พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียว ฟ้องซ้ำรับของโจร: สิทธิฟ้องระงับเมื่อรับทรัพย์สินคราวเดียวกันและมีคำพิพากษาแล้ว
แม้จำเลยจะถูกแยกฟ้องในความผิดฐานรับของโจรทรัพย์ของผู้เสียหายหลายคนเป็นหลายสำนวน แต่จำเลยรับทรัพย์สินนั้นไว้คราวเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นหลายสำนวนแต่เมื่อจำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษฐานรับของโจรในคดีก่อนแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการออกหมายจำคุกล่าช้าต่อสิทธิประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ศาลไม่สามารถพิจารณาลดโทษเองได้
ศาลชั้นต้นได้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้มีผลย้อนหลังไปในวันที่คดีถึงที่สุดตามที่จำเลยร้องขอแล้ว ส่วนการที่จำเลยจะได้รับประโยชน์จากการลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2530และพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2531 หรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวที่จะทำการตรวจสอบ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลที่จะพิจารณาลดโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายจำคุกย้อนหลังและการพิจารณาประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ: ศาลมีอำนาจจำกัด
ศาลชั้นต้นได้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้มีผลย้อนหลังไปในวันที่คดีถึงที่สุดตามที่จำเลยร้องขอแล้ว ส่วนการที่จำเลยจะได้รับประโยชน์จากการลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2530 และพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2531 หรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวที่จะทำการตรวจสอบ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลที่จะพิจารณาลดโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่เพียงพอต่อการลงโทษ จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานประกอบ
คำรับของจำเลยต่อ อ. และคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมจะพึงรับฟังได้แต่เพียงเป็นพยานประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ เมื่อคำเบิกความของ ง. พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเห็นจำเลยอุ้มไก่ของผู้เสียหายไป ลำพังแต่คำรับของจำเลยต่อ อ.และคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่เพียงพอต่อการลงโทษ จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานยืนยัน
คำรับของจำเลยต่อ อ. และคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมจะพึงรับฟังได้แต่เพียงเป็นพยานประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ เมื่อคำเบิกความของ ง. พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเห็นจำเลยอุ้มไก่ของผู้เสียหายไป ลำพังแต่คำรับของจำเลยต่อ อ.และคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงผู้อื่นหลังจากการโต้เถียง และผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
จำเลยและโจทก์ร่วมสมัครใจด่าทอซึ่งกันและกันก่อนเกิดเหตุแล้วจำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ากระทำไปเพราะบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอัน ไม่เป็นธรรม
เมื่อคดีก่อนจำเลยกระทำผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530และพ้นโทษไปก่อนแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
เมื่อคดีก่อนจำเลยกระทำผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530และพ้นโทษไปก่อนแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกจากคดีก่อนหน้าและการได้รับประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน
จำเลยและโจทก์ร่วมสมัครใจด่าทอซึ่งกันและกันก่อนเกิดเหตุแล้วจำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ากระทำไปเพราะบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อคดีก่อนจำเลยกระทำผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530และพ้นโทษไปก่อนแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีอาญา โดยคำนึงถึงการล้างมลทิน และพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด
จำเลยกระทำผิดและเคยต้องโทษ ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และพ้นโทษไปก่อนแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าวจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเลี้ยงปลาไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หากไม่มีพระราชกฤษฎีกาขยายความคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 63 บัญญัติว่าหากรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาก็ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นอีก แสดงว่ากฎหมายยังไม่ประสงค์จะคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา ฉะนั้นการที่จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อเลี้ยงปลา ซึ่งไม่ใช่การเช่าที่ดินเพื่อทำนาจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเลี้ยงปลาไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หากไม่มี ร.ก. ออกมาควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 63 บัญญัติว่าหากรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาก็ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นอีก แสดงว่ากฎหมายยังไม่ประสงค์จะคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา ฉะนั้นการที่จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อเลี้ยงปลา ซึ่งไม่ใช่การเช่าที่ดินเพื่อทำนาจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้.