พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หากเกิดความเสียหายจากการถูกหลอกลวง ธนาคารต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายบางส่วน
จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ และให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับการเงิน รับฝากเงิน และให้บริการการใช้หรือโอนเงินทาง xxx application online ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ จึงเป็นผู้รับฝากซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม ปรากฏว่า ระหว่างเวลา 23.41 นาฬิกา ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึงเวลา 2.01 นาฬิกา ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี รวม 12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท การโอนเงินที่เป็นการโอนจำนวนย่อยหลายครั้งติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกันในเวลากลางคืน จากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่นโดยเป็นบัญชีเดียวกันหรือชื่อบัญชีเดียวกัน ย่อมเป็นพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะต้องทราบถึงวิธีการดังกล่าวและย่อมสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกติและอาจเป็นการกระทำของมิจฉาชีพผู้ประกอบอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการกระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวด้วย การที่จำเลยแจ้งเตือนให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการต่าง ๆ ระมัดระวังอีเมลหลอกลวงจากมิจฉาชีพหรือที่เรียกว่า Phishing Email มาตลอด โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า "แจ้งเตือน กรุณาอย่าหลงเชื่ออีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ xxx ไม่มีนโยบายในการส่งอีเมลใด ๆ เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูล ชื่อผู้ใช้งาน Password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยเด็ดขาด" และ "แจ้งเตือนโปรดระวังอีเมลแอบอ้าง (Phishing Email) ว่าเป็นอีเมลจากธนาคารหลอกลวงให้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ปลอมเพื่อความปลอดภัยกรุณาพิมพ์ www.xxx.com" ตามเว็บไซต์ของจำเลยในการเข้าระบบ ลูกค้าต้องใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ลูกค้าสมัครไว้กับธนาคารเข้าสู่ระบบและต้องใส่รหัสโอทีพี (OTP หรือ One Time Password) ที่ระบบธนาคารส่งให้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าเพื่อยืนยันการทำธุรกรรมอีกขั้นตอนหนึ่งจึงจะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชีของตนได้ มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการป้องกันความเสียหายแก่การทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้ลูกค้าที่ใช้บริการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงเพื่อให้ส่งมอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้เพื่อนำไปใช้กระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบซึ่งเป็นข้อควรระวังในด้านของลูกค้า แต่มาตรฐานของจำเลยในการป้องกันการโอนเงินที่เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบดังกล่าวควรจะมีอยู่อย่างไร จำเลยควรจะป้องกันหรือระงับยับยั้งการโอนเงินที่มีความผิดปกติดังกล่าวเมื่อมีการโอนเงินผ่านไปแล้วกี่ครั้ง และเหตุใดพนักงานของจำเลยเพิ่งจะโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินดังกล่าวครั้งที่ 12 และโอนเงินไปรวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท แล้ว ซึ่งมาตรการในการป้องกันความเสียหายที่เหมาะสมหรือสมควรดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นของจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ในส่วนนี้ แต่จำเลยกลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีมาตรการในการป้องกันหากเกิดการโอนเงินหรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบในส่วนนี้เลยและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีมาตรการในการป้องกันความเสียหายในส่วนนี้อย่างเพียงพอ แม้ในการโอนเงินจำเลยได้มีข้อความแจ้งเตือนไปยังโจทก์ทุกครั้งที่ทำการโอนเงินรวม 12 ครั้ง และพนักงานของจำเลยได้โทรศัพท์ไปหาโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินครั้งที่ 12 แล้ว มาตรการดังกล่าวถือว่าไม่เพียงพอต่อการป้องกันการโอนเงินหรือการทำรายการหรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบ นอกจากนี้ได้ความว่าโจทก์มิใช่รายแรกที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้และมีอีกหลายรายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบถึงพฤติกรรมการหลอกลวงและวิธีการโอนเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวเช่นเดียวกับคดีนี้มาก่อนทั้งเหตุเกิดซ้ำ ๆ กับลูกค้าจำนวนมาก จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะและในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมระบบมีความสามารถในการตรวจสอบหรือทราบถึงความผิดปกติในการทำรายการต่าง ๆ ได้แต่เพียงฝ่ายเดียวยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังและหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายดังเช่นที่เกิดในคดีนี้อีก หาใช่ว่าหากมีการกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่สามารถยืนยันตัวตนได้แล้วบุคคลดังกล่าวจะสามารถดำเนินการธุรกรรมอย่างใดก็ได้โดยจำเลยไม่มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้มีการโอนเงินที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการ ค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้รับอีเมลที่ไม่ได้มาจากจำเลยและมีข้อความเชื่อมโยงหรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เลียนแบบเว็บไซต์ธนาคารจำเลย และโจทก์กรอกชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ในเว็บไซต์ดังกล่าว ทำให้มีคนร้ายทราบถึงชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ของโจทก์ และนำไปใช้สมัคร xxx App ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโจทก์ยังได้กรอกหมายเลขโอทีพี (OTP หรือ One Time password) ในเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถสมัครใช้บริการ xxx App ได้สำเร็จและเกิดการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีอื่น โจทก์เป็นผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก่อนเกิดเหตุเป็นเวลากว่า 10 ปี ทั้งตามใบแจ้งรายการบัญชีออมทรัพย์โจทก์ก็ได้ทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง โจทก์ย่อมมีความเข้าใจในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดังกล่าวและย่อมทราบถึงคำเตือนของจำเลยตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ของจำเลย โจทก์จึงควรมีความระมัดระวังในการตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมดังกล่าวมากกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วย พฤติกรรมของโจทก์และจำเลยจึงถือว่ามีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในคดีนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันและเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 550,000 บาท เมื่อค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเป็นหนี้เงินหากชำระล่าช้าย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งค่าเสียหายของหนี้เงินตามปกติย่อมคิดกันในรูปของดอกเบี้ย จึงเห็นควรกำหนดให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โดยควรให้ในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนค้าต่าง บริหารจัดการเรือ สัญญาจ้างสำรวจเรือ ผู้รับจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบค่าบริการ
ตามคำฟ้องเป็นการกล่าวอ้างให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วในฐานะที่จำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. จากเจ้าของเรือทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการสำรวจและจัดชั้นเรือ (Classification) รวมทั้งออกหนังสือรับรองและทำรายงานการตรวจสภาพเรือ อ. นั้น เป็นการบรรยายให้เห็นถึงมูลเหตุและสถานะของจำเลยที่เข้าทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ และเพื่อให้การนำเรือที่จำเลยเป็นผู้บริหารจัดการออกให้บริการในน่านน้ำไทยได้ จำเลยจึงจำเป็นต้องนำเรือดังกล่าวไปตรวจสภาพและขอรับการจัดชั้นเรือพร้อมทั้งขอรับใบรับรองสถานภาพเรือจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความชำนาญและมีหน้าที่โดยตรงซึ่งก็คือโจทก์นั่นเอง หาใช่โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนซึ่งเข้าทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ ส่วนจำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนเจ้าของเรือซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศมาเลเซียและโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อันเป็นการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยอ้างเหตุว่าจำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ แต่จำเลยทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ตรวจเรือแทนตัวการหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ทำไปแล้วหลังจากจำเลยเลิกสัญญาหรือไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยในฐานะตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทผิดไปจากข้ออ้างและข้อเถียง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาและการรับช่วงสิทธิ: ผู้รับจ้างทำของต้องเรียกร้องจากผู้รับจ้าง ไม่ใช่ผู้เก็บของ
บริษัท ส. ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท บ. ตัดและแปรรูปเหล็กม้วนเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า และบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของบริษัท ส. ด้วย เมื่อบริษัท ส. ได้รับสินค้าจากผู้ขนส่งทางเรือแล้วได้ส่งมอบแก่บริษัท บ. ในสภาพเรียบร้อย และบริษัทดังกล่าวไปฝากให้จำเลยเก็บรักษาไว้โดยบริษัท บ. เป็นผู้ทำสัญญาฝากสินค้าเหล็กม้วนนี้เก็บในคลังสินค้ากับจำเลย โดยไม่ได้ความว่าบริษัทดังกล่าวทำสัญญานี้แทนบริษัท ส. แต่อย่างใด เมื่อเกิดความเสียหายแก่สินค้าเหล็กม้วนดังกล่าวก็เป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้าต่อบริษัท บ. คู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้า จำเลยหาได้มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้านี้ต่อบริษัท ส. ซึ่งมิใช่คู่สัญญากับจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้นกรณีเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่บริษัท ส. คู่สัญญาจ้างทำของต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายของสินค้าตามสัญญาจ้างทำของจากบริษัท บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับจำเลยเท่านั้น หาใช่กรณีบริษัท ส. ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดให้ผิดไปจากความรับผิดโดยตรงของคู่กรณีที่มีต่อกันตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้าและสัญญาจ้างทำของได้อีกไม่ ดังนั้นบริษัท ส. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในความเสียหายของสินค้าตามฟ้อง แม้โจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัท ส. ตามสัญญาประกันภัยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเช่นเดียวกับบริษัท ส. จำเลยรวมทั้งจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจากจำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11029/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารร่วมรับผิดเช็คเละ เหตุไม่ระมัดระวังการจ่ายเช็คจำนวนมากเกินปกติ
