คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไมตรี กลั่นนุรักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 981 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการประเมินค่าเสียหายที่เกิดกับร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาทของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาท เงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้ เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการประมาทของลูกจ้าง และการชดใช้ค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาท ของจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาทเงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้ จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6 การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้น มิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับ ขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอ กว่าตอนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอ หรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: แม้ครอบครองนาน ก็ยังต้องรื้อถอน หากละเมิดต่อเนื่อง อายุความไม่ขาด
โจทก์กับจำเลยมีบ้านอยู่ติดกัน และหลังคาบ้านกับรางน้ำฝนบางส่วนของโจทก์รุกล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพร้อมบ้านมาจากเจ้าของเดิมและโจทก์ได้ครอบครองทั้งบ้านและที่ดินมากว่า 20 ปี แต่การละเมิดที่หลังคาบ้านและรางน้ำฝนบางส่วนของโจทก์รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันฟ้องและปัจจุบัน จำเลยชอบที่จะฟ้องให้โจทก์รื้อหลังคาและรางน้ำฝนส่วนที่รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ถ้าโจทก์ไม่รื้อหลังคาและรางน้ำฝนส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ให้จำเลยเป็นผู้รื้อโดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ซึ่งจำเลยชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ดำเนินการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรังวัดแบ่งแยกที่ดิน, ฟ้องเคลือบคลุม, ครอบครองปรปักษ์: ข้อเท็จจริงชัดเจน เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิ
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ครอบครองให้ไปทำการรังวัดแบ่งแยกได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของซ. ได้ขายที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 46 ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งโดยจำเลยแบ่งที่ดินให้กับโจทก์ด้านติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 191 แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทกองมรดกไม่ยอมไปทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดให้โจทก์ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ได้ความชัดเจนว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ไปทำการรังวัดแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ส่วนที่ดินจะกว้างยาวขนาดใดเป็นเรื่องที่จะดำเนินการรังวัดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีการเรียกประชุมทายาทของซ.โดยจำเลยที่ 2 เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติให้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 46 ให้โจทก์กึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งขายให้จำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 46 ไว้ก่อนการประชุมทายาทจึงเป็นเพียงการครอบครองไว้แทนทายาทอื่นทุกคน จำเลยที่ 2มิได้ครอบครองยึดถือไว้เพื่อตนจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โจทก์เปลี่ยนแปลงเหตุแห่งความเสียหายจากฐานรากเคลื่อนตัวเป็นรื้อถอนอาคาร เป็นการอ้างเหตุใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณา
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว เพราะฐานรากอาคารตึกแถวของจำเลยลึกกว่าฐานรากอาคารตึกแถวของโจทก์ มิได้อ้างว่าเกิดจากการรื้อถอนอาคารตึกแถวหลังเก่าของจำเลย ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าในการก่อสร้างอาคารตึกแถวของจำเลยได้มีการรื้อถอนอาคารหลังเก่าออกก่อน โดยทุบผนังอาคารดึงเสาอาคารเดิมซึ่งติดกับเสาอาคารตึกแถวของโจทก์ออก และทุบคานคอดินอาคารตึกแถวของโจทก์ ทำให้อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการอ้างเหตุแตกต่างกับเหตุที่โจทก์อ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: เหตุที่ฎีกาต่างจากที่อุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว เพราะฐานรากอาคารตึกแถวของจำเลยลึกกว่าฐานรากอาคารตึกแถวของโจทก์ มิได้อ้างว่าเกิดจากการรื้อถอนอาคารตึกแถวหลังเก่าของจำเลย ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ในการก่อสร้างอาคารตึกแถวของจำเลยได้มีการรื้อถอนอาคารหลังเก่าออกก่อน โดยทุบผนังอาคารดึงเสาอาคารเดิมซึ่งติดกับเสาอาคารตึกแถวของโจทก์ออก และทุบคานคอดินอาคารตึกแถวของโจทก์ ทำให้อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการอ้างเหตุแตกต่างกับเหตุที่โจทก์อ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนการบังคับคดีได้หากศาลชั้นต้นผิดพลาด
สิทธิในการบังคับคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการบังคับคดีของศาลชั้นต้นเสียได้ สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมระบุว่า หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนเสาคอนกรีตและรั้วกำแพงเหล็กทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ทั้งไม่ยอมรื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์หรือบุคคลที่โจทก์จ้างมีสิทธิเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นได้โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และจำเลยยินยอมให้โจทก์บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องได้ดังนั้น ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ยอมรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่จะต้องรื้อถอนให้เสร็จภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกจากโจทก์จะมีสิทธิรื้อถอนสิ่งก่อสร้างนั้นเองหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องโดยโจทก์ไม่จำต้องเข้าไปรื้อถอนหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นก่อนจึงจะขอบังคับคดีได้ เพราะข้อความเกี่ยวกับเรื่องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างกับข้อความเกี่ยวกับการที่โจทก์จะขอบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องเป็นข้อความคนละตอน สามารถแยกใจความคนละส่วนต่างหากจากกันได้ โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอ้างว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมซึ่งหมายถึงว่า จำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนเสาคอนกรีต รั้วกำแพงทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่ได้รื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวด้วย ศาลอุทธรณ์ย่อมชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดจำเลยยังไม่ได้รื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและชอบที่จะยกเอาเหตุผลดังกล่าวประกอบการวินิจฉัยการวินิจฉัยได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญาอันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หาเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายข้าวสาร/ข้าวเปลือกที่จำนำไว้ ไม่ถือเป็นการจำนำเพื่อประกันการชำระหนี้ และไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยนำข้าวสารและข้าวเปลือกที่จำเลยจำนำแก่โจทก์ไปจำหน่าย ซึ่งตามทางปฏิบัติข้าวสารและข้าวเปลือกที่ลูกค้าจำนำแก่โจทก์จะอยู่ในความดูแลของลูกค้า ลูกค้าสามารถนำออกไปจำหน่ายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโจทก์แต่ต้องนำข้าวสารและข้าวเปลือกจำนวนใหม่เข้าไปไว้แทน แสดงว่าโจทก์ยอมให้ข้าวสารและข้าวเปลือกอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวสารและข้าวเปลือกไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายใน ป.พ.พ.ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 349
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทวงถามและจำเลยรู้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์ไปเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไม่ จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำข้าวสาร/ข้าวเปลือก และการขนย้ายทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้สิน ศาลฎีกาวินิจฉัยขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยนำข้าวสารและข้าวเปลือกที่จำเลยจำนำแก่โจทก์ไปจำหน่าย ซึ่งตามทางปฎิบัติ ข้าวสารและข้าวเปลือกที่ลูกค้าจำนำแก่โจทก์จะอยู่ในความดูแลของลูกค้า ลูกค้าสามารถนำออกไปจำหน่ายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโจทก์แต่ต้องนำข้าวสารและข้าวเปลือกจำนวนใหม่เข้าไปไว้แทน แสดงว่าโจทก์ยอมให้ข้าวสารและข้าวเปลือกอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวสารและข้าวเปลือกไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทวงถามและจำเลยรู้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์ไปเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่อง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และบุตรคนอื่น ๆ ปลูกบ้านลงในที่ดินมีโฉนดของบิดามารดาตามที่บิดามารดาอนุญาตและชี้ให้ปลูก โดยบิดามารดามีเจตนายกให้ตั้งแต่วันที่อนุญาตนั้น และต่างได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตลอดมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ แต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตนปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ ทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์และบริวารใช้เดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่แรกโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความ
of 99