คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสียง ตรีวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวฐานใช้เอกสารราชการปลอม: การติดแผ่นป้ายปลอมทั้งสองชนิดที่รถยนต์คันเดียวกันเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงาน
จำเลยปลอมและใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีปลอมและแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แม้เอกสารปลอมทั้งสองรายการเป็นเอกสารราชการต่างประเภทกัน แต่จำเลยก็ได้ติดไว้ที่รถยนต์คันเดียวกันและใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานในเวลาเดียวกันโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้อง เพื่อจำเลยจะได้ใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารราชการปลอมทั้งสองชนิดเป็นกรรมเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าเสียหายเป็นหนี้เงินกู้: สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญา แล้วถูกศาลชั้นต้นสั่งขายทอดตลาดไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้ให้ไว้โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็น ผู้ทำสัญญาค้ำประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้สัญญากู้ และผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่ง ขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้ และการผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและผลกระทบต่อการแบ่งมรดก รวมถึงอายุความมรดก
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ทำให้ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ
แม้จำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกตลอดมา แต่จำเลยยื่นคำร้องขอรับมรดกของเจ้ามรดกในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกเพื่อรับมรดกไปแบ่งให้แก่ทายาทผู้มีส่วนรับมรดกของเจ้ามรดก เมื่อนายอำเภอได้ทำการสอบสวนจำเลยก็ให้ถ้อยคำว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกรายนี้ให้แก่ทายาทผู้มีส่วนได้เสียทุกคน และหลังจากรับโอนมรดกแล้วจำเลยยังได้โอนบางส่วนของที่ดินพิพาทให้แก่ บ. ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกไป อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บางส่วนของผู้จัดการมรดก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคนด้วย หาใช่ครอบครองเพื่อตนเองแต่ผู้เดียวไม่ ดังนั้นแม้โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแก่โจทก์ทั้งสามเป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่พิพาททั้งสองแปลงเพื่อตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 และไม่อาจยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นใช้ยันโจทก์ทั้งสามผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ทั้งสามไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายจากการอยู่กินฉันสามีภริยา และการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำวินิจฉัยคชก.มีผลผูกพัน-บังคับได้ตามกฎหมาย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามศาลต้องพิพากษาตาม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก. ตำบล) ซึ่งชี้ขาดว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ง. กับจำเลยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ในราคา 65,000 บาท คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วเนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลต่อ คชก. จังหวัด พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 56โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาล และในการพิจารณาของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และตามป.วิ.พ. มาตรา 221 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ คชก. ตำบลมีคำวินิจฉัย และขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายประการใดประการหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติวรรคสุดท้ายแห่ง มาตรา 218 มาใช้บังคับ คือศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้อง จำเลยอาจให้การว่าคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลดังกล่าวขัดต่อกฎหมายได้ แต่คดีนี้จำเลยหาได้ให้การเช่นนั้นไม่ และปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลเป็นคำวินิจฉัยตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศาลย่อมต้องพิพากษาไปตามคำชี้ขาดนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนตัวของนายกเทศมนตรีจากการสั่งการให้ก่อสร้างโดยขัดระเบียบ แม้ไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นแรก
จำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำการตามฟ้องแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 โดยกระทำในฐานะนายกเทศมนตรี จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคแรก ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าจะมีผู้สร้างถนนอุทิศให้เทศบาลแล้วสั่งการให้จำเลยที่ 3 สร้างถนนทางเข้าและถนนรอบตัวอาคารโรงฆ่าสัตว์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และจำเลยที่ 3 ติดต่อสั่งซื้อวัสดุจากโจทก์และให้โจทก์ว่าจ้างรถเกรด รถไถ รถบดถนนมาใช้ในการก่อสร้างถนนโดยขัดกับระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบในส่วนทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ และข้อจำกัดการวินิจฉัยของศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ซึ่งโจทก์นำยึดคือบ้านตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขก ซึ่งมีราคารวมกันไม่เกินสองหมื่นบาทศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง สำหรับตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขกมิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้จึงให้ จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาเกี่ยวกับตู้เย็น โทรทัศน์และชุดรับแขกยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 80