พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892-5894/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมพิจารณาคดีอาญาหลายสำนวน: ความชอบด้วยกฎหมายและการไม่เสียเปรียบ
คดีสามสำนวนค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นเดียวกัน โจทก์และจำเลยทั้งสามสำนวนเป็นคู่ความรายเดียวกัน พยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสามสำนวนส่วนใหญ่เป็นพยานชุดเดียวกัน จะเป็นการสะดวกหากพิจารณารวมกันจำเลยยื่นคำร้องขอให้ร่วมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวนเข้าด้วยกันหลังจากคดีสำนวนแรกสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วและสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้ว ส่วนคดีอีกสองสำนวนเพียงแต่สืบพยานโจทก์เสร็จซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาทั้งสามสำนวน โจทก์มีโอกาสสืบพยานโจทก์ทั้งสามสำนวนและซักค้านพยานจำเลยได้เต็มที่ในสำนวนแรก แม้จำเลยจะงดสืบพยานจำเลยอีกสองสำนวนก็มิได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดี การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวนเข้าด้วยกันจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช่าซื้อของรัฐวิสาหกิจ และอายุความฟ้องที่ไม่ใช่การเช่าทรัพย์สิน
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาซื้อขาย แม้จะไม่ได้ระบุโดยตรงว่าให้ฟ้องเรียก ค่าเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลา แต่ก็ได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำ สัญญาเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลากันโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกัน ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อ รายอื่นอีก สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประกอบคำมั่นว่าจะขายถือได้ว่าเป็นซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงฟังได้ว่าโจทก์ ได้มอบอำนาจ ให้ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวแก่การซื้อขายเครื่องตู้เย็นแช่ปลาแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นโจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์การของรัฐแม้โจทก์จะดำเนินการให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ แต่ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชน ในการอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นหลักสำคัญ ตามมาตรา 6 (1)แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จึงมิใช่บุคคลที่ดำเนินการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6)อายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงมิใช่มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นโจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์การของรัฐแม้โจทก์จะดำเนินการให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ แต่ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชน ในการอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นหลักสำคัญ ตามมาตรา 6 (1)แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จึงมิใช่บุคคลที่ดำเนินการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6)อายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงมิใช่มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขาย/เช่าซื้อ และอายุความฟ้องของรัฐวิสาหกิจ
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาซื้อขาย แม้จะไม่ได้ระบุโดยตรงว่าให้ฟ้องเรียก ค่าเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลา แต่ก็ได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำ สัญญาเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลากันโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกัน ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อ รายอื่นอีก สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประกอบคำมั่นว่าจะขายถือได้ว่าเป็นซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงฟังได้ว่าโจทก์ ได้มอบอำนาจ ให้ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวแก่การซื้อขายเครื่องตู้เย็นแช่ปลาแล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นโจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์การของรัฐแม้โจทก์จะดำเนินการให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ แต่ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชน ในการอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นหลักสำคัญ ตามมาตรา 6(1)แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จึงมิใช่บุคคลที่ดำเนินการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) อายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงมิใช่มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นโจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์การของรัฐแม้โจทก์จะดำเนินการให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ แต่ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชน ในการอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นหลักสำคัญ ตามมาตรา 6(1)แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จึงมิใช่บุคคลที่ดำเนินการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) อายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงมิใช่มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าต้องเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ไม่ใช่ตามมติที่ประชุม
การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าจะต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่ง ป.รัษฎากร แม้ในการประชุมพิจารณาการบริหารงานของสรรพากรเขตพื้นที่ครั้งที่ 6 จะมีมติว่าสำหรับผู้ประกอบการค้าที่เคยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เดิม ไม่เกินวันละ 10,000 บาท ซึ่งไม่ส่งแบบ ภ.ค.45คืน ให้กำหนดรายรับขั้นต่ำโดยวิธีคำนวณเพิ่มยอด รายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 ก็ตาม แต่มติของที่ประชุมดังกล่าวเป็นระเบียบหรือข้อปฏิบัติภายในที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 38) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมติที่ประชุมได้แล้ว การที่พนักงานของจำเลยกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ โดยคำนวณเพิ่มจากรายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 นั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวและไม่ชอบด้วยมาตรา 86 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 23 และ มาตรา 25 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีเงินได้มาไต่สวนและสั่งให้ผู้นั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเฉพาะ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเท่านั้น หากผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ แต่เรื่องการกำหนดรายรับขั้นต่ำเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจ มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้โดยเฉพาะ แล้วจึงไม่อาจนำมาตรา 23 และ 25 มาใช้บังคับในกรณีนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้างเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร นายจ้างมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินค่าชดเชยเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่ง ป.รัษฎากร แม้จะจ่ายเมื่อเลิกจ้างแล้วก็ตาม และไม่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 นายจ้างจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วย มาตรา 3 จตุทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้างเป็นเงินได้พึงประเมิน นายจ้างต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ค่าชดเชยที่โจทก์ได้รับจากจำเลยนายจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(1)ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายค่าชดเชยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่สรรพากร โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่หักไว้ดังกล่าวคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการชำระเงินเพิ่ม: ใช้กฎหมายในขณะนำเข้าและชำระภาษี
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้นเช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการคำนวณเงินเพิ่ม: ใช้กฎหมาย ณ วันนำเข้าและจำกัดเงินเพิ่มไม่เกินภาษีค้างชำระ
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้น เช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้ สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะ แล้วเมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีก ดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีต้องที่ชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการบังคับใช้บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนำเข้า
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้นเช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626-4629/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ถูกต้องตามกฎหมายและการเลื่อนคดีเมื่อจำเลยขาดทนาย
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ที่บ้านจำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยทั้งสี่กำลังช่วยกันปลูกบ้านจำเลยที่ 3 อยู่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง เจ้าพนักงานศาลจึงได้ส่งโดยวิธีวางหมายต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ณ ที่นั้น โดยจำเลยทั้งสี่มีบ้านอยู่ติดกัน แม้เป็นคนละแห่งกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในคำฟ้อง ก็เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือได้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีการวางหมายถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่มิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง.
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง.