พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการละเว้นการนำเช็คของบริษัทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและบันทึกรายได้ ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
ลูกค้าจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองเช็คในฐานะกรรมการของบริษัทมีหน้าที่ต้องนำเช็คเข้าบัญชีของบริษัทเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็ค แต่จำเลยไม่นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและไม่นำเงินมาลงบัญชีเป็นรายได้ของบริษัทเพื่อลวงให้บริษัทและผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้จึงมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัดสมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน ไม่ใช่วันทำงานเสร็จ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงต่ออายุสัญญาก่อสร้างออกไปทำให้ระยะเวลาที่ต่อออกไปนั้นครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ดังนั้น แม้ว่าการต่ออายุสัญญาดังกล่าวจะทำให้อายุของสัญญายืดออกไป แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงานกัน มิใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จ เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้างกำหนดเบี้ยปรับไว้ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้าจึงถูกจำเลยที่ 1 ปรับ ต่อมาภายหลังโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรีคืนเท่านั้น การคืนค่าปรับให้ ซึ่งจำเลยไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างโจทก์ตามสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโจทก์มาฟ้องเรียกเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างและเงินค่าจ้างขุดคูน้ำโดยอ้างว่าคณะกรรมการควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ขุดเพิ่มขึ้นจากงานตามสัญญาจ้างในวันที่ 29 มิถุนายน 2526เป็นเวลาเกิน 2 ปี นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2524 ซึ่งเป็นวันที่มีการส่งและมอบงานกัน จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน การต่ออายุสัญญาไม่กระทบอายุความ
จำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ระยะเวลาที่ต่ออายุสัญญาครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความเพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงาน หาใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จไม่ เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มี หน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญาถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน แม้มีการต่ออายุสัญญา
โจทก์ทำงานล่าช้าไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญา ได้รับการต่ออายุสัญญา 2 ครั้ง ระยะเวลาที่ต่ออายุดังกล่าวต่างครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย แม้การต่ออายุสัญญาดังกล่าวจะทำให้อายุของสัญญายืดออกไป แต่ก็หาได้มีผลกระทบต่อการนับอายุความ ไม่ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงานกันมิใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จ เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 เกิดจากจำเลย ที่ 1หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้าง กำหนดเบี้ยปรับไว้เมื่อโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้าจึงถูก จำเลยที่ 1 ปรับ ต่อมาภายหลังโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีก แต่ไม่ได้ รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้นการคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้าง โจทก์ตามสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อัน จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างและเงินค่าจ้างขุดคูน้ำโดยอ้างว่าคณะกรรมการควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ ขุดเพิ่มขึ้นจากงานตามสัญญาเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการ ส่งมอบและรับมอบงานกัน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา165(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน ไม่ใช่ทำงานเสร็จ การต่ออายุสัญญาก่อนส่งมอบงานไม่กระทบอายุความ
จำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ ระยะเวลาที่ต่ออายุสัญญาครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงาน หาใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จไม่
เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)
เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลของการรับสภาพหนี้
ร้านสหกรณ์ของโจทก์ดำเนินการโดยคณะกรรมการ ตามสัญญาจ้างได้กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างซึ่งทำหน้าที่ผู้จัดการร้านค้าของโจทก์ไว้ว่า ถ้าโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 จะยอมรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ นอกจากนี้ยังมีข้อบังคับของโจทก์กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการร้านค้าของโจทก์ที่จะต้องตรวจตราดูแลสินค้าของโจทก์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัยอีกด้วย ต่อมาผู้ตรวจบัญชีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ตรวจพบว่าสินค้าของโจทก์ขาดบัญชี คณะกรรมการร้านค้าของโจทก์พิจารณากันในการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 10พฤศจิกายน 2526 แล้วเห็นว่าการตรวจสอบของผู้ตรวจบัญชีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ถูกต้อง ฝ่ายจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้องจะขอให้มีการตรวจสอบใหม่โดยผู้ตรวจบัญชีเอกชนซึ่งจำเลยที่ 1จะจัดหามาเอง ต่อมามีการประชุมอีก 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้พิจารณาถึงปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้จะพึงต้องรับผิดใช้ค่าสินค้าขาดบัญชีเพราะคณะกรรมการร้านค้าของโจทก์ทราบจากสัญญาและข้อบังคับของโจทก์อยู่แล้วตั้งแต่ต้นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้รับผิดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชี ดังนี้จึงต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินค้าขาดบัญชีตั้งแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการร้านค้าของโจทก์ครั้งแรก แต่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2527พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก เอกสารที่โจทก์อ้างว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความสำคัญแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ได้ยอมรับว่ามีสินค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ขาดบัญชีคิดตามราคาทุนเป็นเงิน846,773.97 บาทเท่านั้น หามีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์และยินยอมจะใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีนั้นต่อโจทก์ไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องด้วยทำหนังสือรับสภาพให้ อันจะเป็นเหตุให้อายุความฟ้องคดีของโจทก์สะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับสภาพหนี้ไม่สมบูรณ์ ไม่ทำให้สะดุดอายุความ
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือให้โจทก์มีข้อความสำคัญว่า จำเลยที่ 1ยอมรับว่ามีสินค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1ขาดบัญชีคิดตามราคาทุนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์และยินยอม จะใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีความรับผิดจากสินค้าขาดบัญชี เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด
ร้านสหกรณ์โจทก์ดำเนินการโดยคณะกรรมการได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการร้านมีสัญญาว่าถ้า โจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอม รับผิดชอบต่อมาผู้ตรวจบัญชี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้ตรวจพบว่าสินค้าของโจทก์ ขาดบัญชี คณะกรรมการของโจทก์ได้ประชุมเมื่อวันที่10 พฤศจิกายน 2526 เห็นว่าการตรวจสอบดังกล่าวถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 จะให้ผู้ตรวจบัญชีเอกชนตรวจสอบใหม่ และมีการประชุมคณะกรรมการอีกในวันที่ 4 และ 17 ธันวาคม 2526 โดยการประชุม2 ครั้งหลัง ปัญหาตัวผู้จะต้องรับผิดต่อสินค้าขาดบัญชีหาได้พิจารณากันไม่ แสดงว่าคณะกรรมการของโจทก์ทราบจากสัญญาและข้อบังคับของโจทก์ตั้งแต่ต้น ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดค่าสินค้าที่ขาดบัญชีต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินค้าขาดบัญชีตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17ธันวาคม 2526 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หนังสือของจำเลยที่ 1 มีข้อความยอมรับว่ามีสินค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ขาดบัญชี หาได้มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์และยินยอมจะใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีนั้นต่อโจทก์ไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ หนังสือของ ป. ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 ทำถึงโจทก์มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มอบให้ ป. เป็นตัวแทนในการตกลงประนอมหนี้กับโจทก์ เมื่อเป็นการกล่าวอ้างของ ป. เองโดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 มอบให้ ป. ดำเนินการดังกล่าวจึงรับฟังเอกสารมายันจำเลยที่ 1 ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด และสิทธิของผู้ซื้อเมื่อมีการจำนองก่อนหน้านี้
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลโดยสุจริต แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1330 บัญญัติเพียงว่าสิทธิของผู้ซื้อไม่เสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย มิได้คุ้มครองถึงกับให้ผู้ซื้อได้สิทธิโดยปลอดจากภาระผูกพันใด ๆ หากโจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย การจำนองย่อมติดไปกับที่ดิน โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ โจทก์มีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอแม่จันเบิกความรับรองว่าได้ทำการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์กับจำเลยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2528 แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทฉบับสำนักงานที่ดินและสารบบของที่ดินพิพาทได้สูญหายไปในทะเบียนคุมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินอำเภอแม่จันไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทในวันดังกล่าว นอกจากนี้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินของสำนักงานที่ดินอำเภอแม่จันก็ไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวมีการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท สำหรับสัญญาจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้าง ก็มีเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินอำเภอแม่จันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำสัญญามาเบิกความเป็นพยาน จำเลยยืนยันว่าลายมือชื่อที่ปรากฏในสัญญามิใช่ลายมือชื่อของตน ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์อ้าง ก็เป็นแบบพิมพ์ที่เบิกไปจากสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงรายหลังจากวันที่โจทก์อ้างว่ามีการจดทะเบียนจำนองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามิได้มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่สำนักงานที่ดินอำเภอ ในวันที่โจทก์อ้างการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจำนองที่มิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด สิทธิของผู้ซื้อ และผลของการจำนองที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดของศาลในคดีอื่นโดยสุจริต แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บัญญัติเพียงว่า สิทธิของผู้ซื้อไม่เสียไป แม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย มิได้คุ้มครองถึงกับให้ผู้ซื้อได้สิทธิโดยปลอดจากภาระผูกพันใด ๆ ดังนั้นหากโจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย การจำนองย่อมติดไปกับที่ดิน โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้ ผู้ร้องก็จะไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว แต่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยกระทำขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับจำนองบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินพิพาทได้ ต้องปล่อยที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องไป