พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากละเลยการตรวจสอบลายมือชื่ออย่างรอบคอบ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ระมัดระวังตรวจลายมือชื่อ แม้ผู้เสียหายก็ต้องรับผิดด้วยหากประมาท
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่ประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373
หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนประมาทเลินเล่อในการโอนสิทธิการเช่า ทำให้เกิดความเสียหาย ผู้รับมอบหมายก็มีส่วนประมาท
โจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์ให้เป็นชื่อของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อย จำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์และจำเลยได้จัดการให้มีการย้ายเครื่องโทรศัพท์แล้ว ควรจะจัดการให้มีการโอนไปพร้อมกันแต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์เป็นชื่อ ส. ให้เป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้ว โจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลยศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยาย, ประมาทเลินเล่อ, ความรับผิดทางละเมิด, ส่วนได้เสีย, ความเสียหาย
โจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์ให้เป็นชื่อของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อยจำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์ จำเลยได้จัดการให้มีการย้ายเครื่องโทรศัพท์แล้ว และควรจะจัดการให้มีการโอนไปพร้อมกัน แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์เป็นชื่อ ส.ให้เป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้วโจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลย ศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้มีการโอนสิทธิการเช่า
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่ได้รับอนุมัติและไม่มีหลักประกัน ความรับผิดของผู้จัดการสาขาและผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญาและไม่มีหลักประกัน ทั้งไม่ได้รับอนุมัติจากโจทก์ตามระเบียบ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ยังไม่ฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย เพราะหนี้รายนี้ไม่มีหลักประกัน ในการที่โจทก์จะฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์โจทก์จะต้องพิจารณาทางได้เสียในทุก ๆ ทาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลประมาทเลินเล่อดูแลสระน้ำพุไฟฟ้าชำรุด ผู้ตายถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต ต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทน
จำเลยเป็นเทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาสระน้ำพุและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำน้ำพุให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและปลอดภัย การที่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่จัดหาอุปกรณ์มาปิดบังหรือเก็บซ่อนสายไฟฟ้าที่ต่อจากมอเตอร์ มายังเครื่องปั๊มน้ำมันซึ่งมีสภาพเก่าไว้ให้มิดชิด แต่กลับปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ทั้งจำเลยทราบแล้วว่าในวันเกิดเหตุเป็นวันสงกรานต์ มีผู้มาเล่นน้ำบริเวณน้ำพุกันมากรวมทั้งเอาน้ำในสระดังกล่าวสาดรด กัน ทำให้บริเวณรอบ ๆ น้ำพุเปียกน้ำ เป็นเหตุให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องทำน้ำพุลงไปในสระน้ำ ทำให้บุตรโจทก์ซึ่งลงไปเล่นน้ำในสระดังกล่าวถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายเช่นนี้ ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย สระน้ำพุดังกล่าวจำเลยสร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม และเป็นที่พักผ่อนหย่อน ใจของประชาชน การที่ผู้ตายลงไปเล่นน้ำในสระน้ำพุดังกล่าว ซึ่งมิใช่สถานที่จัดให้ลงไปเล่นน้ำได้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงถือได้ว่าเป็นเพราะความผิดของผู้ตายประกอบอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวต่างด้าว: ความรับผิดจากความล่าช้าในการรายงานตัว และการลดค่าเสียหายตามพฤติการณ์
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ประกันตัวคนต่างด้าว 2 คนตามสัญญาประกัน 2 ฉบับ หากผิดสัญญาจำเลยยอมให้ปรับรายละ 50,000 บาททุนทรัพย์ของคดีจึงต้องแยกตามสัญญาประกันแต่ละฉบับคือไม่เกินรายละ 50,000 บาท แม้โจทก์ฟ้องด้วยทุนทรัพย์รวมกันมา 2 รายเป็นเงิน 100,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 สัญญาประกันระบุว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาประกันจำเลยยอมให้โจทก์ปรับตามจำนวนเงิน 50,000 บาท จำเลยนำลูกประกันไปรายงานตัวต่อโจทก์เลยกำหนดเป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงต้องถูกปรับตามสัญญาแม้โจทก์ จะได้สอบสวนลูกประกันแล้วผ่อนผันแก่ลูกประกันให้อยู่เลยกำหนดได้ ก็หาทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยหมดไปไม่ แต่ความเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ถ้าโจทก์ได้แจ้งจำเลยในทันทีเมื่อนำลูกประกันไปรายงานตัว ความเสียหายหากจะมีตามสัญญาประกันจำเลยย่อมเรียกเอาจากลูกประกันได้ เมื่อโจทก์ดำเนินการสอบสวนลูกประกันและผ่อนผันลูกประกันให้อยู่ต่อไปได้ จากนั้นโจทก์จึงแจ้งจำเลยว่าผิดสัญญา จึงสมควรลดค่าเสียหายลงให้เหมาะสมตามพฤติการณ์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตกลงยอมชำระเงินแทนทันทีหากว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการเช่าซื้อ, สิทธิเรียกร้อง, และการสละเงื่อนเวลาชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจำเลยที่ 2 ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีวัตถุประสงค์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังจากนั้นห้างจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อรถยนต์และรับชำระหนี้จากโจทก์ โดยตามเอกสารใบแจ้งหนี้ที่หัวกระดาษมีข้อความระบุชื่อห้างจำเลยที่ 1 และได้ระบุชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ในวงเล็บต่อท้ายด้วย ดังนี้ ฟังได้ว่า ห้างจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น. โจทก์มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ได้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป