คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสียง ตรีวิมล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อความรับผิดของคู่กรณีในคดีละเมิด
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดแก่โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อไว้ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จึงถือว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยทำไว้กับโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยย่อมยังไม่ระงับไป เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้จ่ายค่าซ่อมรถที่เอาประกันภัยไว้แทนโจทก์ที่ 2 ไปแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยได้ตามจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไปแล้วย่อมทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1ระงับไปด้วยโจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 และเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ โจทก์ที่ 1 คงรับช่วงสิทธิโจทก์ที่ 2 เรียกร้องได้เฉพาะจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับมูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้เอาประกัน
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์ที่ 2 เสียหายแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลละเมิดและทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างระงับไปด้วย
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2 ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างโดยไม่นับอายุงานต่อเนื่อง ถือเป็นการเลิกจ้าง
บริษัทจำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงจัดการโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำไปเป็นลูกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.โดยโจทก์ต้องไปเขียนใบสมัครงานใหม่กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ.แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนับเวลาทำงานติดต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดศ.รับโอนการจ้างโจทก์จากบริษัทจำเลย กรณีดังนี้ ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการโอนย้ายลูกจ้าง กรณีไม่มีการนับต่อเนื่องอายุงาน ถือเป็นการเลิกจ้าง
บริษัทจำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงจัดการโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำไปเป็นลูกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. โดยโจทก์ต้องไปเขียนใบสมัครงานใหม่กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนับเวลาทำงานติดต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. รับโอนการจ้างโจทก์จากบริษัทจำเลย กรณีดังนี้ ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
คดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา หากผู้พิพากษาที่อนุญาตให้ฎีกา มิได้เป็นผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา หากผู้พิพากษาที่อนุญาตให้ฎีกา มิได้เป็นผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาทดลองงานและข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกค้าประจำรายวันทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานขับรถ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวทดลองปฏิบัติงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การครอบครองและเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375วรรคสองมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: สิทธิของสมาชิกนิคมมีลำดับก่อน แม้มีการครอบครองก่อนโดยผู้อื่น
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังศาลตัดสินสิทธิในที่ดิน: การครอบครองต่อเนื่องไม่สร้างสิทธิใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และคดีถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยคงยึดถือที่นาพิพาทสืบเนื่องต่อมาเท่านั้น ไม่มีพฤติการณ์ใดขึ้นใหม่อันจะแสดงว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่นาพิพาท จึงจะนำระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 กำหนด 1 ปี มาบังคับแก่โจทก์มิได้
โจทก์ขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา แม้จำเลยได้ฟ้องโจทก์ขอแสดงสิทธิครอบครองนาพิพาทเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างพิจารณา แต่เมื่อเป็นการครอบครองภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วซึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่จำเลย จำเลยจึงจะขอให้งดการบังคับคดีไว้ไม่ได้
of 80