พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินอากรเกิน การประเมินอากรที่ไม่ถูกต้อง และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตรวจสอบเอกสาร
ตามพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า นั้นการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงแม้จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก แต่ผู้นำของเข้าหรือส่งของออกก็ต้องแจ้งความไว้ก่อนว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินประการหนึ่งหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนว่าเงินอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียอีกประการหนึ่ง ดังนี้ เมื่อตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เชื่อได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปว่าเงินอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสีย จำเลยก็ต้องคืนเงินอากรส่วนที่ชำระไว้เกินแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยของบุตรจากมารดาชาวญวนอพยพ และบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จะเกิดในราชอาณาจักรไทยและได้สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน และเป็นคนญวนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงบัญชีซ้ำซ้อนและความรับผิดชอบในการคืนเงิน กรณีจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์
จำเลยนำเช็คจำนวนเงิน 120,000 บาท เข้าฝากในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารโจทก์ โจทก์ลงบัญชีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง รวมเป็นเงิน240,000 บาท จำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเหลือเพียง 57 บาท 32สตางค์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 120,000 บาท คืนได้ กรณีเป็นเรื่องลงบัญชีซ้ำซ้อนเนื่องจากความพลั้งเผลอหาใช่เป็นการกระทำการตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ และการที่จำเลยปฏิเสธไม่คืนเงินให้แก่โจทก์ตามคำบอกกล่าว จำเลยจึงผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล: การตีราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นถือเป็นกำไรที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้ การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและการรวมเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิตโจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วยถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3) หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิ ของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ใน งบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้น
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเช่าซื้อ: ศาลอนุญาตได้หากไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นคดี และการส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นไปไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ มิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขฟ้องเพิ่มเติม ไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นเดิม และการส่งมอบทรัพย์สินที่ไม่อาจทำได้จริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ มิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขฟ้องเพิ่มฐานความผิดได้หากประเด็นไม่เปลี่ยน และการส่งมอบทรัพย์สินเช่าซื้อที่ทำไม่ได้เนื่องจากกรรมสิทธิ์เปลี่ยนไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืน แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลง ในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อมิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้อง ของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้อง กับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723-1746/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นนายหน้าและหน้าที่ในการเสียภาษีการค้า แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียว
โจทก์ชี้ชวนให้ผู้มีชื่อมาซื้อหุ้นของธนาคาร ก. และบุคคลเหล่านี้ได้ซื้อหุ้นดังกล่าวตามที่โจทก์ชี้ชวน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมเป็นบำเหน็จการชี้ชวนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง โจทก์จึงเป็นนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและจดทะเบียนการค้า
บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89 ทวิ เป็นบทบังคับที่ไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ประกอบการค้ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ โจทก์ไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 และ 89 ทวิ.
บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89 ทวิ เป็นบทบังคับที่ไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ประกอบการค้ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ โจทก์ไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 และ 89 ทวิ.