พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิเช่าและแบ่งมรดก: สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกที่สามารถแบ่งได้
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดก แบ่งได้ระหว่างทายาทและคู่สมรส
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์ในตลาด การคุ้มครองผู้ซื้อโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1332 และการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่าจำเลยที่ 3 รับซื้อรถคันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหลักฐานทางทะเบียนถูกต้องและเป็นผู้ครอบครองรถในขณะที่นำมาขายในตลาดนัดซื้อขายแลกเปลี่ยนและมีการซื้อขายมาหลายทอด จำเลยที่ 3 รับซื้อมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต เป็นการซื้อในท้องตลาดจากพ่อค้าผู้ขายของชนิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสองแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคำร้องของจำเลยที่ 3 ในเรื่องเหตุที่ได้ขาดนัดโดยมิได้ทำการไต่สวนว่าจำเลยที่ 3 ลงวันนัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปตามคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 3หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคำร้องของจำเลยที่ 3 ในเรื่องเหตุที่ได้ขาดนัดโดยมิได้ทำการไต่สวนว่าจำเลยที่ 3 ลงวันนัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปตามคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 3หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์ในตลาดกลาง ผู้ซื้อโดยสุจริตไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเดิม หากผู้ขายไม่มีสิทธิ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่าจำเลยที่ 3 รับซื้อรถคันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหลักฐานทางทะเบียนถูกต้องและเป็นผู้ครอบครองรถในขณะที่นำมาขายในตลาดนัดซื้อขายแลกเปลี่ยนและ มีการซื้อขายมาหลายทอด จำเลยที่ 3 รับซื้อมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต เป็นการซื้อในท้องตลาดจากพ่อค้าผู้ขายของชนิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสองแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคำร้องของจำเลยที่ 3 ในเรื่องเหตุที่ได้ขาดนัดโดยมิได้ทำการไต่สวนว่าจำเลยที่ 3 ลงวันนัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปตามคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 3 หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคำร้องของจำเลยที่ 3 ในเรื่องเหตุที่ได้ขาดนัดโดยมิได้ทำการไต่สวนว่าจำเลยที่ 3 ลงวันนัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปตามคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 3 หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดก: การรู้หรือควรรู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสืบพยาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้า มรดกเท่านั้น การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ทายาท: การพิสูจน์วันที่รู้ถึงการตายของเจ้าหนี้เป็นประเด็นสำคัญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเท่านั้นการที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่27 เมษายน2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาออายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอม หากไม่จดทะเบียนมีผลบังคับใช้ได้เพียง 3 ปี
บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย แล้วตกลงประนีประนอมกันโดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าที่พิพาทมีกำหนด 5 ปี และบิดาโจทก์ถอนฟ้อง ศาลอนุญาตตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาล สัญญาประนีประนอมตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537ระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยด้วย เมื่อบิดาโจทก์ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบิดาโจทก์ที่มีต่อจำเลย แต่ที่บิดาโจทก์กับจำเลยตกลงกันศาลมิได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใด ๆนอกเหนือจากสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าจึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการประนีประนอมยอมความ การบังคับใช้ และระยะเวลา
บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย แล้วตกลงประนีประนอมกันโดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าที่พิพาทมีกำหนด 5 ปี และบิดาโจทก์ถอนฟ้อง ศาลอนุญาตตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาล สัญญาประนีประนอมตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 ระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยด้วย เมื่อบิดาโจทก์ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบิดาโจทก์ที่มีต่อจำเลย แต่ที่บิดาโจทก์กับจำเลยตกลงกันศาลมิได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใด ๆ นอกเหนือจากสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าจึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ศาลใช้ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครโจทก์ขอแก้ฟ้องโดยแก้ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง และยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต ดังนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 4 เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่ศาลแพ่งยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจของศาลแพ่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) เมื่อศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามคำร้องขอของโจทก์ ก็แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจ ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แล้ว คำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลแพ่งของโจทก์ แม้ข้อความในคำร้องของโจทก์บางตอนเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) ศาลแพ่งก็มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งในการพิจารณาคดีนอกเขตอำนาจศาลและภูมิลำเนาจำเลย การใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างต่อศาลแพ่งโดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ศาลแพ่งสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงแก้ฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองใหม่ ศาลแพ่งอนุญาตและในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองที่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต เมื่อศาลแพ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ได้ด้วยและศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว แม้คำร้องขอของโจทก์จะยื่นเข้ามาภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้วก็ตามย่อมแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.