พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17868/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การประเมินความประมาทของคู่กรณีและการแบ่งความรับผิดชอบ
เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการขับรถของทั้งสองฝ่ายว่าฝ่ายใดประมาทยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว จะเห็นได้ว่าหากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังตามสมควรย่อมต้องมองเห็นรถจักรยานยนต์ที่ ก. ขับมาและต้องชะลอความเร็วไม่ให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน ขณะเดียวกัน ก. ซึ่งขับรถจักรยานยนต์ย้อนเส้นทางเดินรถออกจากซอยก็จะต้องหยุดรถดูว่ามีรถแล่นมาทางด้านขวาหรือไม่ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับออกไป แต่ทั้งจำเลยที่ 1 และ ก. หาได้กระทำไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และ ก. ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15640/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการรับผิดต่อการผิดสัญญาตัวแทน แม้จะรู้เห็นการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยโดยตรงจากลูกค้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยรับไว้แทนโจทก์แล้วค้างชำระไม่ส่งมอบคืนภายในกำหนด อันเป็นกรณีตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีไม่มีเหตุจะนำพฤติการณ์ที่จำเลยรู้หรือไม่รู้เรื่องที่ ธ. ตัวแทนของจำเลยรับกรมธรรม์ประกันภัยไปจากโจทก์มาพิจารณาประกอบในการกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาและละเมิดจากเหตุตู้สินค้าห้องเย็นเสียหาย: กำหนดส่วนรับผิดชอบตามสัดส่วนความผิด
ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่าอุณหภูมิภายในตู้สินค้าห้องเย็นต้องอยู่ในระดับ ลบ 24 องศาเซลเซียส เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถดูแลรักษาอุณหภูมิสินค้าให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา ทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานสินค้าแช่แข็งส่งออกของผู้เอาประกันภัยซึ่งอาจมีมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานของกรมปศุสัตว์หรือเจ้าของสินค้ารายอื่น จำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรฐานของกรมปศุสัตว์มากล่าวอ้างให้ไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาไม่ได้
พนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถเฉี่ยวชนตู้สินค้าห้องเย็นที่บรรจุสินค้าจนชำรุดอันเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าในตู้โดยตรง ทั้งจำเลยที่ 2 ย่อมทราบดีว่าสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าห้องเย็นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่รักษาอุณหภูมิภายในตู้ให้ได้ตามที่กำหนดไว้เสมอ เมื่อจำเลยที่ 2 ทำให้ตู้สินค้าห้องเย็นนี้เสียหายก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขซ่อมแซมเพื่อป้องกันมิให้สินค้าเสียหาย หากจำเลยที่ 2 รีบซ่อมแซมอย่างเหมาะสมด้วยวิธีเพียงใช้แผ่นโลหะปะเข้าแทนที่ในส่วนที่ผนังตู้ขาดด้านนอกแล้วยึดแผ่นโลหะด้วยวิธียิงด้วยเครื่องยิงหมุดแล้วฉีดโฟมเข้าไปในช่องว่างระหว่างโลหะด้านในและด้านนอกเฉพาะจุดที่ฉีกขาดนั้น อันเป็นวิธีการดังที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ให้ความเห็นไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงว่า สามารถทำได้โดยง่าย ใช้เวลาเพียง 10 นาที เท่านั้น ก็น่าเชื่อว่าจะบรรเทาความเสียหายได้มาก แต่จำเลยที่ 2 กลับปล่อยให้ตู้สินค้าห้องเย็นมีส่วนที่ชำรุดถึงโลหะชั้นในและไม่มีฉนวนกันความร้อนเป็นเวลานานถึง 10 ชั่วโมง พนักงานของจำเลยที่ 2 จึงมาช่วยซ่อมแซมตู้สินค้าห้องเย็น แต่ก็ทำเพียงนำแผ่นฟอยล์ซึ่งมีเพียงแถบกาวมาปิดทับผนังตู้สินค้าห้องเย็นตรงที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ใช่วิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง ส่วนจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลรักษาตู้สินค้าห้องเย็นให้สินค้าของผู้เอาประกันภัยอยู่ในสภาพที่ดีมีอุณหภูมิที่ตั้งค่า ลบ 24 องศาเซลเซียส ได้ทราบเหตุตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 ก็ดำเนินการเพียงแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ และร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 นำแผ่นฟอยล์ซึ่งมีแถบกาวไปปิดตู้สินค้าห้องเย็นตรงที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นได้แต่ตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องทำความเย็น โดยไม่ดำเนินการเยียวยาอย่างอื่น ถือได้ว่ายังไม่ได้กระทำการให้เพียงพอแก่หน้าที่ในอันที่จะรักษาอุณหภูมิสินค้าให้ได้ตามที่สัญญาไว้ อันถือได้ว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วยเช่นกัน
ผู้เอาประกันภัยได้รับแจ้งเหตุตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา จนวันที่ 21 กรกฎาคม 2546 จึงส่งตัวแทนไปสำรวจความเสียหายของตู้สินค้าห้องเย็น และตัดสินใจนำตู้สินค้าห้องเย็นพิพาทออกจากท่าเรือกรุงเทพในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ทั้งยังจัดประมูลขายซากสินค้าในวันที่ 3 และ 9 กันยายน 2546 อันเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าไปอีกประมาณ 40 ถึง 50 วัน สินค้าอาหารประเภทไก่แช่แข็งควรรีบขายโดยเร็ว การปล่อยเวลาให้เนิ่นนานไปโดยไม่ปรากฏเหตุจำเป็นเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจะทำให้ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 รวมทั้งจำเลยที่ 1 แล้ว ผู้เอาประกันภัยก็มีส่วนปล่อยเวลาให้ล่วงเลยทำให้มูลค่าของสินค้าพิพาทลดลงจนเป็นความเสียหายสูงขึ้นด้วย
