คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สง่า ศิลปประสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคชก. และการสิ้นสุด/ต่ออายุสัญญาเช่านา: ข้อจำกัดอำนาจ คชก.ตำบล และสิทธิผู้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก.ตำบล) และคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) ตาม พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพียงบัญญัติว่า คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัด ประกอบด้วย บุคคลใด บ้างไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะ ที่ถูก ฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่านา, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้เช่า, อำนาจคณะกรรมการเช่าที่ดิน, การลงมือทำประโยชน์
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524บัญญัติว่า คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล และคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง โดยไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่าไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่าประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี โดยคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และมีผลใช้บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ได้บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้องปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่านาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน 1 ปีและจำเลยแสดงความจำนงจะเช่านา ซึ่งโจทก์จะต้องให้จำเลยเช่านาเว้นแต่โจทก์จะร้องต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลก่อนสิ้นกำหนด 1 ปี เพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่จำเลยร้องขอต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลขอเช่าทำนาของโจทก์หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปีและไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของจำเลยเนื่องจากพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใดให้อำนาจคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง คชก. และการบอกเลิกสัญญาเช่านาที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก.ตำบล) และคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) ตาม พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพียงบัญญัติว่า คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัด ประกอบด้วย บุคคลใด บ้างไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะ ที่ถูก ฟ้องร้องได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป
เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำชำเราเด็กและพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยมีความผิดทั้งสองฐาน
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน 11วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กและการพรากเด็กเพื่ออนาจาร: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และ 317
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน11 วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุก: การเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือการยินยอม
จำเลยถือ มีดโต้เข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วเงื้อมีดโต้ขู่เข็ญจะทำร้ายผู้เสียหายกับพวกซึ่ง อยู่ในบ้านผู้เสียหายในขณะนั้นแม้ผู้เสียหายจะอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปดู โทรทัศน์ในบ้านตน ได้ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดย มีเหตุอันสมควรหรือได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายให้เข้าไปได้ เพราะจำเลยมิได้เข้าไปดู โทรทัศน์ที่ผู้เสียหายมิได้กล่าวห้ามปรามหรือกล่าวคำขับไล่จำเลยก็หาได้แสดงว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน บุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 ทุกอนุมาตราประกอบด้วย มาตรา 364.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกโดยมีอาวุธและข่มขู่ แม้เจ้าของบ้านไม่ได้ห้าม ถือไม่เป็นการยินยอม
จำเลยถือมีดโต้เข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วเงื้อมีดโต้ขู่เข็ญจะทำร้าย ผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ในบ้านผู้เสียหายในขณะนั้น แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปดูโทรทัศน์ในบ้านตนได้ ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรหรือได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายให้เข้าไปได้ เพราะจำเลยมิได้เข้าไปดูโทรทัศน์ ที่ผู้เสียหายมิได้กล่าวห้ามปรามหรือกล่าวคำขับไล่จำเลยก็หาได้แสดงว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ทุกอนุมาตรา ประกอบด้วยมาตรา 364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานด้วยอาวุธและการข่มขู่ แม้เจ้าของบ้านไม่ได้ห้ามปราม ก็ถือไม่ได้ว่ายินยอม
จำเลยถือมีดโต้เข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วเงื้อมีดโต้ขู่เข็ญจะทำร้ายผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ในบ้านผู้เสียหายในขณะนั้น แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปดูโทรทัศน์ในบ้านตนได้ ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรหรือได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายให้เข้าไปได้ เพราะจำเลยมิได้เข้าไปดูโทรทัศน์ ที่ผู้เสียหายมิได้กล่าวห้ามปรามหรือกล่าวคำขับไล่จำเลยก็หาได้แสดงว่า ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ทุกอนุมาตราประกอบด้วยมาตรา 364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ตาย: ศาลไม่อาจตั้งผู้แทนให้ผู้ถึงแก่กรรม แม้จะอ้างว่าเป็นผู้วิกลจริต
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต. และมีอำนาจฟ้องคดีแทน ต. เมื่อปรากฏว่า ต. ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้ว ศาลก็ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต. ได้ เพราะ ต. ไม่ใช่ผู้วิกลจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างต่อไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้วิกลจริตซึ่งผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้นั้น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายความรวมถึงกรณีนี้ซึ่งผู้เสียหายได้ตายไปเสียก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีสำหรับผู้วิกลจริตต้องกระทำก่อนการเสียชีวิตของผู้เสียหาย
การร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้วิกลจริตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 นั้น ต้องเป็นกรณีผู้วิกลจริตยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้นการที่ ต. ผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องของตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์แล้ว ดังนี้ ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของSต. ได้
ผู้แทนเฉพาะคดีที่ฟ้องแทนผู้เสียหายจะมีอำนาจว่าคดีแทนผู้เสียหายที่ตายลงต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 นั่น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้ก่อนแล้วที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายรวมถึงกรณีผู้เสียหายได้ตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 51