พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยของบุตรจากมารดาชาวญวนอพยพ และบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จะเกิดในราชอาณาจักรไทยและได้สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน และเป็นคนญวนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขฟ้องเพิ่มเติม ไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นเดิม และการส่งมอบทรัพย์สินที่ไม่อาจทำได้จริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ มิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขฟ้องเพิ่มฐานความผิดได้หากประเด็นไม่เปลี่ยน และการส่งมอบทรัพย์สินเช่าซื้อที่ทำไม่ได้เนื่องจากกรรมสิทธิ์เปลี่ยนไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืน แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลง ในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อมิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้อง ของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้อง กับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเช่าซื้อ: ศาลอนุญาตได้หากไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นคดี และการส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นไปไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งมอบจำเลยยอมชำระค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวตรงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอแก้ไขฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนภายหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ มิใช่แก้ไขให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดดังที่จำเลยฎีกา การแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์และเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งมิได้ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
โจทก์เช่าที่ดินของ ท. เพื่อปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วนำไปให้จำเลยเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะโอนสิ่งปลูกสร้างและสิทธิการเช่าที่ดินให้จำเลยในวันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อและมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อกันเสียก่อน จำเลยยังมิได้รับโอนสิทธิการเช่าไปจากโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่และหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เจ้าของที่ดินได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะนำสิ่งปลูกสร้างกับทรัพย์สินที่อยู่ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อมาส่งมอบให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนกองปราบปราม: การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ได้รับอนุญาตภายหลัง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงานฯให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจรับผิดชอบในความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักร ดังนี้ พันตำรวจเอก ส. ซึ่งรับราชการประจำกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 การที่กรมตำรวจวางระเบียบว่ากองปราบปรามจะสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็เพื่อเป็นการแบ่งแยกความรับผิดชอบในการสอบสวนคดีเท่านั้นเมื่อพันตำรวจเอก ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนี้แล้ว แม้จะได้รับอนุญาตภายหลัง การสอบสวนตั้งแต่ต้นก็เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ได้ต่อสู้คัดค้าน และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้อง ของหนังสือดังกล่าว ศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดี ว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหาย ค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้จำเลยโต้แย้ง และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังพยานทั้งสองฝ่าย
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของหนังสือดังกล่าวศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหายค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหายค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1469/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คสำคัญกว่าการปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาทุจริตของจำเลย
ในวันสืบพยานโจทก์ จำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่จำเลยก็มิได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้จะถือว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นจำเลยที่ 2 ร่วมข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายก็ดี แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการตายและการพบศพของผู้ตาย เมื่อฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนแล้ว รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเอาทรัพย์เป็นหลัก การปลอมลายมือชื่อเป็นเพียงกลอุบาย ไม่ถือเป็นหลายกรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่ตามฟ้องได้ความว่าจำเลยปลอมลายมือชื่อของ ก. ลงในแบบฟอร์มแล้วรับเอาสมุดรายงานประจำตัวนักศึกษาและคู่มือสำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ที่ ก. มีสิทธิจะรับไปเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์จะเอาสมุดรายงานประจำตัวและ คู่มือนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ของโรงพยาบาลศิริราชไปเป็นข้อสำคัญการลงลายมือชื่อของจำเลยเป็นเพียงการใช้กลอุบายแสดงตัวว่าจำเลยเป็น ก. เพื่อเป็นหลักฐานในการเอาทรัพย์ไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท