คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สง่า ศิลปประสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย: น้ำท่วม-น้ำป่า พังสะพาน-น้ำในแม่น้ำสูงขึ้น พิจารณาตามสภาพการณ์และฤดูกาล
เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นและให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครอาจจะป้องกันได้ การที่น้ำป่าพัดสะพานพัง ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย แต่กรณีระดับน้ำในแม่น้ำเมยสูงขึ้นเป็นสิ่งที่เป็นไปโดยปกติตามฤดูกาล โดยระดับน้ำในหน้าฝนจะสูงขึ้นเช่นนี้ ทุกปี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย: น้ำท่วมฉับพลัน vs. ระดับน้ำสูงตามฤดูกาล และผลกระทบต่อสัญญา
เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นและให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครอาจจะป้องกันได้ การที่น้ำป่าพัดสะพานพัง ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยแต่กรณีระดับน้ำในแม่น้ำเมยสูงขึ้นเป็นสิ่งที่เป็นไปโดยปกติตามฤดูกาล โดยระดับน้ำในหน้าฝนจะสูงขึ้นเช่นนี้ทุกปี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 และ 249: ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมรวมจำคุกจำเลยที่ 1, ที่2 และที่ 3 คนละ 5 ปี และปรับคนละ 1,000 บาท ลงโทษปรับจำเลยที่ 4 เป็นเงิน 11,000 บาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงิน 1,997,400 บาท แก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ใช้เงินแก่ผู้เสียหายเพียง 1,985,400 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริง, ข้อกฎหมายไม่เป็นสาระ, กระบวนการพิจารณาไม่ชอบ, และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรม รวมจำคุกจำเลยแต่ละคนไม่เกินคนละ 5 ปี ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินที่ฉ้อโกงไปแก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้จำเลยใช้คืน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากันจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขเล็กน้อย, ข้อเท็จจริง, ไม่เป็นสาระ, ไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมรวมจำคุกจำเลยที่ 1, ที่ 2 และที่ 3 คนละ 5 ปี และปรับคนละ 1,000 บาท ลงโทษปรับจำเลยที่ 4 เป็นเงิน 11,000 บาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงิน 1,997,400 บาท แก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ใช้เงินแก่ผู้เสียหายเพียง 1,985,400 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7, 27 มิใช่มาตรา 7, 28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7, 28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิภารจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วันเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และมาตรา 247 โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่น ยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส.เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของ ส.และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริงโจทก์ ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดี นี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาท เปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องทางภาระจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วัน มีเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นมีสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) และมาตรา 247
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกเมื่อจำเลยหลีกเลี่ยงการรับรู้ - การส่งทางประกาศชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยไม่ได้เนื่องจากบ้านที่อยู่ของจำเลยได้รื้อถอนไปแล้ว และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยมีภูมิลำเนาใหม่อยู่ ณ ที่ใดแน่นอนดังนั้นถือว่าการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องไม่อาจกระทำ ณภูมิลำเนาของจำเลยได้ การที่ศาลสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์ตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 79
จำเลยรู้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องแล้ว แต่ได้รื้อบ้านและย้ายออกไปอยู่ที่อื่นโดยมิได้แจ้งย้ายทะเบียนให้ปรากฏหลักฐานภูมิลำเนาไว้ อันเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับรู้การถูกดำเนินคดี กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องและวันนัดพิจารณาคดีโดยทางประกาศหนังสือพิมพ์แล้วการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจจำเลยจะอ้างว่าตนยังไม่ได้รับหมายเรียกและรับทราบวันนัดพิจารณาเพื่อจะขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาและเหตุบรรเทาโทษได้ แม้ผู้เสียหายไม่เบิกความ
โจทก์ไม่สามารถติดตามผู้เสียหายมาเบิกความในชั้นพิจารณาได้พยานหลักฐานของโจทก์คงมีเพียงพยานแวดล้อมกรณีกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเท่านั้น ดังนี้ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนนับว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเพียงพอของฟ้องอาญา: การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประชาชน แม้ไม่ระบุชื่อเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ดังนี้แม้จะมิได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งก็ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 51