พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626-4629/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ถูกต้องตามกฎหมายและการเลื่อนคดีเมื่อจำเลยขาดทนาย
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ที่บ้านจำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยทั้งสี่กำลังช่วยกันปลูกบ้านจำเลยที่ 3 อยู่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง เจ้าพนักงานศาลจึงได้ส่งโดยวิธีวางหมายต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ณ ที่นั้น โดยจำเลยทั้งสี่มีบ้านอยู่ติดกัน แม้เป็นคนละแห่งกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในคำฟ้อง ก็เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือได้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีการวางหมายถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่มิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง.
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4240/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยาน การนำสืบ การรับรองเอกสาร และค่าฤชาธรรมเนียมในคดีมรดก
โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงยอมผูกมัดตนเองว่าหากนัดหน้าไม่ได้พยานมาก็จะไม่ติดใจสืบ ดังนี้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ยังไม่ได้ตัวพยานมาศาลอีกก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ตามที่เคยแถลงไว้ ไม่ว่าพยานจะได้รับหมายเรียกไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4240/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบ เอกสารมหาชน และค่าฤชาธรรมเนียมในคดีมรดก
โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงยอมผูกมัดตนเองว่าหากนัดหน้าไม่ได้พยานมาก็จะไม่ติดใจสืบ ดังนี้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ยังไม่ได้ตัวพยานมาศาลอีกก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ตามที่เคยแถลงไว้ ไม่ว่าพยานจะได้รับหมายเรียกไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้.
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในคดีศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความผิด การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าปรับคืนจึงไม่สำเร็จ
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระค่าปรับทางภาษีอากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จในการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร ฟ้องร้องเรียกคืนไม่ได้
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมา กรม ศุลกากรจำเลยที่ 1มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 99และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ถ้า โจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตามโจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมเปรียบเทียบปรับในความผิดศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จของพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้สิทธิในการฟ้องร้องคดีแพ่งหมดไป
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และอายุความฟ้องเรียกเก็บภาษีเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และอายุความฟ้องร้อง
จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าเส้นด้ายใย ประดิษฐ์ โดยแสดงว่าจะใช้ผลิตหรือผสมหรือประกอบส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรโดยจำเลยได้สำแดงรายการเสียภาษีอากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าแล้วว่าต้องเสียภาษีอากรประเภทใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยมีธนาคารทำหนังสือค้ำประกันระบุจำนวนเงินไว้ต่อโจทก์ เพื่อขอรับของที่นำเข้าไปจากโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้ทักท้วงเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าว่าไม่ถูกต้องอย่างใด จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรสำหรับของที่จำเลยนำเข้า เมื่อจำเลยไม่ใช้ของที่นำเข้ามาผลิตหรือผสมหรือประกอบส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมด้วยเงินเพิ่ม และมิใช่หน้าที่โจทก์จะต้องติดตามทางถาม หรือแจ้งให้จำเลยนำค่าภาษีอากรไปชำระและมิได้มีบทบัญญัติมาตราใด แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันทีดังนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2518แต่จำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามานั้นผลิตหรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศภายใน 1 ปี ดังนี้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภาษีอากรตามจำนวนที่จำเลยสำแดงไว้ นับถัด จากวันที่ครบ 1 ปี คือ วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าและการบังคับสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออกภายในกำหนด และอายุความ
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประเมินภาษีการค้า: กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการค้าเป็นสำคัญ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งกำหนดว่าการประเมินภาษีการค้าให้กระทำได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดง รายการการค้า หมายความว่า ในกรณีที่มีกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้หลายวันก็ให้นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลานั้น ส่วนในกรณีที่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าได้กำหนดไว้แน่นอนเป็นวันหนึ่งวันใดโดยเฉพาะเพียงวันเดียว แล้ว ก็ย่อมต้องถือว่าวันที่กำหนดไว้แน่นอนนั้นเป็นวันสุดท้าย การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้กำหนดไว้แน่นอนนั้น
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้าเรื่องกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการการค้าและการชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกครั้งที่มีการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและชำระภาษีในวันนำเข้าซึ่งเป็นเพียงวันเดียวที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วการนับระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (2) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้มีเอกสารสิทธิทางการฑูต ซื้อสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บนซึ่งไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่เปลี่ยนเป็นการยื่นบัญชีเล็ดเยอร์ใบประทวนของใช้ในบ้านเมืองแทนเมื่อจะปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ต้องถือว่าวันปล่อยของออกคือวันที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแม้โจทก์จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแต่เจ้าพนักงานทำการประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนการประเมินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย มาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร.
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้าเรื่องกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการการค้าและการชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกครั้งที่มีการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและชำระภาษีในวันนำเข้าซึ่งเป็นเพียงวันเดียวที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วการนับระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (2) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้มีเอกสารสิทธิทางการฑูต ซื้อสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บนซึ่งไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่เปลี่ยนเป็นการยื่นบัญชีเล็ดเยอร์ใบประทวนของใช้ในบ้านเมืองแทนเมื่อจะปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ต้องถือว่าวันปล่อยของออกคือวันที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแม้โจทก์จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแต่เจ้าพนักงานทำการประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนการประเมินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย มาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร.