คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสียง ตรีวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน และสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้ถูกละเมิด แม้ได้รับสิทธิจากรัฐ
แม้โจทก์ที่ 2 จะขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3นั่งซ้อนท้ายมาด้วย เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวมิใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้รถเกิดเฉี่ยวชนกันเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถแซงรถผู้อื่นบนสะพานล้ำเส้นทึบแบ่งกึ่งกลางถนนออกไปเฉี่ยวชนรถโจทก์ที่ 2 ซึ่งขับมาด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเหตุที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการ แม้จะมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของตนตลอดจนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาและโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3จะฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้ถูกละเมิด
แม้โจทก์ที่ 2 จะขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 นั่งซ้อนท้ายมาด้วย เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวมิใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้รถเกิดเฉี่ยวชนกันเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถแซงรถผู้อื่นบนสะพานล้ำเส้นทึบแบ่งกึ่งกลางถนนออกไปเฉี่ยวชนรถโจทก์ที่ 2 ซึ่งขับมาด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหตุที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว
โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการ แม้จะมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของตนตลอดจนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาและโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมา ชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3จะฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองจากอาศัยสิทธิผู้อื่นเป็นเจ้าของ และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
เจ้าของโฉนดที่ดินพิพาทได้จำนำโฉนดที่ดินพิพาทไว้แก่บุคคลอื่นการที่ มารดา ของผู้คัดค้านซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินได้ไถ่โฉนดที่ดินพิพาทแทนเจ้าของโฉนดยังไม่อาจฟังว่าเป็นการแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการครอบครองที่ดินพิพาทจากการอาศัยสิทธิของผู้อื่นเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง เพราะอาจเป็นการไถ่โดยเจตนาที่จะอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ถือว่ามารดาของผู้คัดค้านและผู้คัดค้านครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินดังนั้นแม้ว่าจะครอบครองมานานเพียงใด ผู้คัดค้านย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของ การไถ่โฉนดที่ดินไม่ได้แปลเจตนาเปลี่ยนเป็นครอบครองเพื่อตนเอง
เจ้าของโฉนดที่ดินพิพาทได้จำนำโฉนดที่ดินพิพาทไว้แก่บุคคลอื่น การที่มารดาของผู้คัดค้านซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินได้ไถ่โฉนดที่ดินพิพาทแทนเจ้าของโฉนดยังไม่อาจฟังว่าเป็นการแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการครอบครองที่ดินพิพาทจากการอาศัยสิทธิของผู้อื่นเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง เพราะอาจเป็นการไถ่โดยเจตนาที่จะอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ถือว่ามารดาของผู้คัดค้านและผู้คัดค้านครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ดังนั้นแม้ว่าจะครอบครองมานานเพียงใด ผู้คัดค้านย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกและการครอบครองปรปักษ์: ทายาทร่วมมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองโดยมิชอบ
คดีเดิม ศาลมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่าโจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยไม่ต้องผูกพันตามคำสั่งดังกล่าว ในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลยกับทายาทอื่นเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่พิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่ได้รังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ทุกคนจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่จำเลยบังอาจยื่นคำร้องและเบิกความพร้อมกับแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล จนศาลหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเพียงผู้เดียว จึงมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ทำให้โจทก์และทายาทอื่นเสียหาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย ขอให้คำสั่งดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ คำขอท้ายฟ้องในข้อนี้จึงบังคับได้ ส่วนคำขอท้ายฟ้องอีกข้อที่ขอให้พิพากษาให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน ยุติการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้น หรือหากได้จดทะเบียนแล้วก็ให้จัดการแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิมนั้น เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงเจ้าพนักงานที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง คำบรรยายฟ้องดังกล่าวข้างต้นของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยรวมเข้ากองมรดกเพื่อจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องการจัดการมรดกที่ยังจัดการไม่เสร็จ หาใช่เรื่องฟ้องแบ่งมรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ไม่ โจทก์ จำเลย และทายาทอื่นของผู้ตายได้อาศัยสิทธิของผู้ตายเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่พิพาทตั้งแต่ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย และยังร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตลอดมาแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์และทายาทอื่นจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย จำเลยไม่อาจใช้คำสั่งศาลในคดีเดิม ที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์มายันโจทก์และทายาทอื่นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองร่วมกันของทายาทไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีเดิม ศาลมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่าโจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยไม่ต้องผูกพันตามคำสั่งดังกล่าว ในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลยกับทายาทอื่นเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่พิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่ได้ รังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ทุกคนจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่จำเลยบังอาจยื่นคำร้องและเบิกความพร้อมกับแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล จนศาลหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเพียงผู้เดียว จึงมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ทำให้โจทก์และทายาทอื่นเสียหาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย ขอให้คำสั่งดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ คำขอท้ายฟ้องในข้อนี้จึงบังคับได้ ส่วนคำขอท้ายฟ้องอีกข้อที่ขอให้พิพากษาให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน ยุติการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้น หรือหากได้จดทะเบียนแล้วก็ให้จัดการแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิมนั้น เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงเจ้าพนักงานที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง
คำบรรยายฟ้องดังกล่าวข้างต้นของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยรวมเข้ากองมรดกเพื่อจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องการจัดการมรดกที่ยังจัดการไม่เสร็จ หาใช่เรื่องฟ้องแบ่งมรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ไม่
โจทก์ จำเลย และทายาทอื่นของผู้ตายได้อาศัยสิทธิของผู้ตายเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่พิพาทตั้งแต่ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย และยังร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตลอดมาแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์และทายาทอื่นจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย จำเลยไม่อาจใช้คำสั่งศาลในคดีเดิม ที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์มายันโจทก์และทายาทอื่นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การรุกล้ำที่ดิน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ที่ดินเดิม มีเพียง ส.ค.1 หากต่อมาเจ้าพนักงานออก น.ส.3 ให้แต่มีจำนวนเนื้อที่ไม่ตรงกัน ถือว่าจำนวนเนื้อที่ตามที่ปรากฏใน น.ส.3 ถูกต้องกว่า เพราะการออก น.ส.3 นั้น จะต้องมีการรังวัดเนื้อที่ดิน และมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตว่าถูกต้อง แม้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์เมื่อยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่ขาดสิทธิฟ้องแย้งเพื่อเอาคืนการครอบครอง แต่เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต จำเลย จึงไม่อาจบังคับให้โจทก์รื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำได้ ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินที่โจทก์รุกล้ำ ดังนั้น การที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินแก่จำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอฟ้องแย้ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948-5949/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเพิกถอนสิทธิในที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิครอบครองและการอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแต่ถูกจำเลยคัดค้านการรังวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน น.ส.3, น.ส.2 (ใบจอง) ของจำเลยและทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ของโรงเรียนบ้านน้อยใต้ โดยโจทก์ได้แนบภาพถ่ายคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีข้อความระบุว่า จากการสอบสวนพยานหลักฐานแล้วปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโดยมี น.ส.3, ใบจองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินของโรงเรียนมาท้ายฟ้องด้วยนั้นเป็นการฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารมิให้เกี่ยว ข้องกับที่ดินพิพาทหาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เพียงแต่กล่าวอ้างว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วน น.ส.3 และ น.ส.2(ใบจอง) ที่โจทก์ขอให้เพิกถอนก็คือ น.ส.3 และ น.ส.2 (ใบจอง)ที่ดินพิพาทนั่นเอง สำหรับทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ที่ขอให้เพิกถอนโจทก์ก็อ้างว่าทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องเพราะขึ้นทะเบียนที่ดิน มากกว่าที่ดินพิพาทและอาณาเขตที่ดินที่ติดต่อกับที่ดินของบุคคลอื่นก็แตกต่างกับที่ดินพิพาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว โดยมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทราบว่าหลักฐานดังกล่าวได้มีอยู่อันจะเป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ และศาลฎีกาเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและกรณีมีเหตุจำเป็นจะ ต้องสืบพยานเช่นว่านั้นจึงอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานเพิ่มเติมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5934-5935/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายแต่ละคน แม้มีการถอนฟ้องคดีไปแล้วโดยผู้เสียหายอื่น
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 หมายความว่า ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายคนหนึ่งได้ยื่นฟ้องไว้แล้วถอนฟ้องคดีนั้นไปจากศาล ย่อมตัดสิทธิผู้เสียหายคนนั้นที่จะฟ้องคดีอาญาในข้อหาเดียวกันนั้นอีกเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิผู้เสียหายคนอื่นที่จะฟ้องคดีอาญาในข้อหาเดียวกันนั้นอีกไม่ เพราะสิทธิในการดำเนินคดีอาญาที่ตนเป็นผู้เสียหายย่อมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เสียหายแต่ละคน ทั้งมาตรานี้มิได้บัญญัติตัดสิทธิผู้เสียหายแต่ละคนในกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคนไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่มิได้ถอนฟ้องจึงมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยบันดาลโทสะ: การชวนทะเลาะวิวาทก่อนถูกข่มเหง ไม่ถือเป็นเหตุบันดาลโทสะ และการลดโทษจากประโยชน์การพิจารณา
จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดยถาม ผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาว่า จะยิงพวกจำเลยให้หมดใช่ ไหม อันเป็นการชวนทะเลาะวิวาท การที่ผู้ตายพูดตอบโต้ทำนองเยาะเย้ย ว่าจะฆ่าพวกจำเลยให้หมด แม้พ่อจำเลยก็จะยิงไม่ให้เหลือ เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุให้บันดาลโทสะ.
of 80