห้อง แต่ผู้เช่าต้องชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างถึงรายละ 420,000 บาทต่อห้อง ย่อมถือว่าเป็นค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าเพื่อคำนวณเป็นค่าเช่ารายปีในการประเมินค่าภาษีได้ แม้ความจริงโจทก์จะไม่ได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ เพราะโจทก์จะลงทุนก่อสร้างเองหรือจะให้ผู้อื่นลงทุน โจทก์ย่อมคาดคะเนแล้วว่าโจทก์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนใกล้เคียงกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และการฟ้องคดีเกินกำหนดในคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การฟ้องเกินกำหนด 30 วัน และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม มาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับและข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาวส.อายุ 18 ปีคนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากร เกินกำหนดฟ้อง และการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรศุลกากร จำเลยมีอำนาจสืบราคาตลาดเพื่อประเมินราคาอันแท้จริงได้
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า 'ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด' หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เอง ซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้า ซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้
จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี.กิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกัน คำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอนมีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200 เหรียญฮ่องกงมิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาสินค้านำเข้า: ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า 'ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด' หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เอง ซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้า ซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้
จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี.กิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกัน คำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอนมีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200 เหรียญฮ่องกงมิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด: การประเมินราคาภาษีศุลกากรโดยสืบราคาจากตลาดจริงเพื่อใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เองซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้าซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้ จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี. กิโลกรัมละ3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกันคำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคาซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200 เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอน มีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือเป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200เหรียญฮ่องกง มิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา แม้ไม่ใช่หมั้น
โจทก์ผู้เยาว์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราโดยความสมัครใจซึ่งแม้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อบิดาโจทก์ทราบเรื่องได้ไปร้องเรียนต่อกำนันท้องที่ จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากผิดสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาทและจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แม้มิใช่เป็นกรณีผิดสัญญาหมั้น โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้.
of 37