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์โดยเพิ่มเติมจำนวนตัวเลขและตัวหนังสือในเช็คเงินสดที่เรือนจำกลางชลบุรีสั่งจ่ายในนามของจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำไปเบิกถอนเงินมาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ แต่จำเลยที่ 1 ใช้เช็คขอเบิกเงินสดถึง 15,558,406 บาท เป็นการใช้เช็คเบิกเงินสดที่มากผิดปกติ เช่นนี้ โดยหน้าที่ตามสัญญารับฝากเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม และตามระเบียบภายในของธนาคารจำเลยที่ 2 พนักงานผู้ทำหน้าที่ตรวจรับเช็คและอนุมัติจ่ายเงินควรที่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังและพิจารณาด้วยความรอบคอบ และควรที่จะสงสัยถึงขนาดที่ควรจะสอบถามเรือนจำกลางชลบุรี ผู้สั่งจ่ายว่าได้ออกเช็คจ่ายเงินจำนวนมากดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 มาเบิกเงินสดไปจริงหรือไม่ การที่พนักงานของจำเลยที่ 2 ไม่ได้สอบถามผู้สั่งจ่าย และยอมจ่ายเงินตามที่ระบุในเช็คดังกล่าวไป ถือได้ว่าเป็นการละเว้นไม่กระทำการที่จะต้องกระทำเป็นการผิดสัญญารับฝากเงินและเป็นละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของอู่ซ่อมรถต่อการสูญหายของรถยนต์ที่อยู่ในความครอบครอง และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
รถยนต์กระบะคันพิพาทเข้าซ่อมที่อู่ของจำเลยที่ 2 และในระหว่างที่ทำการซ่อมรถยนต์ได้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่ารถยนต์กระบะพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องเก็บรักษารถยนต์กระบะคันพิพาทไว้ในที่ปลอดภัยในระหว่างการซ่อม ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหายหรือเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์กระบะคันพิพาทไปจอดไว้บริเวณที่ว่างหน้าอู่โดยไม่มีรั้วรอบขอบชิดอันเป็นเครื่องป้องกันการเคลื่อนย้ายรถยนต์และไม่ได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษารถยนต์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อรถยนต์คันพิพาทหายไปจำเลยที่ 2 ก็ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ช. เจ้าของรถยนต์กระบะคันพิพาทเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในเหตุที่รถยนต์กระบะคันพิพาทหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของตน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวนับได้ว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหาย การปฏิบัติต่อลูกค้าของจำเลยที่ 2 ในการนำรถยนต์ที่นำมาซ่อมแล้วไม่เสร็จจอดไว้บริเวณหน้าอู่ มิได้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์สูญหายแต่อย่างใดและการที่ไม่เคยมีรถยนต์สูญหายหรือได้รับความเสียหายมิได้เป็นหลักประกันว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10082/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ กรณีรถหายจากการโจรกรรม ศาลฎีกาพิจารณาความระมัดระวังตามวิญญูชน
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากรถยนต์คันพิพาทไว้โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับคนทั่วๆ ไปในภาวะเช่นนั้นว่าควรจะพึงใช้ความระมัดระวังเช่นไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าอู่ซ่อมรถของจำเลยโดยได้ล็อกประตูและล็อกพวงมาลัยรถยนต์คันพิพาท ส่วนตัวจำเลยก็นอนอยู่ภายในอู่ดังกล่าว เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์รถดังขึ้นก็ได้ลุกขึ้นดู ปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทหายไปก็ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาทราบและออกติดตามคนร้ายกับเจ้าพนักงานตำรวจด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นแล้ว
อู่ซ่อมรถของจำเลยเป็นห้องแถวและเป็นอู่ขนาดเล็ก บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าของอู่จะถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหาได้ไม่
อู่ซ่อมรถของจำเลยเป็นห้องแถวและเป็นอู่ขนาดเล็ก บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าของอู่จะถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม ลูกจ้างเบิกเงินผิดพลาด ธนาคารต้องรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับจำเลยที่ 1 โดยฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินแล้วนำมาถอนเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าว 21 ครั้ง การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ด้วยกันโดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อโจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้โดยชัดแจ้ง และในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเองแต่ไม่มีตัวโจทก์มา พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้วก็ย่อมจะทราบได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม ส่วนที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ทำไปโดยสุจริตเพราะเชื่อใจจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลาน การที่จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหาย จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทในเครือ
