พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าโดยเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ประกอบการค้าไม่ได้โต้แย้ง
ตามมาตรา 87 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่ชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในปีที่ล่วงมาแล้วตามหลักเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีการค้าในปีที่ล่วงมาแล้วหรือถึงกำหนดชำระแล้ว มิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในปีที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการค้า ต่อมา พ.ศ. 2529 จึงมีมาตรา 86 เบญจบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดแต่มิใช่เป็นการกำหนดวิธีการ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการกำหนดรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดอยู่แล้วตามมาตรา 87 ทวิ(7) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2523 ถึงเดือนมกราคม 2526 โดยใช้รายรับขั้นต่ำที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้า จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่เห็นด้วยก็ไม่ชอบเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์และข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำโดยเจตนาเข้าถือโอกาสจากผู้เยาว์และร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษ
จำเลยอายุ 22 ปี จบการศึกษาชั้น ม.ศ. 3 มีภรรยาและมีบุตรด้วยกัน 1 คน จำเลยรับจ้างซ่อมตู้เย็น จำเลยรู้สึกผิดชอบดีแล้วการที่ผู้เสียหายขอให้จำเลยช่วยพาไปอยู่ที่อื่นเพราะทะเลาะวิวาทกับบิดา จำเลยน่าจะแนะนำตักเตือนผู้เสียหายในทางที่ดีจำเลยกลับช่วยพาผู้เสียหายหนีบิดามารดาไปค้างคืนที่อื่น และร่วมประเวณีกับผู้เสียหายเช่นนี้ จำเลยมีเจตนาเข้าถือโอกาสจากผู้เสียหายซึ่งยังมีอายุน้อยเบาปัญญาและยังไม่รู้สึกผิดและชอบชั่วดี พาไปเพื่อการอนาจาร นับว่าการกระทำผิดของจำเลยร้ายแรงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า แม้เลขที่บ้านไม่ตรงตามคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยปลูกบ้านเลขที่7/29 ลงบนที่ดินแปลงที่จำเลยเช่า ส่วนคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 7 ออกไป ซึ่งแม้เลขที่บ้านจะไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าบ้านที่จำเลยปลูกในที่ดินที่เช่านั้นมีหลังอื่นอีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าบ้านที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือบ้านหลังที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนออกไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกในที่ดินที่เช่าออกไปนั้นไม่จำเป็นต้องระบุเลขที่บ้านก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าแล้ว จำเลยก็ต้องขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดออกไปรวมทั้งบ้านที่ปลูกไว้ด้วย ดังนั้นคำพิพากษาที่ให้รื้อบ้านเลขที่ 7/29 ของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าจึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีขับไล่: ศาลยึดตามเจตนาของคู่ความ แม้เลขที่บ้านไม่ตรงกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยปลูกบ้านเลขที่7/29 ลงบนที่ดินแปลงที่จำเลยเช่า ส่วนคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 7 ออกไป ซึ่งแม้เลขที่บ้านจะไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าบ้านที่จำเลยปลูกในที่ดินที่เช่านั้นมีหลังอื่นอีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า บ้านที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือบ้านหลังที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนออกไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกในที่ดินที่เช่าออกไปนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุเลขที่บ้านก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว เพราะเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าแล้ว จำเลยก็ต้องขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดออกไปรวมทั้งบ้านที่ปลูกไว้ด้วย ดังนั้นคำพิพากษาที่ให้รื้อบ้านเลขที่ 7/29 ของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าจึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: จำเลยรับรองคุณภาพหม้อแปลงไฟฟ้า การฟ้องเรียกค่าซ่อมเป็นเรื่องชำรุดบกพร่อง ไม่ใช่ผิดสัญญา
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปในการซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าที่จำเลยขายให้โจทก์ ซึ่งเกิดชำรุดขึ้นภายในระยะเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบ เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มิใช่เป็นการฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย หรือเลิกสัญญากับจำเลยโจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: การฟ้องค่าซ่อมหม้อแปลงไฟฟ้าต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากพบความชำรุด
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปในการซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าที่จำเลยขายให้โจทก์ ซึ่งเกิดชำรุดขึ้นภายในระยะเวลาที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบ เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง มิใช่เป็นการฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย หรือเลิกสัญญากับจำเลย โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่หลากหลาย: ศาลฎีกาอนุญาตให้ใช้การถัวเฉลี่ยกำไรได้
แม้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำรอบระยะเวลาบัญชี และต้องเป็นรายได้ที่นิติบุคคลนั้นได้รับจริงๆ ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ากำไรของนิติบุคคลนั้นมีหลายจำนวนแตกต่างกัน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรที่โจทก์ได้รับ นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิได้.
โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.
โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรได้
แม้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและต้องเป็นรายได้ที่นิติบุคคลนั้นได้รับจริง ๆก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ากำไรของนิติบุคคลนั้นมีหลายจำนวนแตกต่างกันเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรที่โจทก์ได้รับ นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการไม่ทำบัญชีคุมสินค้า แม้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและได้รับการยกเว้นภาษีส่งออก
โจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งจำหน่ายต่างประเทศซึ่งเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าเมื่อโจทก์มีสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปคงเหลือ ณ โรงงานของโจทก์ โดยโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับสินค้าที่ส่งออก โจทก์ก็ไม่ได้รับยกเว้นการทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าจึงถือว่าเป็นการขายสินค้านั้นโดยถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามกฎหมาย ถือเป็นการขายสินค้าและต้องเสียภาษี
โจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งจำหน่ายต่างประเทศซึ่งเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์มีสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปคงเหลือ ณ โรงงานของโจทก์ โดยโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับสินค้าที่ส่งออก โจทก์ก็ไม่ได้รับยกเว้นการทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าจึงถือว่าเป็นการขายสินค้านั้นโดยถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย.