คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 223

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการรับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด แม้ผู้ถูกกระทำมีส่วนก่อเหตุ
แม้โจทก์จะมีส่วนก่อเหตุ โดยเฉพาะกับจำเลยที่เป็นพ่อตาโจทก์ที่ถูกโจทก์กระทำไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์อันถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ร้ายแรงมากกว่าการกระทำของโจทก์ที่เป็นผู้ก่อเหตุคดีนี้ ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังมาได้แล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว กรณีหาใช่ว่าเป็นความยินยอมของโจทก์ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้าง การผ่อนปรนค่าปรับ และการมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากความล่าช้า
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 ที่โจทก์อ้างเป็นเหตุผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาระบุว่า หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงิน 370,000 บาท สัญญากำหนดค่าปรับตามสัญญาไว้วันละ 3,700 บาท จึงเท่ากับค่าปรับจำนวน 100 วัน เท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน เพราะจำเลยที่ 1 เคยยินยอมให้ปรับได้มาก่อนแล้ว ทั้งที่จำเลยที่ 1 ทิ้งงานไปเนิ่นนานแล้วมิใช่จำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการก่อสร้างแต่ไม่อาจแล้วเสร็จได้ทันตามสัญญา จึงไม่มีเหตุให้โจทก์ต้องผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน การที่โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเสียภายในเวลาอันสมควร แต่ปล่อยปละละเลยไว้จนค่าปรับมีจำนวนสูงเกินสมควรเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควร เพราะโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถบรรทุกทั้งสองฝ่ายในการแซงรถคันหน้า ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลไม่อนุญาตให้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ ว. ผู้ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์และ ย. ผู้ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อต่างขับแซงรถยนต์กระบะที่แล่นอยู่ด้านหน้าและรถยนต์บรรทุกทั้งสองคันชนกันที่บริเวณกลางถนน ต้องถือว่าเหตุที่รถยนต์บรรทุกทั้งสองคันชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ว. และ ย. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ย. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่าย อุบัติเหตุทางรถยนต์, ความรับผิดทางแพ่ง, บิดาผู้เยาว์, การประกันภัย
โจทก์เป็นบิดาของ ป. โจทก์ยอมให้ ป. ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อายุ 16 ปี และยังไม่มีใบอนุญาตขับรถ ขับรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถือว่าโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์จึงต้องร่วมกับ ป. รับผิดในผลที่ ป. ทำละเมิดต่อจำเลยด้วย
การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยเอาประกันภัยไว้ และจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยผู้เอาประกันต้องรับผิด เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เยาว์และบิดาในอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาททัดเทียมกัน และข้อยกเว้นความรับผิดของประกันภัย
โจทก์เป็นบิดาของ ป. โจทก์ยอมให้ ป. ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อายุ 16 ปี และยังไม่มีใบอนุญาตขับรถ ขับรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะ เป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถือว่าโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์จึงต้องร่วมกับ ป. รับผิดในผลที่ ป. ทำละเมิดต่อจำเลยด้วย
การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วย มาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยเอาประกันภัยไว้ และจะต้องรับผิด ก็ต่อเมื่อจำเลยผู้เอาประกันต้องรับผิด เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ส่งของต่อความเสียหายจากการแจ้งน้ำหนักสินค้าไม่ถูกต้อง และการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่ง
ความเสียหายที่ผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว มาตรา 32 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่ง เนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความที่ไม่ถูกต้องนั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินไป ศาลลดค่าเสียหายได้ และการคืนค่าขึ้นศาลเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเปลี่ยนแปลง
แม้ค่าเช่าซื้อรถขุดไฮดรอลิกที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาและโจทก์มีสิทธิเรียกได้จากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาที่มีต่อกัน เป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์เพิ่งรับรถคืนจากจำเลยที่ 1 ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่างวดถึง 8 งวด จะถือว่าโจทก์มีส่วนร่วมในความเสียหายด้วยหาได้ไม่เพราะในการประกอบธุรกิจย่อมเป็นได้ที่โจทก์ประสงค์จะผ่อนปรนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของตนได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 470,130.84 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งว่าต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายไม่เกิน 120,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลจึงมีเพียง 350,130.84 บาท แต่จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 470,130.84 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสาม แต่ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเนื่องจากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขึ้นศาลในส่วนนี้จึงต้องคืนแก่จำเลยที่ 2 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการเช่าไม่ใช่เงินมัดจำ ผู้ให้เช่าต้องบรรเทาความเสียหายจากผู้เช่ายกเลิกสัญญา
เงินที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าห้องชุดอันเนื่องจากจำเลยไม่ชำระค่าเช่า ค่าเช่าอุปกรณ์ หรือความเสียหายอื่น ๆ โดยโจทก์มีสิทธิจะหักจากเงินดังกล่าวไปชำระได้และตามสัญญากำหนดให้คืนเงินแก่ผู้เช่าในวันที่สัญญาสิ้นสุดหากผู้เช่าได้ชำระหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแก่ผู้เช่าให้ครบถ้วนมิใช่สิ่งที่จำเลยให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญาขึ้นแล้วหรือเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจึงมิใช่มัดจำที่จะริบได้
จำเลยมีหนังสือขอเจรจาเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์และได้เจรจาเพื่อขอเลิกการเช่าเรื่อยมา ต่อมาจำเลยแจ้งเป็นหนังสือขอเลิกการเช่าแล้วย้ายออกจากห้องชุดที่เช่า โจทก์จึงรู้อยู่แล้วว่าจำเลยต้องการเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์ย่อมสามารถเตรียมจัดหาผู้เช่ารายใหม่แล้วบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้เพื่อบรรเทาความเสียหาย แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรกระทำได้ โจทก์จึงมีส่วนผิดด้วยในความเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม ลูกจ้างเบิกเงินผิดพลาด ธนาคารต้องรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับจำเลยที่ 1 โดยฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินแล้วนำมาถอนเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าว 21 ครั้ง การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ด้วยกันโดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อโจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้โดยชัดแจ้ง และในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเองแต่ไม่มีตัวโจทก์มา พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้วก็ย่อมจะทราบได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม ส่วนที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ทำไปโดยสุจริตเพราะเชื่อใจจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลาน การที่จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอมและการประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่าย
โจทก์มิได้เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะชั้นล่างภายในบ้านพักเป็นประจำเพราะบางครั้งก็วางไว้บนโต๊ะมิได้เก็บเข้าลิ้นชัก และ ย. ผู้เช่าบ้านอยู่ใกล้บ้านโจทก์เคยเข้าออกบ้านโจทก์ ซึ่งมิใช่คนแปลกหน้า การที่ ย. สามารถลักเช็คของโจทก์ไปได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่ ย. ซึ่งปลอมลายมือชื่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 นั้น เป็นคุณเฉพาะจำเลยที่ 2 หามีผลทำให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่ ทั้งนี้เพราะผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อก็ตาม
of 26