คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสียง ตรีวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: การซื้อขายรถยนต์หลังถูกดำเนินคดีอาญาเพื่อป้องกันทรัพย์สิน
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องยื่นคำร้องว่ารถยนต์พิพาทเป็นของผู้ร้อง ดังนี้เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 เพิ่งจะหย่ากับ ส. ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ถูกดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้ เพียง 18 วัน ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 กับ ส. ก็ยังไปไหนมาไหนด้วยกัน แต่ที่จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันเพราะถูกโจทก์เร่งรัดชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องของ ส. กับจำเลยที่ 1รับซื้อรถยนต์ที่โจทก์นำยึดนี้ไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้เพียง 6 วันและหลังจากทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์ดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้แล้ว ทั้งโจทก์ก็นำยึดรถยนต์พิพาทได้ในขณะอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 รูปคดีเชื่อ ได้ว่า ผู้ร้องรับซื้อรถยนต์พิพาทไว้โดยไม่สุจริต รถยนต์ยังเป็นของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย: สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงในสัญญาและการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
สัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มมากขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยผู้กู้ทราบแล้ว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอเพิ่มขึ้นไปนั้นไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขข้อสัญญาดังกล่าว โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ – การขึ้นอัตราดอกเบี้ย – การแปลงหนี้ – ผลผูกพันสัญญา
ตามสัญญากู้ มีข้อความว่า "และถ้า ต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น..." ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มให้จำเลยทราบแล้วอีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มก็ไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรับผิดทางละเมิดและการแบ่งความรับผิดระหว่างคู่กรณี รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าขณะเกิดเหตุ ป. เป็นคนขับรถของโจทก์มิใช่ ว. แต่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีว่า รถชนเกิดจากความประมาทของฝ่ายโจทก์ ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องผู้ใดเป็นคนขับรถของโจทก์ จึงไม่มีประเด็นข้อนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นการนอกประเด็นและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายละเมิด ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์สองในสามของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ เนื่องจากฝ่ายโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจะต้องนำค่าเสียหายของจำเลยที่ 2 มารวมคิดคำนวณด้วยนั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฟ้องแย้ง จึงไม่อาจนำมาคิดคำนวณให้ได้ การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งและจำนวนเท่าใด เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนทรัพย์สินระหว่างสมรสต้องทำเป็นหนังสือระบุเป็นสินส่วนตัวจึงมีผล
จำเลยและผู้ร้องสมรสกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2512 จดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว. แต่เวลาจดทะเบียนโอนได้ให้ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ซื้อเนื่องจากบิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว.ในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีและภรรยากันและรับโอนก่อนประกาศใช้บทบัญญัติ บรรพ 5แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ทรัพย์ที่รับโอนจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะรับโอน เพราะสินสมรสหรือสินส่วนตัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งบทบัญญัติที่ใช้คือ ป.พ.พ.บรรพ 5 มาตรา 1466 และ 1464เดิมที่กำหนดว่า การยกทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือโดยมีข้อความระบุแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ที่ผู้ร้องอ้างว่าบิดายกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นสินส่วนตัวโดยไม่มีหนังสือยกให้มาแสดงว่าเป็นสินส่วนตัวนั้น การยกให้เป็นสินส่วนตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยซึ่งผู้ร้องและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดมาเพื่อบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ของจำเลยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนทรัพย์สินระหว่างสมรสต้องทำเป็นหนังสือระบุเป็นสินส่วนตัวจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยและผู้ร้องสมรสกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2512จดทะเบียนหย่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว.