พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อ การบอกเลิกสัญญา และสิทธิในการขอคืนรถของผู้ให้เช่าซื้อ
เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อไป โดยจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนผู้ร้อง บอกเลิกสัญญาแล้วนั้น เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าผู้ร้องมาขอรถจักรยานยนต์คืนเพื่อประโยชน์ของจำเลยแล้ว แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อความระบุว่า หากทรัพย์ที่เช่าซื้อถูกริบ ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินที่เหลือจนครบก็ตาม ก็เป็นเงื่อนไขในสัญญาระบุเกี่ยวกับความรับผิดที่ผู้เช่าซื้อมีต่อผู้ให้เช่าซื้อเท่านั้น อันเป็นเงื่อนไขที่กำหนดกันไว้ได้ตามกฎหมายเช่นเงื่อนไขที่ให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะใช้หรือไม่ก็ได้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิดังกล่าว แต่มาขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนนั้น หาถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยอันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5062/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในชั้นศาลและการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าเอกสารที่จำเลยกรอกข้อความขึ้นไม่เกี่ยวกับธนาคาร เป็นแต่เพียงการทำหลักฐานหรือหนังสือเท็จ ไม่เป็นการปลอมเอกสารหรือเอกสารสิทธิดังฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย และที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกับการกระทำในคดีที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีความผิดข้อหายักยอกทรัพย์ ซึ่งผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้ว ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาเช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5062/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและข้อจำกัดในการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสารสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าเอกสารที่จำเลยกรอกข้อความขึ้นไม่เกี่ยวกับธนาคารเป็นแต่เพียงการทำหลักฐานหรือหนังสือเท็จ ไม่เป็นการปลอมเอกสารหรือเอกสารสิทธิดังฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย และที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกับการกระทำในคดีที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีความผิดข้อหายักยอกทรัพย์ ซึ่งผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้ว ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาเช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำผิดฐานรับของโจร ต้องมีการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน การตระเตรียมเพื่อกระทำผิดยังไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับซื้อกระบือของกลางการที่จำเลยที่ 3 อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขณะถูกจับกุมยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ครอบครองกระบือดังกล่าว
หลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับซื้อกระบือของกลางแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ร่วมปรึกษากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่าจะหาเงินให้ผู้ขายอย่างไร เอากระบือไปขายที่ไหนเมื่อขายได้แล้วจะนำกำไรมาแบ่งกันวันต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ไปดูกระบือที่ผูกซ่อนไว้จึงถูกจับกุม ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ลงมือกระทำผิด เป็นเพียงการตระเตรียมที่จะร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้น จึงยังไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร
หลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับซื้อกระบือของกลางแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ร่วมปรึกษากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่าจะหาเงินให้ผู้ขายอย่างไร เอากระบือไปขายที่ไหนเมื่อขายได้แล้วจะนำกำไรมาแบ่งกันวันต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ไปดูกระบือที่ผูกซ่อนไว้จึงถูกจับกุม ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ลงมือกระทำผิด เป็นเพียงการตระเตรียมที่จะร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้น จึงยังไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดฐานรับของโจร: การตระเตรียมไม่ใช่ความผิด
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับซื้อกระบือของกลางการที่จำเลยที่ 3 อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขณะถูกจับกุมยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ครอบครองกระบือดังกล่าว หลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 รับซื้อกระบือของกลางแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ร่วมปรึกษากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่าจะหาเงินให้ผู้ขายอย่างไร เอากระบือไปขายที่ไหนเมื่อขายได้แล้วจะนำกำไรมาแบ่งกันวันต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ไปดูกระบือที่ผูกซ่อนไว้จึงถูกจับกุม ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ลงมือกระทำผิด เป็นเพียงการตระเตรียมที่จะร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้น จึงยังไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุด-รับสภาพหนี้-การชำระหนี้ทายาท-การฟ้องจำเลยร่วม-ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อ
ทนายความจะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความและเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมและเข้าใจผิดถึงสถานที่ที่จะนำส่งจึงไม่ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164
การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164
การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, การรับสภาพหนี้, การชำระหนี้ทายาท, และผลของการทิ้งอุทธรณ์
ทนายความจะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความและเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมและเข้าใจผิดถึงสถานที่ที่จะนำส่งจึงไม่ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4993/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ผลของคำพิพากษาคดีก่อน และการไม่ขาดสิทธิฟ้องภายใน 1 ปี
ประเด็นในคดีก่อนมีว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หรือจำเลย(โจทก์คดีนี้) ครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์ได้ซื้อและครอบครองที่ดินพิพาทจนเป็นเจ้าของแล้วจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นทั้งสองว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเช่นเดียวกันจึงเป็นประเด็นอย่างเดียวกัน ปัญหาว่าโจทก์ไม่ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนการครอบครองหรือถูกแย่งการครอบครองจึงขาดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทนั้นแม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ก็ตามแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ไว้ตั้งแต่ต้น จำเลยเพิ่งเข้าไปครอบครองปลูกต้นมันสำปะหลังในที่ดินพิพาทเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2521 และต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2521 ศาลฎีกาพิพากษาเมื่อปี 2526 การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2522 จึงยังไม่ขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4993/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ผลของคำพิพากษาคดีก่อน และอายุความการฟ้องแย่งการครอบครอง
ประเด็นในคดีก่อนมีว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หรือจำเลย(โจทก์คดีนี้) ครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์ได้ซื้อและครอบครองที่ดินพิพาทจนเป็นเจ้าของแล้วจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ หรือไม่ ซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นทั้งสองว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเช่นเดียวกัน จึงเป็นประเด็นอย่าง เดียวกัน
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนการครอบครองหรือถูกแย่งการครอบครองจึงขาดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทนั้นแม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ก็ตามแต่เป็นปัญหา เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ไว้ตั้งแต่ต้น
จำเลยเพิ่งเข้าไปครอบครองปลูกต้นมันสำปะหลังในที่ดินพิพาทเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2521 และต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2521 ศาลฎีกาพิพากษาเมื่อปี 2526 การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2522 จึงยังไม่ขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแต่อย่างใด.
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนการครอบครองหรือถูกแย่งการครอบครองจึงขาดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทนั้นแม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ก็ตามแต่เป็นปัญหา เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ไว้ตั้งแต่ต้น
จำเลยเพิ่งเข้าไปครอบครองปลูกต้นมันสำปะหลังในที่ดินพิพาทเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2521 และต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2521 ศาลฎีกาพิพากษาเมื่อปี 2526 การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2522 จึงยังไม่ขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4992/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้ค้ำประกัน: ไม่ใช่มูลละเมิด ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 164 (10 ปี)
โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าขายสินค้าของโจทก์ไป มิใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดในค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ซึ่งจะใช้อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 การฟ้องผู้ค้ำประกันเช่นนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นโจทก์มีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.