การที่จะให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยรวมถึงโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยจะเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจะให้บุคคลหลายคนรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนหนึ่งอย่างลูกหนี้ร่วมต้องเป็นไปโดยนิติกรรมหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจัดหาตู้สินค้าห้องเย็นและขนส่งไปยังท่าเรือโดยมีหน้าที่ดูแลรักษาอุณหภูมิในตู้สินค้าห้องเย็นให้เหมาะสมในการเก็บรักษาสินค้า แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดูแลรักษาอุณหภูมิจนเป็นเหตุให้สินค้าเสียหาย แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดด้วย แต่จากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องและที่รับฟังได้ เห็นได้ว่า เป็นกรณีที่ต้องรับผิดตามสัญญา และเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหลังจากพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดกระทำโดยประมาททำให้สินค้าเสียหาย จึงไม่ใช่กรณีร่วมกันทำละเมิด หากแต่เป็นกรณีที่มูลแห่งความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แตกต่างกัน มีผลต่อความเสียหายคนละส่วนต่างกันย่อมไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าเสียหายต่อโจทก์และไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันจะถือให้ความรับผิดในลักษณะแตกต่างกันเช่นนี้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน
พนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถเฉี่ยวชนตู้สินค้าห้องเย็นที่บรรจุสินค้าจนชำรุดอันเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าในตู้โดยตรง ทั้งจำเลยที่ 2 ย่อมทราบดีว่าสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าห้องเย็นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่รักษาอุณหภูมิภายในตู้ให้ได้ตามที่กำหนดไว้เสมอ เมื่อจำเลยที่ 2 ทำให้ตู้สินค้าห้องเย็นนี้เสียหายก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขซ่อมแซมเพื่อป้องกันมิให้สินค้าเสียหาย หากจำเลยที่ 2 รีบซ่อมแซมอย่างเหมาะสมด้วยวิธีเพียงใช้แผ่นโลหะปะเข้าแทนที่ในส่วนที่ผนังตู้ขาดด้านนอกแล้วยึดแผ่นโลหะด้วยวิธียิงด้วยเครื่องยิงหมุดแล้วฉีดโฟมเข้าไปในช่องว่างระหว่างโลหะด้านในและด้านนอกเฉพาะจุดที่ฉีกขาดนั้น อันเป็นวิธีการดังที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ให้ความเห็นไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงว่า สามารถทำได้โดยง่าย ใช้เวลาเพียง 10 นาที เท่านั้น ก็น่าเชื่อว่าจะบรรเทาความเสียหายได้มาก แต่จำเลยที่ 2 กลับปล่อยให้ตู้สินค้าห้องเย็นมีส่วนที่ชำรุดถึงโลหะชั้นในและไม่มีฉนวนกันความร้อนเป็นเวลานานถึง 10 ชั่วโมง พนักงานของจำเลยที่ 2 จึงมาช่วยซ่อมแซมตู้สินค้าห้องเย็น แต่ก็ทำเพียงนำแผ่นฟอยล์ซึ่งมีเพียงแถบกาวมาปิดทับผนังตู้สินค้าห้องเย็นตรงที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ใช่วิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง ส่วนจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลรักษาตู้สินค้าห้องเย็นให้สินค้าของผู้เอาประกันภัยอยู่ในสภาพที่ดีมีอุณหภูมิที่ตั้งค่า ลบ 24 องศาเซลเซียส ได้ทราบเหตุตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 ก็ดำเนินการเพียงแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ และร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 นำแผ่นฟอยล์ซึ่งมีแถบกาวไปปิดตู้สินค้าห้องเย็นตรงที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นได้แต่ตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องทำความเย็น โดยไม่ดำเนินการเยียวยาอย่างอื่น ถือได้ว่ายังไม่ได้กระทำการให้เพียงพอแก่หน้าที่ในอันที่จะรักษาอุณหภูมิสินค้าให้ได้ตามที่สัญญาไว้ อันถือได้ว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วยเช่นกัน
ผู้เอาประกันภัยได้รับแจ้งเหตุตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา จนวันที่ 21 กรกฎาคม 2546 จึงส่งตัวแทนไปสำรวจความเสียหายของตู้สินค้าห้องเย็น และตัดสินใจนำตู้สินค้าห้องเย็นพิพาทออกจากท่าเรือกรุงเทพในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ทั้งยังจัดประมูลขายซากสินค้าในวันที่ 3 และ 9 กันยายน 2546 อันเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าไปอีกประมาณ 40 ถึง 50 วัน สินค้าอาหารประเภทไก่แช่แข็งควรรีบขายโดยเร็ว การปล่อยเวลาให้เนิ่นนานไปโดยไม่ปรากฏเหตุจำเป็นเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจะทำให้ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 รวมทั้งจำเลยที่ 1 แล้ว ผู้เอาประกันภัยก็มีส่วนปล่อยเวลาให้ล่วงเลยทำให้มูลค่าของสินค้าพิพาทลดลงจนเป็นความเสียหายสูงขึ้นด้วย
