พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้: หน้าที่การพิสูจน์ของโจทก์, เงินได้พึงประเมิน, และข้อยกเว้นภาษี
โจทก์บรรยายฟ้อง ความว่า หนังสือแจ้งภาษีเงินได้ตามเอกสารหมายเลข 1 ถึง 5 ท้ายฟ้อง ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง เพราะมีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปะปนอยู่ โจทก์ได้อ้างประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ถึงมาตรา 47 และอ้างรายการประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ (ก) ถึง (ฌ) แม้โจทก์จะมิได้กล่าวว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นประเภทใด มีจำนวนเท่าใด ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2 แล้ว การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีเงินได้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยประเมินมานั้นมิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือแม้เป็นเงินได้พึงประเมินก็ได้รับยกเว้นภาษี ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องพิสูจน์ว่า เงินจำนวนนั้น ๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเหตุใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เงินจำนวนนั้น ๆ มิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีนั่นเอง
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่เรียกกันว่าค่าพาหนะ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าเงินนี้เข้าลักษณะเงินค่าพาหนะตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1) หาใช่หน้าที่จำเลยที่จะต้องนำสืบไม่
เงินที่โจทก์ได้รับในชื่อค่าพาหนะจำนวน 295,500 บาท โดยจำนวน วิธีการจ่ายและพฤติการณ์ที่แท้จริง มีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 หาเข้าลักษณะค่าพาหนะซึ่งโจทก์ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของโจทก์และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามมาตรา 42 (1) ไม่ ฉะนั้น เงินจำนวน 295,500 บาทนี้ จำเลยจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของโจทก์
โจทก์ได้หุ้นซึ่งเรียกกันว่าหุ้นฟรีรวมเป็นเงิน 341,250 บาทมา เพราะโจทก์ทำงานให้ ส. ส. จึงให้หุ้นตอบแทน เห็นได้ว่าโจทก์ได้หุ้นมาเป็นประโยชน์ตอบแทนกับการที่โจทก์ได้ทำงานให้แก่ผู้ให้ ประโยชน์นั้นมีมูลค่าเป็นเงิน จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาตามความในมาตรา 40 (2) (8) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ว่าโจทก์ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาของผู้ให้หุ้นแก่โจทก์ไม่ กรณีหุ้นที่เรียกว่าหุ้นฟรีจึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
โจทก์ได้รับเช็คมาโดยตรงจากบริษัท ส. มิใช่บริษัท ส.จ่ายให้บุคคลอื่นแล้วบุคคลนั้นมอบให้โจทก์อีกต่อหนึ่งเพื่อให้โจทก์ทำธุระแทน เงิน 150,000 บาทตามเช็คจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่พ่อค้าให้เงินจำนวนมากแก่ข้าราชการ แม้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ จะถือว่าเป็นการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้หรือไม่นั้น กรณีอย่างนี้ยากที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ การณ์ย่อมแล้วแต่คติร่วมกันของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ฉะนั้น เช็ค 4 ฉบับ จำนวนเงิน 70,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่จากบริษัท ส. ก. จึงเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เพราะเป็๋นเงินที่ได้จากการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการและพยานมาให้การไต่สวน ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะไต่สวนหรือไม่ หาได้บัญญัติบังคับเจ้าพนักงานประเมินให้จำต้องกระทำไม่
เช็คฝากธนาคารซึ่งบริษัท ก.สั่งจ่ายให้โจทก์ ที่จำเลยนำไปคำนวณภาษีเงินได้นั้น เป็นเงินทดรองจากเงินส่วนตัวของโจทก์เองที่โจทก์ได้รับคืนมา หาใช่เงินได้พึงประเมินไม่
โจทก์ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีเงินได้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยประเมินมานั้นมิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือแม้เป็นเงินได้พึงประเมินก็ได้รับยกเว้นภาษี ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องพิสูจน์ว่า เงินจำนวนนั้น ๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเหตุใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เงินจำนวนนั้น ๆ มิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีนั่นเอง
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่เรียกกันว่าค่าพาหนะ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าเงินนี้เข้าลักษณะเงินค่าพาหนะตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1) หาใช่หน้าที่จำเลยที่จะต้องนำสืบไม่
เงินที่โจทก์ได้รับในชื่อค่าพาหนะจำนวน 295,500 บาท โดยจำนวน วิธีการจ่ายและพฤติการณ์ที่แท้จริง มีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 หาเข้าลักษณะค่าพาหนะซึ่งโจทก์ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของโจทก์และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามมาตรา 42 (1) ไม่ ฉะนั้น เงินจำนวน 295,500 บาทนี้ จำเลยจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของโจทก์
โจทก์ได้หุ้นซึ่งเรียกกันว่าหุ้นฟรีรวมเป็นเงิน 341,250 บาทมา เพราะโจทก์ทำงานให้ ส. ส. จึงให้หุ้นตอบแทน เห็นได้ว่าโจทก์ได้หุ้นมาเป็นประโยชน์ตอบแทนกับการที่โจทก์ได้ทำงานให้แก่ผู้ให้ ประโยชน์นั้นมีมูลค่าเป็นเงิน จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาตามความในมาตรา 40 (2) (8) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ว่าโจทก์ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาของผู้ให้หุ้นแก่โจทก์ไม่ กรณีหุ้นที่เรียกว่าหุ้นฟรีจึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
โจทก์ได้รับเช็คมาโดยตรงจากบริษัท ส. มิใช่บริษัท ส.จ่ายให้บุคคลอื่นแล้วบุคคลนั้นมอบให้โจทก์อีกต่อหนึ่งเพื่อให้โจทก์ทำธุระแทน เงิน 150,000 บาทตามเช็คจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่พ่อค้าให้เงินจำนวนมากแก่ข้าราชการ แม้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ จะถือว่าเป็นการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้หรือไม่นั้น กรณีอย่างนี้ยากที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ การณ์ย่อมแล้วแต่คติร่วมกันของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ฉะนั้น เช็ค 4 ฉบับ จำนวนเงิน 70,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่จากบริษัท ส. ก. จึงเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เพราะเป็๋นเงินที่ได้จากการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการและพยานมาให้การไต่สวน ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะไต่สวนหรือไม่ หาได้บัญญัติบังคับเจ้าพนักงานประเมินให้จำต้องกระทำไม่
เช็คฝากธนาคารซึ่งบริษัท ก.สั่งจ่ายให้โจทก์ ที่จำเลยนำไปคำนวณภาษีเงินได้นั้น เป็นเงินทดรองจากเงินส่วนตัวของโจทก์เองที่โจทก์ได้รับคืนมา หาใช่เงินได้พึงประเมินไม่