คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สง่า ศิลปประสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยการใช้สิทธิปรปักษ์ และการไม่ถือว่าเป็นการละเมิดเมื่อกระทำโดยสุจริตก่อนซื้อที่ดิน
แม้ชายคา หน้าต่างหากมีการเปิด และทางระบายน้ำของห้องแถวจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของ ว. จะได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ตาม เมื่อจำเลยได้กระทำด้วยความสุจริตเพื่อการใช้ชายคา หน้าต่างกับทางระบายน้ำดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งจำเลยได้ใช้สิทธินั้นด้วยอำนาจปรปักษ์มาเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้สิทธิภาระจำยอมเกี่ยวกับชายคา หน้าต่างกับทางระบายน้ำนั้นในที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหน้าที่: การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ต้องพิจารณาคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุกำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขตหรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอหรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ.เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ.จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน: การกำหนดคุณสมบัติและการบรรยายฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุ กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขต หรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ. เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ. จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้พักอาศัยต่างถิ่น การส่งหมายที่ภูมิลำเนาเดิมชอบแล้ว การขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณาคดีไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่
จำเลยมีชื่อถือภูมิลำเนาในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องแต่จำเลยไปพักอยู่ที่จังหวัดอื่นโดยมิได้โดยทะเบียนบ้านไปด้วย ทั้งในคดีที่จำเลยฟ้องผู้อื่นจำเลยก็ระบุภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านดังกล่าว จำเลยจึงมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านนั้น การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าวโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ก็ไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาและการส่งหมายเรียก: การส่งหมายโดยชอบ แม้จำเลยพักอาศัยต่างถิ่น
จำเลยมีชื่อถือภูมิลำเนาในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องแต่จำเลยไปพักอยู่ที่จังหวัดอื่นโดยมิได้โอนทะเบียนบ้านไปด้วยทั้งในคดีที่จำเลยฟ้องผู้อื่น จำเลยก็ระบุภูมิสำเนาตามทะเบียนบ้านดังกล่าว จำเลยจึงมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านนั้นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าวโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ก็ไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากจำเลยไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูและมีพฤติกรรมเหยียดหยามบุพการีโจทก์
หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อนแล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมดทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(6) การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู และการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนอย่างมากต่อคู่สมรส
หลังจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน แล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมด ทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้ เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้ อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6)
การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าตามมาตรา 165(7) อายุความ 2 ปี
การที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดให้มีบริการพูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการนั้น ถือได้ว่าการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ดังนั้นสิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การสื่อสารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ค้า
การที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดให้มีบริการพูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการนั้น ถือได้ว่าการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ดังนั้นสิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน โจทก์อาจเสียสิทธิในที่ดิน จึงเป็นผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสามร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่พิพาทเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ซึ่งตายไปแล้ว และเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งได้จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมและขอออก น.ส.3 สำหรับที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวดังนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยทั้งสามแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 แล้ว เพราะโจทก์อาจต้องเสียที่พิพาทไปเพราะการกระทำของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
of 51