การที่จะให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยรวมถึงโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยจะเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจะให้บุคคลหลายคนรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนหนึ่งอย่างลูกหนี้ร่วมต้องเป็นไปโดยนิติกรรมหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจัดหาตู้สินค้าห้องเย็นและขนส่งไปยังท่าเรือโดยมีหน้าที่ดูแลรักษาอุณหภูมิในตู้สินค้าห้องเย็นให้เหมาะสมในการเก็บรักษาสินค้า แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดูแลรักษาอุณหภูมิจนเป็นเหตุให้สินค้าเสียหาย แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดด้วย แต่จากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องและที่รับฟังได้ เห็นได้ว่า เป็นกรณีที่ต้องรับผิดตามสัญญา และเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหลังจากพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดกระทำโดยประมาททำให้สินค้าเสียหาย จึงไม่ใช่กรณีร่วมกันทำละเมิด หากแต่เป็นกรณีที่มูลแห่งความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แตกต่างกัน มีผลต่อความเสียหายคนละส่วนต่างกันย่อมไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าเสียหายต่อโจทก์และไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันจะถือให้ความรับผิดในลักษณะแตกต่างกันเช่นนี้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผลผูกพันจากคำพิพากษาคดีอาญาและหลักประมาท
คดีนี้โจทก์เป็นมารดาของผู้ตายในคดีอาญาจึงต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาโดยเห็นว่า ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุและมีส่วนประมาทมากกว่า คู่ความไม่ฎีกา คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น คดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 และตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาท การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากพนักงานประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือปลอม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเช็คพิพาทเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่โจทก์ได้ เว้นแต่โจทก์จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008
การที่ อ. พนักงานจำเลยรับรองให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทและหักบัญชีกระแสรายวันเอาแก่โจทก์โดยละเมิด แม้จะมีข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คในกรณีที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็คเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปและมีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายมาเบิกเงินจากจำเลยก็ตาม จำเลยก็จะยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในหนี้ที่เกิดจากการละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223, 438 และ 442 การที่ ธ. พนักงานโจทก์ ทราบว่ามีคนร้ายงัดลิ้นชักโต๊ะทำงานที่มีสมุดเช็คอยู่ในลิ้นชักแต่มิได้ตรวจสอบสมุดเช็คที่ตนมีหน้าที่เก็บรักษา นับว่า ธ. มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาเช็คเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถระงับความเสียหายได้ทันที เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้เช็คพิพาทที่ถูกลักไปสามารถนำเช็คพิพาทซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมไปเบิกเงินจากจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท (ต้นเงินตามเช็ค 200,000 บาท)
การที่ อ. พนักงานจำเลยรับรองให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทและหักบัญชีกระแสรายวันเอาแก่โจทก์โดยละเมิด แม้จะมีข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในการจ่ายเงินตามเช็คในกรณีที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็คเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปและมีผู้ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายมาเบิกเงินจากจำเลยก็ตาม จำเลยก็จะยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในหนี้ที่เกิดจากการละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 223, 438 และ 442 การที่ ธ. พนักงานโจทก์ ทราบว่ามีคนร้ายงัดลิ้นชักโต๊ะทำงานที่มีสมุดเช็คอยู่ในลิ้นชักแต่มิได้ตรวจสอบสมุดเช็คที่ตนมีหน้าที่เก็บรักษา นับว่า ธ. มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาเช็คเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถระงับความเสียหายได้ทันที เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้เช็คพิพาทที่ถูกลักไปสามารถนำเช็คพิพาทซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมไปเบิกเงินจากจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท (ต้นเงินตามเช็ค 200,000 บาท)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10388/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สี่แยกทางโทต้องหยุดรอทางเอก การคาดคะเนความเร็วรถผู้อื่นโดยไม่ปฏิบัติตามป้ายจราจร ถือเป็นความประมาท
