คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 222 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หากเกิดความเสียหายจากการถูกหลอกลวง ธนาคารต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายบางส่วน
จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ และให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับการเงิน รับฝากเงิน และให้บริการการใช้หรือโอนเงินทาง xxx application online ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ จึงเป็นผู้รับฝากซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม ปรากฏว่า ระหว่างเวลา 23.41 นาฬิกา ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึงเวลา 2.01 นาฬิกา ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี รวม 12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท การโอนเงินที่เป็นการโอนจำนวนย่อยหลายครั้งติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกันในเวลากลางคืน จากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่นโดยเป็นบัญชีเดียวกันหรือชื่อบัญชีเดียวกัน ย่อมเป็นพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะต้องทราบถึงวิธีการดังกล่าวและย่อมสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกติและอาจเป็นการกระทำของมิจฉาชีพผู้ประกอบอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการกระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวด้วย การที่จำเลยแจ้งเตือนให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการต่าง ๆ ระมัดระวังอีเมลหลอกลวงจากมิจฉาชีพหรือที่เรียกว่า Phishing Email มาตลอด โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า "แจ้งเตือน กรุณาอย่าหลงเชื่ออีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ xxx ไม่มีนโยบายในการส่งอีเมลใด ๆ เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูล ชื่อผู้ใช้งาน Password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยเด็ดขาด" และ "แจ้งเตือนโปรดระวังอีเมลแอบอ้าง (Phishing Email) ว่าเป็นอีเมลจากธนาคารหลอกลวงให้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ปลอมเพื่อความปลอดภัยกรุณาพิมพ์ www.xxx.com" ตามเว็บไซต์ของจำเลยในการเข้าระบบ ลูกค้าต้องใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ลูกค้าสมัครไว้กับธนาคารเข้าสู่ระบบและต้องใส่รหัสโอทีพี (OTP หรือ One Time Password) ที่ระบบธนาคารส่งให้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าเพื่อยืนยันการทำธุรกรรมอีกขั้นตอนหนึ่งจึงจะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชีของตนได้ มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการป้องกันความเสียหายแก่การทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้ลูกค้าที่ใช้บริการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงเพื่อให้ส่งมอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้เพื่อนำไปใช้กระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบซึ่งเป็นข้อควรระวังในด้านของลูกค้า แต่มาตรฐานของจำเลยในการป้องกันการโอนเงินที่เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบดังกล่าวควรจะมีอยู่อย่างไร จำเลยควรจะป้องกันหรือระงับยับยั้งการโอนเงินที่มีความผิดปกติดังกล่าวเมื่อมีการโอนเงินผ่านไปแล้วกี่ครั้ง และเหตุใดพนักงานของจำเลยเพิ่งจะโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินดังกล่าวครั้งที่ 12 และโอนเงินไปรวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท แล้ว ซึ่งมาตรการในการป้องกันความเสียหายที่เหมาะสมหรือสมควรดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นของจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ในส่วนนี้ แต่จำเลยกลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีมาตรการในการป้องกันหากเกิดการโอนเงินหรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบในส่วนนี้เลยและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีมาตรการในการป้องกันความเสียหายในส่วนนี้อย่างเพียงพอ แม้ในการโอนเงินจำเลยได้มีข้อความแจ้งเตือนไปยังโจทก์ทุกครั้งที่ทำการโอนเงินรวม 12 ครั้ง และพนักงานของจำเลยได้โทรศัพท์ไปหาโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินครั้งที่ 12 แล้ว มาตรการดังกล่าวถือว่าไม่เพียงพอต่อการป้องกันการโอนเงินหรือการทำรายการหรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบ นอกจากนี้ได้ความว่าโจทก์มิใช่รายแรกที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้และมีอีกหลายรายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบถึงพฤติกรรมการหลอกลวงและวิธีการโอนเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวเช่นเดียวกับคดีนี้มาก่อนทั้งเหตุเกิดซ้ำ ๆ กับลูกค้าจำนวนมาก จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะและในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมระบบมีความสามารถในการตรวจสอบหรือทราบถึงความผิดปกติในการทำรายการต่าง ๆ ได้แต่เพียงฝ่ายเดียวยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังและหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายดังเช่นที่เกิดในคดีนี้อีก หาใช่ว่าหากมีการกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่สามารถยืนยันตัวตนได้แล้วบุคคลดังกล่าวจะสามารถดำเนินการธุรกรรมอย่างใดก็ได้โดยจำเลยไม่มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้มีการโอนเงินที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการ ค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้รับอีเมลที่ไม่ได้มาจากจำเลยและมีข้อความเชื่อมโยงหรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เลียนแบบเว็บไซต์ธนาคารจำเลย และโจทก์กรอกชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ในเว็บไซต์ดังกล่าว ทำให้มีคนร้ายทราบถึงชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ของโจทก์ และนำไปใช้สมัคร xxx App ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโจทก์ยังได้กรอกหมายเลขโอทีพี (OTP หรือ One Time password) ในเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถสมัครใช้บริการ xxx App ได้สำเร็จและเกิดการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีอื่น โจทก์เป็นผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก่อนเกิดเหตุเป็นเวลากว่า 10 ปี ทั้งตามใบแจ้งรายการบัญชีออมทรัพย์โจทก์ก็ได้ทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง โจทก์ย่อมมีความเข้าใจในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดังกล่าวและย่อมทราบถึงคำเตือนของจำเลยตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ของจำเลย โจทก์จึงควรมีความระมัดระวังในการตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมดังกล่าวมากกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วย พฤติกรรมของโจทก์และจำเลยจึงถือว่ามีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในคดีนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันและเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 550,000 บาท เมื่อค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเป็นหนี้เงินหากชำระล่าช้าย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งค่าเสียหายของหนี้เงินตามปกติย่อมคิดกันในรูปของดอกเบี้ย จึงเห็นควรกำหนดให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โดยควรให้ในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผิดนัด: จำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากสินค้าที่โจทก์ต้องขายราคาต่ำกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายขดม้วนโลหะรีดร้อนกับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ปริมาณ 10,000 เมตริกตัน ในราคา 2,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ กำหนดส่งสินค้าทางเรือในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2543 เป็นอย่างช้า ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2543 โจทก์ขนสินค้าเข้ามาในประเทศไทยพร้อมที่จะส่งมอบ วันที่ 7 กันยายน 2543 จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ว่า จำเลยทั้งสองประสบปัญหาทางการเงิน ขอเลื่อนการชำระเงินรวมทั้งบอกปัดในทำนองที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาด้วยการแจ้งให้โจทก์นำสินค้าไปขายให้แก่บุคคลอื่นก่อน โจทก์จึงขายสินค้าให้แก่บุคคลอื่นไปเพื่อบรรเทาความเสียหายได้เงินทั้งสิ้น 1,886,880 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้โจทก์ขาดทุน 413,120 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย คำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 แล้ว ไม่ได้เคลือบคลุมดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจัดทำเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขาย หาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายพิพาทกันไว้ สัญญาซื้อขายพิพาทจึงผูกพันคู่สัญญาและมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันทำสัญญา การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายพิพาทมีผลใช้บังคับได้นับแต่วันเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายพิพาทด้วยการทำตั๋วแลกเงินและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายพิพาท
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายพิพาทโดยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ต้องขายสินค้าพิพาทให้แก่ผู้อื่นในราคาต่ำกว่าราคาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินที่โจทก์ควรจะได้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าว
ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ ส. ได้ความว่า พยานดังกล่าวทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย มีหน้าที่ติดต่อขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย พยานดังกล่าวให้การตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นในเรื่องการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง การผิดสัญญาซื้อขายพิพาทของจำเลยทั้งสอง และความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การผิดสัญญาซื้อขายพิพาท พยานดังกล่าวเป็นผู้ที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้การเป็นพยานโดยตรงจึงหาต้องห้ามมิให้รับฟังตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 เห็นว่า เอกสารที่โจทก์อ้างส่งส่วนใหญ่เป็นต้นฉบับเอกสาร ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้คัดค้านสำเนาเอกสารฉบับใดของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างใด คงมีเพียงทนายจำเลยที่ 1 แถลงต่อศาลว่าเอกสารหมาย จ. 20 ที่โจทก์นำส่งเป็นเพียงสำเนาเอกสารเท่านั้น เมื่อเอกสารหมาย จ. 20
ซึ่งมีถึง 63 แผ่นมีทั้งที่เป็นต้นฉบับและสำเนา ทั้งเป็นเอกสารเกี่ยวกับค่าขนส่ง ค่าตรวจสอบสินค้า ค่านายหน้าและค่าระวางเรือ ซึ่งศาลมิได้นำเอกสารดังมากล่าวพิจารณาในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8103/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายและดอกเบี้ยผิดนัด: จำเลยร่วมรับผิดชำระราคาทรัพย์และดอกเบี้ย
การเรียกให้จำเลยส่งมอบทรัพย์คืน หากไม่คืนให้ชำระราคาให้แก่โจทก์นั้น ราคาทรัพย์ที่ใช้แทนดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และโจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์จำนวนเงินที่ขาดประโยชน์จากการไม่จดทะเบียน
การฟ้องให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้อง ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินที่ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันนี้เป็นเงินที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้เป็นของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย ถือเป็นการเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา แม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าว โจทก์ผู้กล่าวอ้างก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ และศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควรดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 280,000 บาท จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ราคาที่ดินขณะฟ้องเป็นเกณฑ์ ศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายตามสมควร
ราคาที่ดินขณะฟ้องส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนเงินค่าเสียหายและศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควร โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยเมื่อปี2528ในราคา105,000บาทแต่จำเลยผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จึงขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้หากไม่อาจจดทะเบียนโอนให้ได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้อง(ปี2533)เป็นเงิน420,000บาทดังนั้นการที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน280,000บาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลมีอำนาจกำหนดตามส่วนต่างราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น
การฟ้องให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้องส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินที่ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันนี้เป็นเงินที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้เป็นของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายถือเป็นการเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาแม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ผู้กล่าวอ้างก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายของโจทก์และศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควรดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน280,000บาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการขายรถเช่าซื้อได้ราคาต่ำกว่าสัญญา ไม่ขาดอายุความ และโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง
สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กำหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฎิบัติต่อกันหากฝ่ายใดปฎิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายฝ่ายที่ปฎิบัติผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การผิดสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคหนึ่งดังนั้นแม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จะไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดว่าหากนำรถที่เช่าซื้อออกขายไม่ได้ราคาเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดก็ตามแต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุให้จำเลยที่1ต้องรับผิดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายต่างๆเมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อและนำเงินที่ได้มารวมกับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่1ชำระให้โจทก์แล้วก็ยังต่ำกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเช่าซื้อย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับและกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฎิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไปเช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายแต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญาซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164เดิมที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้คดีจึงไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยที่2ฎีกาว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่2มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและการบังคับสิทธิเรียกร้องนอกเหนืออายุความที่กำหนด
สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กำหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อกัน หากฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การผิดสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดว่า หากนำรถที่เช่าซื้อออกขายไม่ได้ราคาเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดก็ตามแต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายต่าง ๆ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วย การที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อและนำเงินที่ได้มารวมกับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์แล้ว ก็ยังต่ำกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเช่าซื้อ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับและกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป เช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลาย แต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญา ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผูกพันการรับราชการหลังศึกษาต่อ: การชดใช้ค่าเสียหายเมื่อไม่ครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากับโจทก์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการกับโจทก์รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้ลาไปศึกษา จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี รวมเวลาสองเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการอยู่กับโจทก์เป็นเวลา 6 ปี แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับราชการอยู่กับโจทก์เพียง 2 ปี 4 เดือน ก็ลาออกจากราชการไปซึ่งไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ไปรับราชการในหน่วยงานอื่นโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร แม้หน่วยงานนั้นจะรับไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ให้ไปรับราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญาและจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ทุนแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215ประกอบมาตรา 222 วรรคหนึ่ง, มาตรา 368
หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1 ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การผิดสัญญาและการบรรเทาค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากับโจทก์ซึ่งมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการกับโจทก์รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้ลาไปศึกษา จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา3 ปี รวมเวลาสองเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการอยู่กับโจทก์เป็นเวลา 6 ปี แต่เมื่อจำเลยที่ 1สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับราชการอยู่กับโจทก์เพียง 2 ปี4 เดือน ก็ลาออกจากราชการไปซึ่งไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ไปรับราชการในหน่วยงานอื่นโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร แม้หน่วยงานนั้นจะรับไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ให้ไปรับราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญาและจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ทุนแล้วหาได้ไม่จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 222วรรคหนึ่ง, มาตรา 368 หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่งอันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383
of 2