แต่เวลาจดทะเบียนโอนได้ให้ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ซื้อเนื่องจากบิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนี้เป็นการที่ผู้ร้องรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว. ในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีและภรรยากันและรับโอนก่อนประกาศใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ทรัพย์ที่รับโอนจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะรับโอน เพราะสินสมรสหรือสินส่วนตัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งบทบัญญัติที่ใช้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466และ 1464 เดิมที่กำหนดว่า การยกทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือโดยมีข้อความระบุแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ที่ผู้ร้องอ้างว่าบิดายกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นสินส่วนตัวโดยไม่มีหนังสือยกให้มาแสดงว่าเป็นสินส่วนตัวนั้น การยกให้เป็นสินส่วนตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยซึ่งผู้ร้องและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดมาเพื่อบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ของจำเลยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการพิพากษาเกินคำขอและบทบัญญัติเกี่ยวกับโทษทางอาญาที่หนักที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดชิงทรัพย์กรรมหนึ่ง แล้วจึงฆ่าผู้ตายโดยเจตนาอีกกรรมหนึ่ง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์ผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเพียงอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้ตายโดยมีอาวุธ อันเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 339 วรรคสองเท่านั้น จะลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 339วรรคท้ายไม่ได้ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 และปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสองศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิตเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 11 ดังนั้นโจทก์จึงฎีกาขอให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ การดูแลรักษาไม้ และความรับผิดเมื่อไม้สูญหาย
ตามสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีสาระสำคัญว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างจะต้องทำการตัดฟันชักลากไม้กระยาเลยออกจากป่าไปรวมหมอน ณ สถานที่กำหนดและมีหน้าที่ดูแล รักษาไม้ดังกล่าวมิให้เสียหายหรือสูญหาย จนกว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบไม้ให้โจทก์โดยได้มีการตรวจตีตราค่าภาคหลวงและโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 แล้ว ถ้า เกิดการเสียหายหรือสูญหายไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ตามจำนวนไม้ที่เสียหายหรือสูญหายเมื่อไม้ที่รวมหมอนไว้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแล รักษาได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแล รักษา โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ปิดประกาศไม่ตรงที่ทรัพย์สิน หากเจ้าหนี้ทราบวันขายทอดตลาด
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 68 วรรคแรก กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่ทรัพย์ที่จะขายตั้งอยู่ด้วย แต่ข้อกำหนดดังกล่าวก็เพื่อประสงค์ให้บุคคลภายนอกที่สนใจมาประมูลซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดเท่านั้นระเบียบดังกล่าวหาได้เป็นกฎหมายไม่ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำประกาศขายทอดตลาดไปปิดไว้ที่อื่น ไม่ใช่ที่ที่ทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดตั้งอยู่ แต่ตามรายงานการขายทอดตลาดครั้งแรกของเจ้าพนักงานบังคับคดีโจทก์รับว่าได้มอบอำนาจให้ผู้แทนโจทก์มาในวันขายทอดตลาดดังกล่าวและผู้แทนโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันประกาศขายทอดตลาดที่เลื่อนไปในรายงานดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งวันขายทอดตลาดให้โจทก์ ซึ่งมีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์พิพาทที่จะขายทอดตลาดทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ vs. การโอนที่ดินโดยเสน่หาและสุจริต
พ.และฮ.ต่างเข้าครอบครองที่ดินตามส่วนที่ช.เจ้าของที่ดินยกให้โดยไม่ได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกแต่อย่างใดเมื่อ ฮ. ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาจนถึงปัจจุบันโดย พ. และโจทก์ต่างครอบครองและทำกินเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน เป็นเวลานานหลายสิบปีเช่นนี้แสดงว่าต่างฝ่ายต่างก็มีเจตนาครอบครองที่ดินเพื่อตนเองอย่างเป็นเจ้าของ เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินโดยความสงบและเปิดเผยเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 พ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยทั้งสองและพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยทั้งสองอุปการะเลี้ยงดู พ.ตลอดมาพ. เคยยกที่ดินบางส่วนในแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองมาก่อนโดยไม่เสียค่าตอบแทน หากที่ดินพิพาทเป็นของ พ.จริงพ.ก็น่าจะยกให้จำเลยทั้งสองโดยเสน่หาโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่า พ. ขายที่ดินให้จึงไม่น่าเชื่อถือ น่าเชื่อว่า พ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองโดยเสน่หาโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกมาตรา 1299วรรคสอง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองรับโอนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่.
of 80