คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไมตรี กลั่นนุรักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 981 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4035/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และการทับเส้นทางเดินรถประจำทาง ความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์
จำเลยนำรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คนมาประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 วรรคหนึ่งและมาตรา 126 แต่ที่จำเลยนำรถยนต์ดังกล่าวรับส่งคนโดยสารระหว่างตลาดนาโยงกับอำเภอเมืองตรัง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของเส้นทางเดินรถประจำทางของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางสายตรัง-เขาช่อง โดยเก็บค่าโดยสารคนละ 5 บาท จึงเป็นกรณีที่ใช้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทางรับจ้างคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในทางที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 22 วรรคหนึ่งหาจำต้องเป็นการรับส่งเฉพาะคนโดยสารตามรายทางระหว่างที่จำเลยขับรถส่งคนโดยสารไม่ เพราะการรับส่งคนโดยสารของจำเลยอยู่ในเขตรายทางเส้นทางเดินรถของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิบัติตามสัญญา, ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินต่อกัน แต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เกิดจากเหตุขัดข้อง2 ประการ เหตุประการแรก เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจว่าการขายที่ดินเข้าข่ายจะต้องขออนุญาตค้าที่ดินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 101 ก่อนหรือไม่เป็นการวินิจฉัยสั่งการของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจนกว่าจะได้หารือกรมที่ดินก่อนมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เหตุประการที่สอง เรื่องที่ฝ่ายโจทก์เพียงแต่เตรียมตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 3 ฉบับ ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินกับนำสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของ ส. ไปแสดงต่อจำเลยทั้งสองแทนค่าซื้อไว้ก่อน แต่จำเลยทั้งสองไม่ยินยอม ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระเงินที่ค้างชำระทั้งหมดในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์การที่โจทก์พา ส. ไปซื้อที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ แม้จะไม่ใช่เรื่องผิดสัญญาในส่วนของตัวบุคคลผู้ที่จะเป็นผู้ซื้อก็ตามก็เรียกได้ว่าโจทก์และ ส. ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินส่วนที่ค้างชำระ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ชอบที่จำเลยทั้งสองจะริบมัดจำได้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดีและการพิจารณาเรื่องกำหนดเวลาการยื่นคำร้อง
หลังจากผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2532 ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินของจำเลยแล้ว ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องอื่นรวมทั้งคำแถลงต่อศาลอีกหลายครั้ง และตามรายงานการเดินหมายของเจ้าหน้าที่ศาลลงวันที่28 มิถุนายน 2532 ก็ระบุว่าเจ้าหน้าที่ศาลได้นำหมายนัดไปส่งแก่จำเลยด้วย แต่ส่งไม่ได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำแถลงเมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2532 ว่า ยังส่งสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ให้จำเลยไม่ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดให้จำเลยอีกครั้งแสดงว่าผู้ร้องทราบดีว่าศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องและผู้ร้องทราบวันนัดนั้นแล้วดังนั้น การที่ฝ่ายผู้ร้องไม่ไปศาลในวันนัดจึงเป็นการทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) กรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยในคดีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดนั้น มิใช่เป็นกรณีเฉลี่ยทรัพย์โดยตรงกับโจทก์เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองแต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่โจทก์แล้ว ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 มาบังคับใช้โดยอนุโลมเมื่อการขายทอดตลาดครั้งหลังที่โจทก์เป็นผู้ประมูลได้ ยังไม่มีการยกเลิกโดยคำสั่งใดต้องถือว่ามีการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, การแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการใช้ประโยชน์, การเพิกถอนการให้
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด.บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของ ด. อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น.ได้เบิกความไว้แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้น และโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย
ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด. และ อ.โดยเท่าเทียมกัน เท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าว ด.บิดาลงนามแทน อ.โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ.มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ.เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิด ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการ แสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทน อ. โดย อ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้ อ.เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล จึงถือไม่ได้ว่า อ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ.จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 ก็ตาม แต่เมื่อ อ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะ อ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ.จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ.สละสิทธิในส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง จำเลย กับ ด.จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า ด.ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช.จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ด.กับ อ.ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของ อ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาสอันไม่ควรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วนตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญา ให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท
ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดา ต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คู่ความยื่นคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลมีคำสั่งโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามที่ขอ คู่ความย่อมมีสิทธิยื่นคำขอเช่นว่านั้นได้อีก เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามทั้งศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีคำสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามคำขอได้โดยไม่ต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมก่อน เพราะมิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมิได้กำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่พฤติการณ์แสดงว่า เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้วคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชอบที่จะกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้หาใช่คู่สัญญามีเจตนาให้เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข & สิทธิในการขอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซ้ำได้ หากศาลยังไม่ได้วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 นั้น แม้คู่ความฝ่ายใดจะเคยยื่นคำขอมาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามที่ขอ คู่ความย่อมมีสิทธิยื่นคำขอเช่นว่านั้นได้อีก เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามยื่นคำขออีก ทั้งเป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และเมื่อศาลเห็นสมควรก็ย่อมมีคำสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามคำขอได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมเสียก่อนเพราะมิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ระบุเกี่ยวกับการชำระราคาในข้อ 2 ว่าจำเลยทั้งสองผู้ซื้อต้องไปรับชำระหนี้ตามยอดหนี้ตามสัญญาจำนองจากธนาคารทหารไทย จำกัด สำนักงานใหญ่จำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ผู้ซื้อนำไปจ่ายหนี้ของผู้ขายแทนตัวผู้ขายในวงเงินประมาณครึ่งหนึ่งของยอดหนี้ดังกล่าว เมื่อมีเงินเหลือจึงนำมามอบให้แก่ผู้ขายภายในกำหนด 16 เดือน จึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติและขณะทำสัญญา คู่สัญญาไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จลงวันใดจึงย่อมไม่อาจกำหนดเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนไว้ล่วงหน้าได้ สัญญาข้อ 7 กำหนดให้ผู้ขายต้องโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่ผู้ซื้อให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 1 เดือน เห็นว่าแม้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอันเป็นเรื่องสำคัญน้อยกว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คู่สัญญายังมีเจตนาให้โอนกันถูกต้องนอกจากนั้น ตามสัญญาข้อ 4 ที่ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อเข้าไปในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้ซื้อได้ทันที และตามสัญญาข้อ 6 ผู้ขายไม่มีสิทธิไปทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาอีกต่อไป ย่อมแสดงว่าสัญญาดังกล่าวยังมีเงื่อนไขอยู่ หากเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสิทธิตามสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นของผู้ซื้อทันทีและผู้ขายก็ไม่มีสิทธิตามสัญญาข้อ 6 ทันทีเช่นกัน หาจำต้องกำหนดไว้เป็นข้อสัญญาไม่ เมื่อพิเคราะห์ข้อความทั้งหมดแห่งสัญญาแล้ว เห็นว่าสัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติ ซึ่งสัญญาที่มีเงื่อนไขไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้ว คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ชอบที่จะกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้ หาใช่เพราะคู่สัญญามีเจตนาให้เป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาดโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมิได้กำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ก็ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดสิทธิทายาท & สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 แม้ต่อมาภายหลังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมกับผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก และรับมรดกบางส่วนของเจ้ามรดกก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลทั้งสองให้เสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850เท่านั้น หาใช่การสละมรดกหรือสละพินัยกรรมของผู้ร้องไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ 1698(3) ไม่เพราะการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมเพียงบางส่วนไม่อาจกระทำได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1613วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดมรดก & การตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนารมณ์พินัยกรรมสำคัญกว่าข้อตกลงภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวโดยตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และในพินัยกรรมได้ระบุตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกไว้ด้วย ถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ผู้คัดค้านได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน และยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องก็ตาม ก็หาใช่เป็นการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมไม่ เพราะการสละมรดกเพียงบางส่วนหรือสละพินัยกรรมเพื่อไม่รับมรดกตามพินัยกรรมเพียงบางส่วนกระทำไม่ได้ เมื่อพินัยกรรมระบุตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะแล้วก็ไม่ชอบที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเวนคืนต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาล
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทกำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 ว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 25 วรรคแรก แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน จึงไม่มีสิทธิ ฟ้องคดีต่อศาล คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงิน ค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
of 99