พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องจากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1ได้ผิดนัดแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้นดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน 196,186.28บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน เมื่อมีการหักชำระหนี้จากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิด ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน196,186.28 บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3914/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการยืนยันภูมิลำเนาจำเลย
พนักงานเดินหมายได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยทั้งสามตามภูมิลำเนาในคำฟ้องแล้ว ไม่พบจำเลยทั้งสาม บ้านปิดประตูใส่กุญแจ ไม่มีผู้ใดทราบว่าคนในบ้านออกไปที่ใด จึงส่งไม่ได้ ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสาม ณ ภูมิลำเนาตามฟ้องอีกครั้ง หากส่งไม่ได้ขอให้ปิดหมายและสำเนาคำฟ้อง โดยโจทก์แนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนประกอบข้ออ้าง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่า "หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1 นายทะเบียนระบุว่าบริษัทจำเลยที่ 1 นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตามความในมาตรา 1246 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสามไม่มีภูมิลำเนาตามฟ้อง ให้โจทก์ยืนยันหลักฐานภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสามใหม่ภายใน 15 วัน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้รอไว้ก่อน" คำสั่งดังกล่าวเป็นการกำหนดกระบวณพิจารณาอย่างหนึ่งของศาล เมื่อทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในคำแถลงซึ่งมีหมายเหตุไว้ด้วยว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว ย่อมถือได้ว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนั้นแล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องส่งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบซ้ำอีก ดังนั้นการที่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการตามกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป .วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอภารจำยอมไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากข้ออ้างต่างจากคดีเช่าเดิม แม้มีประเด็นที่ดินทับซ้อน
ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์นั้นศาลพิพากษาวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินของจำเลยส่วนที่อาคารโจทก์ปลูกรุกล้ำโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่าจึงมีผลใช้บังคับได้เพียง3 ปี และพ้นกำหนด 3 ปี แล้ว โจทก์จึงต้องออกจากที่ดินพิพาทแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าโจทก์ได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทโดยสุจริตและได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยตลอดมา ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอม ข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามฟ้องโจทก์มุ่งไปที่เรื่องการสร้างโรงเรือนลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต และได้ภารจำยอมโดยโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนและมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลย จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนซึ่งเป็นเรื่องเช่าทรัพย์และกรณีนี้ มิใช่เรื่องที่เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันหรือติดต่อกันมาจากเรื่องเช่าทรัพย์ซึ่งโจทก์จะต้องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้เสียในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องภาระจำยอมหลังคดีเช่าถึงที่สุด ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เหตุต่างกันในมูลฐาน
เดิมโจทก์และนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ต่อมาได้แบ่งแยกเป็นสองโฉนด มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ล้ำเข้าไปในที่ดินของนาง ล. ต่อมานาง ล.ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้นาย ฮ. นาย ฮ.ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินที่รุกล้ำ โจทก์ยอมรับว่าที่ดินเป็นของนาย ฮ. ตกลงเช่าที่ดินพิพาทเป็นเวลา 5 ปี แต่ไม่จดทะเบียนการเช่า เมื่อนาย ฮ.ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยทางมรดก จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าไม่จดทะเบียนมีผลเพียง 3 ปี ในคดีดังกล่าวโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเฉพาะประเด็นที่ว่าสัญญาเช่าบังคับกันได้ 3 ปีหรือ 5 ปี คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าบังคับได้ 3 ปี พ้นกำหนดแล้ว ให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าได้ปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต และได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยตลอดมา ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอม ข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์คดีนี้มุ่งไปที่เรื่องปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตและได้ภาระจำยอมโดยโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนและมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนซึ่งเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ และกรณีนี้มิใช่เรื่องที่เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันหรือติดต่อกันจากเรื่องเช่าทรัพย์ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้เสียในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการฯ ทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่ตนเองเป็นหุ้นส่วน ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียหากราคาต่ำกว่างบประมาณและถูกต้องตามระเบียบ
ผู้ที่จะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายกเทศมนตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของเทศบาลโดยตรงและเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดช.ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายกับห้างหุ้นส่วนจำกัดช. เมื่อเทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะนายกเทศมนตรีไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่น จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คู่สัญญาจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่ตนเองเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์ตนเอง หากการจัดซื้อเป็นไปตามระเบียบและราคาต่ำกว่างบประมาณ
ผู้ที่จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น เมื่อปรากฏว่าในการจัดซื้อดินถมพร้อมบดอัดแน่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นั้น เทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าการจัดซื้อดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์ของเทศบาลเป็นสำคัญ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ก็ตามกรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 152 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานจัดซื้อย่อมไม่มีความผิดฐานมีส่วนได้เสีย หากการจัดซื้อเป็นไปตามระเบียบและเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ
ผู้ที่จะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น เมื่อปรากฏว่าในการจัดซื้อดินถมพร้อมบดอัดแน่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.นั้น เทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าการจัดซื้อดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่นนอกจากประโยชน์ของเทศบาลเป็นสำคัญ แม้จำเลยที่ 1จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ตาม กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 152 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่มีส่วนได้เสีย: ไม่ผิด ม.152 หากราคาต่ำกว่างบประมาณและดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ
จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายกเทศมนตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของเทศบาลโดยตรงและเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. เมื่อเทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการละเว้นการนำเช็คของบริษัทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและบันทึกรายได้ ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
ลูกค้าจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองเช็คในฐานะกรรมการของบริษัทมีหน้าที่ต้องนำเช็คเข้าบัญชีของบริษัทเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็ค แต่จำเลยไม่นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและไม่นำเงินมาลงบัญชีเป็นรายได้ของบริษัทเพื่อลวงให้บริษัทและผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้จึงมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัดสมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)