คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ จูสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนกองปราบปราม: การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ได้รับอนุญาตภายหลัง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงานฯให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจรับผิดชอบในความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักร ดังนี้ พันตำรวจเอก ส. ซึ่งรับราชการประจำกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 การที่กรมตำรวจวางระเบียบว่ากองปราบปรามจะสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็เพื่อเป็นการแบ่งแยกความรับผิดชอบในการสอบสวนคดีเท่านั้นเมื่อพันตำรวจเอก ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนี้แล้ว แม้จะได้รับอนุญาตภายหลัง การสอบสวนตั้งแต่ต้นก็เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตามหลักเกณฑ์กฎหมายและหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปี ของปี ก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน มิใช่ หมายความ ถึงค่ารายปีของปีก่อน ๆ นั้นขึ้นไป ทั้งกฎหมายก็มิได้ มีความหมายว่าให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเป็นเพียงแต่นำมาเป็นหลักการคำนวณเท่านั้นเพราะค่ารายปีในปีต่อมาอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงงานโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และตามหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นการให้ความ เป็นธรรมแก่โจทก์โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเกี่ยวกับขนาด สภาพโรงงานของโจทก์เพื่อจะนำมาพิจารณาเทียบกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้กระทำการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นตามใจชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์และการปรับค่ารายปีนั้นพนักงานประเมินก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่ละปีมิได้เพิ่มขึ้นครั้งเดียวให้ถึงอัตราที่อยู่ในอัตราเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เมื่อพนักงานประเมินปรับค่ารายปีของโจทก์อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แล้วพนักงานประเมินก็มิได้เพิ่มค่ารายปีและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นทุกปีดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อพิรุธทำให้เห็นว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเป็นไปโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การปรับค่ารายปีตามหลักเกณฑ์และสภาพจริง
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน มิใช่หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อน ๆ นั้นขึ้นไป ทั้งกฎหมายก็มิได้มีความหมายว่าให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเป็นเพียงแต่นำมาเป็นหลักการคำนวณเท่านั้น เพราะค่ารายปีในปีต่อมาอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงงานโจทก์ พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และตามหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเกี่ยวกับขนาด สภาพโรงงานของโจทก์เพื่อจะนำมาพิจารณาเทียบกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้กระทำการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นตามใจชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์และการปรับค่ารายปีนั้นพนักงานประเมินก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่ละปีมิได้เพิ่มขึ้นครั้งเดียวให้ถึงอัตราที่อยู่ในอัตราเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เมื่อพนักงานประเมินปรับค่ารายปีของโจทก์อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แล้ว พนักงานประเมินก็มิได้เพิ่มค่ารายปีและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นทุกปีดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อพิรุธทำให้เห็นว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเป็นไปโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก แม้ไม่ได้ส่งออกจริง
คำว่า "เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.728/2522ข้อ1(2)และคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.4/2528ข้อ 3(2) มีความหมายว่าในกรณีผู้ซื้อซึ่งจดทะเบียนประกอบการค้าเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลัง ไม่ว่าเป็นหัวหรือจัดทำเป็นผง แป้ง เส้นก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทำในลักษณะอื่น จะต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในแต่ละครั้ง ไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกนั้นจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อไว้จริง ๆ หรือไม่ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะได้จ่ายเงินซื้อแป้งมันสำปะหลังและมันเส้นให้แก่ผู้รับ จึงต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าว แม้โจทก์จะได้จำหน่ายแป้งมันและมันเส้นในประเทศโดยไม่ได้ส่งออกก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก แม้ยังมิได้ส่งออกสินค้าจริง
คำว่า "เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท. 728/2522 ข้อ 1(2) และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท. 4/2528 ข้อ 3(2) มีความหมายว่าในกรณีผู้ซื้อซึ่งจดทะเบียนประกอบการค้าเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังไม่ว่าเป็นหัวหรือจัดทำเป็นผง แป้ง เส้น ก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทำในลักษณะอื่น จะต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในแต่ละครั้ง ไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกนั้นจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อไว้จริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและได้จ่ายเงินซื้อแป้งมันสำปะหลังและมันเส้นให้แก่ผู้รับ จึงต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าว แม้โจทก์จะได้จำหน่ายแป้งมันและมันเส้นในประเทศโดยไม่ได้ส่งออกก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้จำเลยโต้แย้ง และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังพยานทั้งสองฝ่าย
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของหนังสือดังกล่าวศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหายค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ได้ต่อสู้คัดค้าน และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้อง ของหนังสือดังกล่าว ศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดี ว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหาย ค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1469/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คสำคัญกว่าการปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาทุจริตของจำเลย
ในวันสืบพยานโจทก์ จำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่จำเลยก็มิได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้จะถือว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นจำเลยที่ 2 ร่วมข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายก็ดี แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการตายและการพบศพของผู้ตาย เมื่อฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนแล้ว รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมลายมือชื่อเพื่อเอาทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่ตามฟ้องได้ความว่าจำเลยปลอมลายมือชื่อของ ก. ลงในแบบฟอร์มแล้วรับเอาสมุดรายงานประจำตัวนักศึกษาแพทย์และคู่มือสำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ที่ ก. มีสิทธิจะรับไป เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์จะเอาสมุดรายงานประจำตัวและคู่มือนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ของโรงพยาบาลศิริราชไปเป็นข้อสำคัญ การลงลายมือชื่อของจำเลยเป็นเพียงการใช้กลอุบายแสดงตัวว่าจำเลยเป็น ก. เพื่อเป็นหลักฐานในการเอาทรัพย์ไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
of 37