พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี: ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 เป็นหนี้สมยอมกัน ทำขึ้นโดยที่มิได้เป็นหนี้ กันจริงเพื่อช่วยเหลือมิให้โจทก์และเจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้ เอา จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้อง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 3 ที่มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้และผู้ร้อง มิใช่เป็นผู้มีสิทธิอันได้ จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำร้องขอตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 288,289 และ 290 แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องจึงมิใช่เป็น ผู้ที่มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินคดีนี้ตาม มาตรา 280 แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี: ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในการเพิกถอนการขายทอดตลาด
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 เป็นหนี้สมยอมกัน ทำขึ้นโดยที่มิได้เป็นหนี้กันจริงเพื่อช่วยเหลือมิให้โจทก์และเจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 3 ที่มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ และผู้ร้องมิใช่เป็นผู้มีสิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำร้องขอตามมาตรา 288,289 และ 290 แห่ง ป.วิ.พ.ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินคดีนี้ตามมาตรา 280 แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย การผิดสัญญาทำให้เกิดความเสียหายและต้องรับผิดชดใช้
ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาที่ทนายโจทก์กับจำเลยได้ลงชื่อไว้มีใจความว่า โจทก์ยอมรับว่า จำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.เป็นจำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาแลกกับการที่จำเลย งดเว้นการใช้สิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยต่างเกี่ยวข้องอยู่ในคดีต่าง ๆ นั้น ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ย่อมก่อให้เกิดความผูกพันใช้ บังคับได้ และหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาในทางแพ่งของจำเลยไม่ เพราะเป็นความสมัครใจเองที่ยอมสละสิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งนั้น การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไป ในการต่อสู้คดีกับจำเลย เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ. จำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลงโดย ทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลง ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าวจำเลย จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน: การฟ้องรังวัดที่ดินแปลงเดียวกันซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
คดีแรกศาลพิพากษาตามยอมว่าที่พิพาทตามแผนที่เป็นของโจทก์โจทก์ฟ้องเป็นคดีที่สองให้จำเลยรังวัดแบ่งที่ดิน น.ส.3 ให้แก่โจทก์ตามแผนที่พิพาทดังกล่าว ศาลพิพากษายกฟ้องว่า เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีที่สามขอให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดิน น.ส.3 อีกแม้จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองร่วมกับจำเลย คำฟ้องในคดีที่สองและที่สามก็เป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อคดีที่สองยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีที่สามจึงเป็นฟ้องซ้อนตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องและการลงโทษอาญา: ข้อหายิงปืนโดยใช่เหตุต้องระบุในฟ้อง หากไม่ได้ระบุ ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นกับฐานมีและพาอาวุธปืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,92 และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิ มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 376 มิใช่การกระทำซึ่งรวมอยู่ในความผิดตามที่ฟ้องอันศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึกต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน30,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้น ก็มีความหมายว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิ เช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยง ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้ มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับลูกหนี้ และที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคงมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่านับแต่วันถัด จากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 อีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระเสร็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดจำเลยที่ 3-4 ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึก ต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาทแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงิน ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท เท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกัน มีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และ ที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชี จะ ต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิด ร่วม กับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ ลูกหนี้ ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงิน เกิน บัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย ที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดย ไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี ต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตาม ยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดย ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่าง โจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์ แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กันอีกต่อไปถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึก เพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีก นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคง มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดย ไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุด สัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการคิดดอกเบี้ยในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึกต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทเท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาทโดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกต่อไป ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาทโดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกต่อไป ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสิทธิ-ความผิดฐานปลอมแปลง-ใช้เอกสารปลอม: ศาลแก้เป็นกรรมเดียว
สมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษมีข้อความแสดงว่าผู้ฝากได้ฝากเงินไว้ที่ธนาคารย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่ผู้ฝากที่จะเรียกถอนเงินฝากคืน หาใช่เพียงแต่แสดงรายการการฝากเงินและชื่อ ผู้ฝากไม่ จึงเป็นเอกสารสิทธิ การที่จำเลยที่ 1 ปลอมเอกสารต่าง ๆ แล้วนำไปยื่นแสดงต่อ ว.ผู้ช่วยกงสุล สถานกงสุลสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทยนั้น กระทำไปเพื่อประสงค์ให้เจ้าหน้าที่กงสุลดังกล่าวออกหนังสือผ่านแดน (วีซ่า)ให้จำเลยที่ 1 เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา การปลอมเอกสารของจำเลยที่ 1 ย่อมเห็นได้ว่ามีเจตนาอย่างเดียวที่จะให้เจ้าหน้าที่กงสุลดังกล่าวออกหนังสือผ่านแดน (วีซ่า) ให้เท่านั้น ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265 เพียงกรรมเดียว แม้เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นจะเป็นเอกสารต่างชนิดกันก็หาทำให้เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ และการที่จำเลยที่ 1นำเอกสารต่าง ๆ ตามฟ้องไปยื่นแสดงต่อ ว. ซึ่งเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการปลอมอีกกรรมหนึ่ง แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปลอมเอกสารเหล่านั้นเอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานใช้เอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการปลอมได้เพียงกระทงเดียว ตามป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง.