คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสียง ตรีวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด และสิทธิของผู้ซื้อเมื่อมีการจำนองก่อนหน้านี้
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลโดยสุจริต แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1330 บัญญัติเพียงว่าสิทธิของผู้ซื้อไม่เสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย มิได้คุ้มครองถึงกับให้ผู้ซื้อได้สิทธิโดยปลอดจากภาระผูกพันใด ๆ หากโจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย การจำนองย่อมติดไปกับที่ดิน โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ โจทก์มีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอแม่จันเบิกความรับรองว่าได้ทำการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์กับจำเลยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2528 แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทฉบับสำนักงานที่ดินและสารบบของที่ดินพิพาทได้สูญหายไปในทะเบียนคุมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินอำเภอแม่จันไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทในวันดังกล่าว นอกจากนี้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินของสำนักงานที่ดินอำเภอแม่จันก็ไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวมีการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท สำหรับสัญญาจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้าง ก็มีเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินอำเภอแม่จันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำสัญญามาเบิกความเป็นพยาน จำเลยยืนยันว่าลายมือชื่อที่ปรากฏในสัญญามิใช่ลายมือชื่อของตน ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์อ้าง ก็เป็นแบบพิมพ์ที่เบิกไปจากสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงรายหลังจากวันที่โจทก์อ้างว่ามีการจดทะเบียนจำนองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามิได้มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่สำนักงานที่ดินอำเภอ ในวันที่โจทก์อ้างการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจำนองที่มิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับจำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและพิพากษาคดีอาญาโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า "รูปคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ข้าพเจ้าจึงขอรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ เพื่อศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" เป็นการรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตรงตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงให้โจทก์จึงชอบแล้ว
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งเรื่องการลงนามแทนผู้ว่าการว่า ในกรณีที่เป็นเรื่องปกติของฝ่ายการธนาคาร ให้ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารหรือรองผู้อำนวยการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ลงนามแทนผู้ว่าการได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ม.ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้ได้ลงนามในเอกสารแทนผู้ว่าการถึงผู้บังคับการกองปราบปรามร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายกับมอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่ง ล.ก็ได้ร้องทุกข์และลงลายมือชื่อในบันทึกมอบคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว เพราะการร้องทุกข์เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะต้องปฏิบัติ หาใช่เรื่องผิดปกติไม่
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง คดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยมาครบถ้วนพอที่จะพิพากษาคดีไปได้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งมาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามรูปความนั้นได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา240 บัญญัติไว้ในตอนต้น ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการ, การร้องทุกข์ของผู้เสียหาย, และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า "รูปคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงข้าพเจ้าจึงขอรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ เพื่อศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" เป็นการรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตรงตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิบัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงให้โจทก์จึงชอบแล้ว ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งเรื่องการลงนามแทนผู้ว่าการว่า ในกรณีที่เป็นเรื่องปกติของฝ่ายการธนาคาร ให้ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารหรือรองผู้อำนวยการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ลงนามแทนผู้ว่าการได้ ดังนี้เมื่อปรากฏว่า ม. ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้ได้ลงนามในเอกสารแทนผู้ว่าการถึงผู้บังคับการกองปราบปรามร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายกับมอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่ง ล. ก็ได้ร้องทุกข์และลงลายมือชื่อในบันทึกมอบคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว เพราะการร้องทุกข์เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะต้องปฏิบัติ หาใช่เรื่องผิดปกติไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยมาครบถ้วนพอที่จะพิพากษาคดีไปได้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งมาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามรูปความนั้นได้ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 บัญญัติไว้ในตอนต้น ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราโดยมีอาวุธปืน แม้ไม่ได้ใช้ก็มีโทษหนักตามกฎหมาย
การกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก กระทำโดยมีอาวุธปืนแต่มิได้ใช้ก็ดี กระทำโดยมีและใช้อาวุธปืนก็ดีล้วนเป็นความผิดที่ต้องระวางโทษตามวรรคสองทั้งสิ้น ดังนั้นแม้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยมีอาวุธปืนแต่มิได้ใช้อาวุธปืนนั้น จำเลยก็ยังมีความผิดต้องระวางโทษตามที่ ป.อ.มาตรา 276 วรรคสองบัญญัติไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6299/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างสาระสำคัญในฟ้องกับการพิจารณา ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ศาลต้องไม่ลงโทษเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างหรือใช้ผู้มีชื่อให้ฆ่าผู้เสียหาย และผู้มีชื่อนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยว่าจ้าง ร.ไปฆ่าผู้เสียหายแต่ร. ไม่ทำตามที่จำเลยว่าจ้างคนร้ายที่ยิงผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ที่จำเลยว่าจ้าง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย การที่โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ไม่กระทบผลคดีหากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง
คำสั่งของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควร สู่ศาลสูงสุดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว การที่ โจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่ นั้น ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยจึง ไม่เป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงและผลกระทบต่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องที่จำเลยขอให้รับรองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "เห็นว่าคดีนี้มีปัญหาที่ว่าพยานวัตถุอันเป็นพยานเกี่ยวข้องในคดีซึ่งเป็นพยานสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกา จึงอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้" นั้น เป็นคำสั่งที่มิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด จึงเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 221 ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ไม่ได้
ส่วนที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่า นาย ส.ผู้ตาย สามีโจทก์ร่วมมีส่วนในการกระทำผิดด้วย โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้น เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้เสียแล้ว ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงไม่ชอบตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องที่จำเลยขอให้รับรองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า"เห็นว่าคดีนี้มีปัญหาที่ว่าพยานวัตถุอันเป็นพยานเกี่ยวข้องในคดีซึ่งเป็นพยานสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกา จึงอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้" นั้น เป็นคำสั่งที่มิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด จึงเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ไม่ได้ ส่วนที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่า นายส.ผู้ตาย สามีโจทก์ร่วมมีส่วนในการกระทำผิดด้วย โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้น เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้เสียแล้ว ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีนี้เปลี่ยนแปลงไปฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6196/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจัดหางาน: แม้มีการดำเนินการบางส่วน แต่เจตนาหลอกลวงเพื่อรับเงินชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องในฐานความผิดฉ้อโกงมีใจความว่าจำเลยกับพวกรับสมัครคนหางานเพื่อส่งไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน หากบุคคลใดต้องการไปทำงาน และเมื่อเสียค่าบริการให้แก่จำเลยกับพวกแล้วจำเลยกับพวกจะส่งบุคคลนั้นไปทำงานยังประเทศไต้หวันตามที่ต้องการซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกับพวก มิได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย จำเลยกับพวกไม่มีความสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และไม่มีเจตนาที่จะส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวันดังที่จำเลยกับพวกกล่าวอ้าง เช่นนี้คำฟ้องของโจทก์ได้ความโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าจะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศไต้หวันก็เพื่อที่จะได้รับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคแรก จำเลยเป็นผู้ชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน โดยอ้างว่าเคยส่งคนไปทำงานมาแล้ว และเรียกค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย จำเลยรับเงินจากโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายไปแล้วไม่ดำเนินการให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้เดินทางไปทำงานตามที่จำเลยพูดรับรองไว้ ทั้งไม่ยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่ดิน
การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อในคดีส่วนอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นก็สั่งไม่รับอุทธรณ์เฉพาะในคดีส่วนอาญา เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคดีส่วนอาญาจึงถึงที่สุด ดังนั้น ในคดีส่วนแพ่งย่อมต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกับในคดีส่วนอาญา.
of 80