คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสียง ตรีวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกระสุนปืนหลังพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530 และข้อยกเว้นโทษจากการมอบกระสุนปืนให้นายทะเบียน
จำเลยมีกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในความครอบครอง และถูกจับในระยะเวลา 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530ใช้บังคับ อันเป็นระยะเวลาที่จำเลยอาจนำกระสุนปืนดังกล่าวไปมอบแก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 4 วรรคสองหมายความว่า ผู้ที่ถูกจับ ถูกสอบสวนหรือถูกฟ้องอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จะไม่ได้รับประโยชน์จากความในวรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากค่าขึ้นศาลที่ไม่ครบถ้วนและการรับฟ้องเฉพาะส่วน
การที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำคำขึ้นศาลที่ยังขาดในส่วนของดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด
เวลาที่ศาลชั้นต้นสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ศาลย่อมไม่รับฟัองอุทธรณ์ในเรื่องดอกเบี้ยแต่ต้องรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะที่เกี่ยวกับทุนทรัพย์ในต้นเงินที่เสียค่าธรรมเนียมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากค่าขึ้นศาลค้างชำระ และการรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ชำระแล้ว
การที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดในส่วนของดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นสั่งถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลย่อมไม่รับฟ้องอุทธรณ์ในเรื่องดอกเบี้ย แต่ต้องรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะที่เกี่ยวกับทุนทรัพย์ในต้นเงินที่เสียค่าธรรมเนียมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังมีคำพิพากษาไม่ถือเป็นการย้ายทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินซึ่งศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนให้โจทก์ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2นั้น การจำนองมิใช่เป็นการย้ายไปเสีย หรือเป็นการซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: คำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ถูกต้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยความผิด
คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าคำเบิกความเท็จของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร และประเด็นสำคัญแห่งคดีมีว่าอย่างไรจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยตามข้อกล่าวหาของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยในความผิดซึ่งได้ฟ้องโจทก์ฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีฆ่าผู้อื่น
ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนบ้านจำเลยในเวลากลางคืนโดยผู้ตายกอดรัดคอพาพี่สาวจำเลยขึ้นไปเป็นตัวประกัน แล้วผู้ตายเตะทำลายทรัพย์สินต่าง ๆ บนบ้าน จำเลยกับพวกจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปอยู่ในห้องนอนและปิดประตูไว้ ผู้ตายใช้เท้าถีบประตูห้องและร้องบอกให้ทุกคนออกมามิฉะนั้นจะฆ่าให้หมด ผู้ตายถีบประตูหลายครั้งจนประตูเปิดออกและจะเข้าไปทำร้ายจำเลย จำเลยจึงยิงผู้ตายล้มหงายลงกลางบ้านพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตน อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ตายไม่มีอาวุธและได้ความว่าผู้ตายมีอาการมึนเมาสุรามาก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึง 2 นัด จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้เงินสูญหาย ต้องรับผิดทางละเมิด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายการคลังของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของทางราชการ โดยไม่ส่งมอบเงินที่เหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน เพื่อให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่โจทก์ได้จัดไว้ให้ซึ่งมีลูกกุญแจ 3 ดอก แต่กลับนำเข้าเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีลูกกุญแจดอกเดียว ทั้งยังนำลูกกุญแจตู้นิรภัยดังกล่าวไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 เมื่อมีคนร้ายมางัดโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 และนำลูกกุญแจตู้นิรภัยไปไขตู้นิรภัยลักเอาเงินที่เก็บรักษาไว้ไปได้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตรงจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุในเรื่องหัวหน้าส่วนราชการไม่ทักท้วงสั่งการแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินให้ถูกต้องมาเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการจากการเก็บรักษาเงินผิดระเบียบ ทำให้เงินสูญหาย
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายการคลังของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของทางราชการโดยไม่ส่งมอบเงินที่เหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน เพื่อให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่โจทก์ได้จัดไว้ให้ซึ่งมีลูกกุญแจ 3 ดอก แต่กลับนำเข้าเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีลูกกุญแจดอกเดียว ทั้งยังนำลูกกุญแจตู้นิรภัยดังกล่าวไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 เมื่อมีคนร้ายมางัดโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 และนำลูกกุญแจตู้นิรภัยไปไขตู้นิรภัยลักเอาเงินที่เก็บรักษาไว้ไปได้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตรงจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุในเรื่องหัวหน้าส่วนราชการไม่ทักท้วงสั่งการแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินให้ถูกต้องมาเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน, ละเมิดจากการก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์"โดยมีอ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้องโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การรับผิดทางละเมิด และความรับผิดของบริษัทประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" โดยมี อ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ " สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
of 80