พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปี เกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องเป็นธรรมและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปีเกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแรงงานก่อนมีคำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาในส่วนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ 11 ถอนฟ้องไปแล้วก่อนที่จะมีคำพิพากษา ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้แก่โจทก์ที่ 11 ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแรงงานก่อนมีคำพิพากษา ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีในส่วนที่ถอนฟ้องไปแล้ว
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ ๑๑ ถอนฟ้องไปแล้วก่อนที่จะ มีคำพิพากษา ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่าย ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุด ประจำสัปดาห์ให้แก่โจทก์ที่ ๑๑ ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ.(ที่มา- เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพฯ และเขตอำนาจศาลเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองได้กำหนดไว้ด้วยว่า ให้เสนอคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวต่อศาลในกรุงเทพมหานคร และเมื่อขณะทำสัญญานั้นโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรณีย่อมพึงเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยทั้งสองได้ว่า ศาลในกรุงเทพมหานครที่ระบุในสัญญาให้เสนอคดีนั้นก็คือศาลแพ่งนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลเฉพาะ และเขตอำนาจศาลที่คู่ความมีภูมิลำเนา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7(4) ศาลที่คู่กรณีพึงตกลงกันให้ฟ้องคดีจะต้องเป็นศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือมูลคดีเรื่องนั้นได้เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินที่พิพาทกันนั้นตั้งอยู่ในเขตศาลอย่างใดอย่างหนึ่ง คดีนี้โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันและตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ให้เสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพมหานคร เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และขณะที่ทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ภูมิลำเนาของโจทก์ขณะทำสัญญาจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง กรณีพึงเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยที่ระบุในสัญญาว่าให้เสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพมหานครก็คือศาลแพ่งนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเช่าที่ดินจากการปรับสภาพพื้นที่โดยการลงลูกรัง ทำให้ที่ดินเสียหาย โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
ระหว่างพิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งตามสัญญามีเงื่อนไขว่า โจทก์ยอมให้จำเลยใช้ที่ดินของโจทก์ปลูกกล้วยไม้และพืชล้มลุกอายุไม่เกิน 6 ปีมีกำหนด 6 ปี แต่ต้องไม่ทำให้สภาพเนื้อที่ดินของโจทก์ได้รับอันตราย ครบกำหนดแล้วจำเลยจะขนย้ายสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกไปถ้าจำเลยผิดสัญญาก็ให้บังคับคดีได้ทันทีนั้น. การที่จำเลยนำลูกรังไปลงทำเป็นถนนในที่พิพาทมีความกว้างประมาณ 3.50เมตร ยาวประมาณ 120 เมตร และเกลื่อนร่องสวนของโจทก์ลงกว้างประมาณ 80 เมตร ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าทำให้สภาพเนื้อที่ดินของโจทก์ได้รับอันตรายคือเปลี่ยนสภาพไปจากที่ดินเดิมจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไปได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: มาตรา 36 ว.ส.ก. การถอนฟ้องมีผลทำให้คดีเสร็จสิ้น
โจทก์เคยนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา แล้วขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าฟ้องบกพร่องขอถอนเพื่อจะนำไปดำเนินคดีใหม่ เมื่อศาลอนุญาตก็ต้องถือว่าเป็นการถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งเรื่อง โจทก์จะนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วนำฟ้องใหม่ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 แม้จะอ้างเหตุฟ้องบกพร่อง
โจทก์เคยนำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งให้ประทับฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง อ้างว่าฟ้องบกพร่อง ขอถอนเพื่อดำเนินการใหม่ ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้โจทก์จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกาย: การกระทำไม่ร้ายแรงจนถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างก่อการวิวาท ทำร้ายร่างกาย พูดหยาบ ตลอดจนส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่จำเป็นก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าการฝ่าฝืนจะถือเป็นกรณีร้ายแรงประการใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยชกต่อยลูกจ้างด้วยกัน ก็เนื่องจากคู่กรณีพูดให้ของลับโจทก์ก่อน และไม่ปรากฏว่าคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นกรณีร้ายแรง ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้.