ทางเดินรถของ ว. ลูกจ้างโจทก์เป็นทางโท รถในทางโทต้องยอมให้รถในทางเอกผ่านไปก่อนทั้งบริเวณสี่แยกเกิดเหตุมีป้ายจราจร "หยุด" ซึ่งบังคับให้รถในทางโทต้องหยุดรถเพื่อรอให้รถที่มาจากทางเอกผ่านพ้นสี่แยกไปก่อนจึงจะขับผ่านสี่แยกเกิดเหตุได้ แม้รถในทางโทจะมาถึงสี่แยกก่อนแต่ถ้าไม่สามารถขับผ่านสี่แยกไปด้วยความเร็วตามปกติและตามพฤติการณ์ในขณะนั้นได้โดยปลอดภัยแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามป้ายจราจรดังกล่าวโดยหยุดรถเพื่อรอให้รถในทางเอกผ่านไปก่อน ว. ซึ่งขับรถยนต์โดยสารประจำทางในทางโทที่มีป้ายจราจรหยุดจะคาดคะเนเอาเองว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถยนต์บรรทุกในทางเอกเห็นรถในทางโทมาถึงและใช้ทางแยกก่อนแล้ว จะต้องหยุดรถโดย ว. ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎและป้ายจราจรหาได้ไม่ การที่ ว. ขับรถผ่านเข้าไปในสี่แยกเกิดเหตุโดยคาดคะเนเอาเองว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชะลอและหยุดรถรอให้ ว. ขับรถผ่านไปก่อนย่อมเป็นการเสี่ยงภัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎและป้ายจราจร ถือว่า ว. ประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ว. จึงมีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความประมาทในคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญา ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาความรับผิดชอบเพิ่มเติมได้
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปรากฏว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติในคดีส่วนอาญามีแต่เพียงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้น ในการดำเนินคดีแพ่งทั้งโจทก์และจำเลยย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือไม่ เพียงใด เพราะคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดเป็นมูลหนี้ละเมิดขึ้นนี้ ป.พ.พ. มาตรา 442 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 223 วรรคหนึ่ง มีข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร และมาตรา 438 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยเรื่องค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น การที่จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้จำเป็นที่โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายจำเลยประมาทมากกว่าและโจทก์เสียหายจากการประมาทมากกว่านั้นอย่างไร เพียงใด ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลในคดีส่วนแพ่งมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยใครเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน ไม่ขัดต่อคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยประมาทมากกว่า และเปรียบเทียบความร้ายแรงแห่งละเมิดที่โจทก์จำเลยต่างก่อขึ้นแล้วกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินรวม 29,500 บาท เป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าระหว่างประเทศทางบก: ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล และการประเมินค่าเสียหายจากสินค้าชำรุด
การรับขนของทางบกระหว่างประเทศเข้าลักษณะของการับขนตาม ป.พ.พ บรรพ 3 ลักษณะ 8 ว่าด้วยการรับขนและตามบทบัญญัติว่าด้วยการรับขนดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติเป็นการยกเว้นไว้ดังที่ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 4 บัญญัติให้การรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาปรับใช้กับการขนส่งสินค้าทางบกระหว่างประเทศได้
การเอาประกันภัยหรือไม่เอาประกันภัยในสินค้าของโจทก์เป็นสิทธิของโจทก์ไม่เกี่ยวพันใดๆ กับการเกิดความเสียหายของสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าด้วย
การเอาประกันภัยหรือไม่เอาประกันภัยในสินค้าของโจทก์เป็นสิทธิของโจทก์ไม่เกี่ยวพันใดๆ กับการเกิดความเสียหายของสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยสินค้าผิดยี่ห้อ, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบสินค้า, และการแบ่งความรับผิดชอบของเจ้าหนี้
การที่จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อหนึ่งให้แก่โจทก์ จำเลยก็ต้องส่งมอบสินค้ายี่ห้อนั้น จะส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นไม่ได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อซึ่งมิใช่ยี่ห้อที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่การที่ ว. พนักงานโจทก์ผู้ตรวจรับมอบสินค้าจากจำเลยตรวจสอบเฉพาะรุ่นของสินค้าและจำนวนเท่านั้น โดยมิได้ตรวจสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ว. พนักงานโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ไม่ตรงตามความประสงค์, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบ, และผลกระทบต่อค่าสินไหมทดแทน
จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อทรอนให้แก่โจทก์ จำเลยจะมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแก่โจทก์มิได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้ออื่น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่ ว. พนักงานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจรับมอบสินค้า มิได้ตรวจสอบสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ด้วยตาม ป.พ.พ มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220