การที่จำเลยจัดหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัทดังกล่าวมีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง และเนื่องจากสินค้าได้สูญหายเพราะถูกคนร้ายลักเอาไป ทำให้การส่งคืนสินค้าแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยซึ่งเกิดจากจำเลยกับพวกไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าต่อโจทก์
เมื่อสินค้าได้สูญหายไปอันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามราคาของสินค้าที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่สินค้านั้นสูญหายไป โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าที่สูญหายมาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย จำเลยย่อมทราบดีเพราะจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปี การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยแต่โจทก์นำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายอันแท้จริงไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
หนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าที่สูญหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนแน่นอนแล้วและโจทก์จะต้องรับผิดชำระหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้นำหนี้ทั้งสองจำนวนมาหักกลบลบกันได้โดยให้มีผลในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้
จำเลยได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย 2 จำนวนพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และวันที่ 18 เมษายน 2541 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวน เมื่อคิดระยะเวลานับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนจนถึงวันฟ้องแย้งจะเป็นระยะเวลา 8 เดือน 19 วันกับ 7 เดือน 16 วัน แต่จำเลยขอคิดระยะเวลาที่จะนำมาคำนวณดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องเพียง 8 เดือนและ7 เดือน ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งโดยคิดดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนแรกนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และในต้นเงินจำนวนที่ 2 นับแต่วันที่ 18 เมษายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินคำขอในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
เมื่อสินค้าได้สูญหายไปอันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามราคาของสินค้าที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่สินค้านั้นสูญหายไป โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าที่สูญหายมาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย จำเลยย่อมทราบดีเพราะจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปี การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยแต่โจทก์นำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายอันแท้จริงไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
หนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าที่สูญหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนแน่นอนแล้วและโจทก์จะต้องรับผิดชำระหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้นำหนี้ทั้งสองจำนวนมาหักกลบลบกันได้โดยให้มีผลในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้
จำเลยได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย 2 จำนวนพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และวันที่ 18 เมษายน 2541 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวน เมื่อคิดระยะเวลานับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนจนถึงวันฟ้องแย้งจะเป็นระยะเวลา 8 เดือน 19 วันกับ 7 เดือน 16 วัน แต่จำเลยขอคิดระยะเวลาที่จะนำมาคำนวณดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องเพียง 8 เดือนและ7 เดือน ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งโดยคิดดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนแรกนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และในต้นเงินจำนวนที่ 2 นับแต่วันที่ 18 เมษายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินคำขอในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์และการกำหนดค่าทนายความ ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยและข้อความไม่ชอบในการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์นำรถยนต์ไปฝากไว้กับจำเลย จำเลยเรียกเก็บค่าฝากเป็นรายเดือน มีระเบียบว่าเจ้าของรถต้องฝากกุญแจไว้กับจำเลยเพื่อจำเลยเลื่อนรถได้ในกรณีที่มีรถอื่นเข้ามาจอด ซึ่งโจทก์ได้มอบกุญแจรถให้จำเลยทุกครั้งที่มาจอดพฤติการณ์ดังกล่าว เป็นการรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ หาใช่เป็นเรื่องให้เช่า สถานที่จอดรถไม่ โจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ผูกพันเจ้าของสินค้า
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัยกวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไรได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุ ได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้า อันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใด กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลยเมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลยจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดย อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 มาตรา 29(1) และมาตรา 9(4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้น ฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้