พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ตายจากความประมาท กรณีถนนก่อสร้างและไม่มีเครื่องหมายเตือน
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46กรณีไม่มีทางที่จะขยายไปถึงความเห็นของพนักงานสอบสวนให้เป็นการผูกมัดศาลที่พิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฉะนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำต้องถือตาม
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง
ขณะจำเลยนำสินค้าถ่านไม้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษขนาดใหญ่มาส่งมอบให้แก่ตัวแทนของโจทก์ที่ท่าเรือกรุงเทพ จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายอันแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษดังกล่าว ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้นั้น อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 33 ที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ส่งสินค้าอันตรายจะต้องปฏิบัติ และมาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ดังนั้นผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบด้วยมาตรา 33
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การแก้ไขคำฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความ
โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อคือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438-2439/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา, การลดค่าเสียหายจากความล่าช้าของโจทก์, และหลักการใช้ดุลพินิจของศาล
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ภายในกำหนดให้แก่โจทก์โจทก์รับมอบงานและชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ครบถ้วน ส่วนงวดที่ 4 ชำระเพียงบางส่วน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้บอกเลิกสัญญาหลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วโจทก์ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระในงวดที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 จากนั้นจำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 โจทก์ยอมรับมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 และชำระค่าจ้างให้ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ยังคงปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจ้างต่อไป โดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ และไม่จำต้องมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก แต่จำเลยที่ 1 กลับก่อสร้างงานงวดที่ 7 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายไม่แล้วเสร็จและละทิ้งงาน ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาแต่หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วคู่กรณีก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จตามสัญญาจ้าง เพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 และหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 223
จำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ซึ่งโจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ ย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนและให้ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนเป็นพับ โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้องเพราะสำนวนแรกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้เป็นคู่ความด้วย
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาแต่หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วคู่กรณีก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จตามสัญญาจ้าง เพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 และหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 223
จำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ซึ่งโจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ ย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนและให้ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนเป็นพับ โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้องเพราะสำนวนแรกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้เป็นคู่ความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438-2439/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมางาน: การชำระค่าจ้างล่าช้าและการละทิ้งงานส่งผลให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียน กำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดรวม 7 งวด จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ภายในกำหนดแก่โจทก์ โจทก์รับมอบงานและชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ครบถ้วน ส่วนงวดที่ 4 โจทก์ชำระค่าจ้างไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงกัน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้บอกเลิกสัญญา หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแล้ว โจทก์ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระในงวดที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยอมรับค่าจ้างดังกล่าว จากนั้นจำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 โจทก์ก็ยอมรับมอบงานและชำระค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจ้างต่อไป โดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ แต่จำเลยที่ 1 กลับดำเนินการก่อสร้างงานงวดที่ 7 ไม่แล้วเสร็จก็ละทิ้งงานทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า ในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับวันละ 5,946 บาท แต่เมื่อครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจ้างแล้ว คู่กรณีโดยจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์ก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จเท่านั้น
ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเป็นการเรียกค่าเสียหายเพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 โจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเดือนกันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ 4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างบุคคลภายนอกให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือเมื่อเดือนมีนาคม 2540 หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งความล่าช้า ดังนี้ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นดังกล่าวย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์โดยใช่เหตุรวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า ในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับวันละ 5,946 บาท แต่เมื่อครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจ้างแล้ว คู่กรณีโดยจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์ก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จเท่านั้น
ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเป็นการเรียกค่าเสียหายเพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 โจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเดือนกันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ 4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างบุคคลภายนอกให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือเมื่อเดือนมีนาคม 2540 หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งความล่าช้า ดังนี้ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นดังกล่าวย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์โดยใช่เหตุรวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8994/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททั้งสองฝ่าย: การกลับรถไม่ปลอดภัยและขับรถเร็วลงเนิน ทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้
ความประมาทของจำเลยที่ 1 เกิดจากการกลับหรือเลี้ยวรถในลักษณะไม่ปลอดภัยในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ขับหรือกลับรถตัดหน้ารถยนต์ที่ ส. ขับมาในระยะกระชั้นชิดตามที่โจทก์ฟ้อง หาก ส. ขับรถยนต์ลงจากเนินด้วยความเร็วที่ไม่สูงและใช้ความระมัดระวังพอสมควรก็จะไม่เกิดเหตุชนกัน จึงถือได้ว่า ส. มีส่วนประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้ โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ ส. จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องไล่เบี้ยแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย, ความประมาทเลินเล่อร่วม, และการระงับข้อพิพาท
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม.และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า แต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเองโดย ม. จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับไปดำเนินการซ่อมและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป แสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง และไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททั้งสองฝ่ายในอุบัติเหตุทางแยกทางเอกตัดกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
บริเวณสี่แยกที่เกิดเหตุต่างเป็นทางเอกตัดกัน ไม่มีป้ายสัญญาณจราจร ผู้ขับรถทั้งสองทางจึงต้องหยุดรอให้รถที่อยู่ในทางร่วมทางแยกผ่านไปก่อน แต่พฤติการณ์ที่รถทั้งสองคันชนกัน แสดงว่าต่างแล่นมาถึงสี่แยกในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่ได้ความชัดว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาถึงก่อน กรณีเช่นนี้หากทั้งสองฝ่ายใช้ความระมัดระวังดูให้ปลอดภัยก่อนเข้าสี่แยกก็สามารถหยุดให้รถอีกฝ่ายหนึ่งแล่นผ่านสี่แยกไปได้โดยไม่เกิดเหตุชนกันขึ้น การที่รถทั้งสองคันเกิดชนกันเช่นนี้เห็นได้ว่าเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีส่วนประมาทไม่ใช้ความระมัดระวังดูให้ปลอดภัยก่อนขับรถเข้าสู่สี่แยก และเป็นความประมาทที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ค่าเสียหายของรถทั้งสองคันจึงต่างต้องตกเป็นพับกันไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถไฟ: การลดค่าเสียหายจากเหตุรถชน
จำเลยขับรถยนต์เก๋งโดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟในขณะที่มีรถไฟแล่นผ่านจึงถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เก๋งเสียหายเล็กน้อยแต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้รถไฟถูกรถยนต์เก๋งของจำเลยชนได้รับอันตรายสาหัสถึงกับขาหักทั้งสองข้างดังนี้แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟดังกล่าวจะมีผู้โดยสารแน่นจนไม่มีที่นั่งโจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูขึ้นลงของตู้ขนสัมภาระก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วยจึงควรลดค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาลงบ้างแต่ข้อเท็จจริงยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยซึ่งจะทำให้เสียค่าเสียหายเป็นพับดังที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถไฟ ศาลลดค่าเสียหายจากความเสี่ยงที่ผู้โดยสารนั่งในที่อันตราย
จำเลยขับรถยนต์เก๋งโดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟในขณะที่มีรถไฟแล่นผ่านจึงถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เก๋งเสียหายเล็กน้อย แต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้รถไฟถูกรถยนต์เก๋งของจำเลยชนได้รับอันตรายสาหัสถึงกับขาหักทั้งสองข้างดังนี้ แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟดังกล่าวจะมีผู้โดยสารแน่นจนไม่มีที่นั่ง โจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูขึ้นลงของตู้ขนสัมภาระก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จึงควรลดค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาลงบ้าง แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยซึ่งจะทำให้เสียค่าเสียหายเป็นพับดังที่จำเลยฎีกาไม่