คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสงี่ยม ทวีชัยการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี การถอนฟ้องทำให้จำเลยที่ 2 พ้นสภาพ
ก่อนโจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโจทก์ได้ขอถอน ฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้จำหน่ายคดีเฉพาะ จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไปสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 2 กระทำกับโจทก์ถือไม่ได้ว่าได้กระทำในฐานะคู่ความแห่งคดี คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง ศาลจะออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 หาได้ไม่ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้: การเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อยอดหนี้ถึงวงเงินจำนอง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน400,000 บาทในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนองต่อดอกเบี้ยทบต้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน 400,000 บาท ในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบมูลหนี้เดิมและการแปลงหนี้ใหม่ โดยไม่ขัดต่อคำฟ้อง และการรับฟังพยานหลักฐานจากคำรับของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่าเดิมสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรมจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดีโดยแนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง เมื่อคำให้การและทางนำสืบจำเลยยอมรับว่าได้ทำหนังสือสัญญากู้ฉบับพิพาทไว้ให้โจทก์จริง ดังนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ตามฟ้อง กรณีไม่จำต้องยกเอกสารสัญญากู้ฉบับพิพาทขึ้นวินิจฉัย โจทก์จึงไม่จำต้องเสียค่าอ้างเอกสารสัญญากู้ฉบับพิพาทดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญากู้ยืมหลังการระงับหนี้เดิม การนำสืบไม่แตกต่างฟ้อง และการรับสภาพของจำเลย
การที่โจทก์นำสืบถึงมูลหนี้เดิมว่าสามีจำเลยกู้เงินโจทก์30,000 บาท จำเลยรู้เห็น เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ฉบับพิพาทให้โจทก์ไว้และรับว่าจะชำระเงินตามสัญญากู้โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญากู้นั้นได้ โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องถึงมูลหนี้เดิมซึ่งระงับแล้วไว้ เพราะจำเลยทำสัญญากู้และยอมผูกพันตนชำระหนี้แทนสามี การนำสืบของโจทก์ถึงมูลหนี้เดิมหาเป็นการแตกต่างจากคำฟ้องไม่ ทั้งการที่ศาลล่างฟังว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ก็มิใช่เป็นเรื่องนอกสำนวน โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสารสัญญากู้แต่โจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง จำเลยก็รับว่าเป็นผู้ทำสัญญากู้ฉบับพิพาทให้โจทก์ไว้จริง ฉะนั้นกรณีจึงไม่จำต้องหยิบยกเอกสารที่โจทก์ไม่ได้เสียค่าอ้างขึ้นวินิจฉัย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยอยู่แล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ตามฟ้องและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบมูลหนี้เดิมและการแปลงหนี้ใหม่ การฟ้องตามสัญญากู้โดยมีหลักฐานลายมือชื่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่าเดิมสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรมจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดีโดยแนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง เมื่อคำให้การและทางนำสืบจำเลยยอมรับว่าได้ทำหนังสือสัญญากู้ฉบับพิพาทไว้ให้โจทก์จริง ดังนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ตามฟ้อง กรณีไม่จำต้องยกเอกสารสัญญากู้ฉบับพิพาทขึ้นวินิจฉัย โจทก์จึงไม่จำต้องเสียค่าอ้างเอกสารสัญญากู้ฉบับพิพาทดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและการนำส่งเอกสารฟ้องคดี ความผิดพลาดของโจทก์ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาล และดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี
โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยเองตามคำสั่งศาลชั้นต้น เพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายและค่าป่วยการพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานเดินหมายถ่าย ภาพรายงานการเดินหมายส่งให้โจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 6 ไม่ได้โจทก์ต้องแถลงต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นสั่ง การที่โจทก์ไม่นำส่งเองจึงไม่ทราบผลทันทีที่ส่งไม่ได้เป็นความผิดของโจทก์เอง กรณีถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) แต่อำนาจจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 เป็นดุลพินิจ ของศาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตามขอทราบผลการส่งหมายโดยขอดู สำนวนจากเจ้าหน้าที่ศาลหลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าสำนวนเสนอผู้พิพากษาทุกครั้ง และเหตุที่เจ้าพนักงานเดินหมายไม่ได้ส่งภาพถ่ายรายงานการเดินหมายของจำเลยที่ 6 ให้โจทก์ก็เพราะมีเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานเดินหมายเอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียก และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์มิได้นำส่งเองเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งเจ็ดและค่าป่วยการพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานเดินหมายถ่ายภาพรายงานการเดินหมายส่งให้โจทก์ทราบ หากโจทก์นำส่งเอง โจทก์จะทราบผลทันทีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 6 ไม่ได้ จึงเป็นความผิดของโจทก์เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเมื่อโจทก์มิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามเวลาที่ศาลกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) แต่ตามมาตรา 132 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ โจทก์อ้างว่าได้ติดตามขอทราบผลการส่งหมายให้จำเลยที่ 6 หลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนเสนอผู้พิพากษาทุกครั้ง และปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายไม่ได้ส่งภาพถ่ายรายงานการเดินหมายของจำเลยที่ 6 ให้โจทก์เช่นจำเลยคนอื่น ๆ ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียก และผลกระทบต่อการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์มิได้นำส่งเองเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งเจ็ดและค่าป่วยการพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานเดินหมายถ่ายภาพรายงานการเดินหมายส่งให้โจทก์ทราบ หากโจทก์นำส่งเอง โจทก์จะทราบผลทันทีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 6 ไม่ได้ จึงเป็นความผิดของโจทก์เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเมื่อโจทก์มิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามเวลาที่ศาลกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) แต่ตามมาตรา 132มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ โจทก์อ้างว่าได้ติดตามขอทราบผลการส่งหมายให้จำเลยที่ 6 หลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนเสนอผู้พิพากษาทุกครั้ง และปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายไม่ได้ส่งภาพหถ่ายรายงานการเดินหมายของจำเลยที่ 6 ให้โจทก์เช่นจำเลยคนอื่น ๆดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนกระทำชำเราโดยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง การแจ้งความล่าช้าไม่ถือเป็นพิรุธ
ผู้เสียหายถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา แต่ไม่กล้าเล่าให้บิดาฟังเพราะกลัวบิดาจะฆ่า เมื่อบิดาทราบความจริงมาสอบถามผู้เสียหายก็ยังไม่บอกแต่กลับหนีไปอยู่จังหวัดอื่น จนบิดาไปตามให้กลับมาแจ้งความ เช่นนี้การแจ้งความหลังเกิดเหตุแล้วหลายวันของผู้เสียหายจึงมิใช่พิรุธถึงกับทำให้คดีโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 17