พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและวันที่รู้ถึงการละเมิดเป็นสำคัญ
ผู้บัญชาการทหารอากาศมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุและผู้รับผิดชอบพัสดุสูญหายโดยมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าหาผู้รับผิดชอบในทางแพ่งทางอาญาหรือทางวินัย และจากรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการมีความเห็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดทางวินัยฐานบกพร่องต่อหน้าที่ ส่วนความรับผิดทางแพ่งจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งต่อไป คณะกรรมการสอบสวนชุดดังกล่าวจึงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งดังนั้น ยังถือไม่ได้ว่าผู้บัญชาการทหารอากาศผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงตัวผู้พึงจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่สั่งลงทัณฑ์จำเลยทั้งสอง ต่อมาเมื่อผู้บัญชาการทหารอากาศมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่าจำเลยทั้งสอง จะต้องรับผิดในทางแพ่ง แล้วรายงานผลการสอบสวนต่อผู้บัญชาการทหารอากาศและผู้บัญชาการทหารอากาศสั่งการให้จำเลยทั้งสองรับผิดในทางแพ่ง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2523 ดังนี้ ต้องถือว่าผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้แทนโจทก์รู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2524 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4735/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและวันเริ่มนับอายุความ
การที่ผู้แทนโจทก์สั่งลงทัณฑ์จำเลยทั้งสองตามรายงานของคณะกรรมการ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งรายงานไปยังผู้แทนโจทก์ตามลำดับชั้น ผู้แทนโจทก์รับทราบเมื่อวันที่ 18พฤศจิกายน 2523 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 3พฤศจิกายน 2524 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้ใช้เงินได้ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้จะมีการชำระหนี้แล้ว ความผิดต่างกรรมต่างวาระ
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ออกเช็คพิพาทได้ หลังจากโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว ส.ได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้นเป็นกรณีที่ความรับผิดในส่วนแพ่งเกี่ยวกับเช็คพิพาทที่มีต่อโจทก์ระงับไปเท่านั้นคดีอาญาหายกเลิกไปไม่ โจทก์ยังคงเป็นผู้เสียหายในส่วนอาญาอยู่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ออกเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวต่างหากจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาท เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 อาจมีเจตนาใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกกันได้ ความผิดสำหรับเช็คแต่ละฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4630/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง เงื่อนไขการซื้อขาย และการฟ้องแย้งเป็นคดีต่างหาก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อเป็ดไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระราคาจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซื้อเป็ดไปจากโจทก์จริง แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าเป็ดที่ซื้อไปไม่เป็นโรคตายภายใน 5 วัน จำเลยจะชำระราคาเมื่อปรากฏว่าเป็ดที่ซื้อไปตายภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องชำระราคา การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าการซื้อขายเป็ดเป็นการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง กรรมสิทธิ์ในเป็ดย่อมโอนไปยังจำเลยทันที ที่จำเลยต่อสู้ว่า การซื้อขายมีเงื่อนไขฟังไม่ขึ้น ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าการซื้อขายไม่มีเงื่อนไขและเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่แล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อเป็ดไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระราคาจำเลยรับว่าซื้อเป็ดไปจากโจทก์จริง แต่เป็ดเป็นโรคตายหมดภายในกำหนดสัญญา จึงไม่ต้องชำระราคา และฟ้องแย้งว่าเชื้อโรคจากเป็ดโจทก์ติดต่อเป็ดของจำเลยตายไปด้วย ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายดังนี้ ฟ้องแย้งเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความสามารถของจำเลย และอายุความฟ้องแย้งจากการผิดสัญญา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส.กรรมการของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายความโดย ส.เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง, สัญญาจ้างซ่อม, การปฏิบัติผิดสัญญา, การหักลดค่าจ้าง, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 คู่ความ มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและ มีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลย ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความ ของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส. มีกรรมการ ของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้อ. เป็นทนายความโดย ส. เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่อง ความสามารถ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้อง ดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลัง ไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกพร่อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ1 ปี ไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขอทุเลาการบังคับ: ศาลอนุญาตขายทอดตลาดได้แม้มีอุทธรณ์ หากจำเลยมิได้ขอทุเลาการบังคับโดยทำเป็นคำร้อง
เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ก็ได้และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 294 แล้ว จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับคดีและการงดบังคับคดีระหว่างการพิจารณาคดีใหม่และอุทธรณ์
เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างการไต่สวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ก็ได้ และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 294 แล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และ ป.วิ.พ. มาตรา 231 บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และ ป.วิ.พ. มาตรา 231 บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททางละเมิด: การประเมินความรับผิดชอบเมื่อทั้งสองฝ่ายมีส่วนประมาท และการแบ่งความรับผิดชอบตามพฤติการณ์
แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อ จะปกป้องบุคคลอื่น ๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความ เสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของ โจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือ ว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อน กว่ากันเพียงไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยง ความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบ มิให้ ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูง ชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคัน ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่า โจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่า รถยนต์ของโจทก์ ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตราย แก่กาย เนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควร กำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของ จำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททั้งสองฝ่าย แต่จำเลยมีโอกาสหลีกเลี่ยงได้ยังประมาทชน ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายสองในสาม
แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223
แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืน โดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบมิให้ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูงชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคันได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่าโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่ารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของจำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง
แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืน โดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบมิให้ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูงชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคันได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่าโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่ารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของจำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง