พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประกาศกรมศุลกากรเกี่ยวกับยาใช้ภายนอกและยาใช้เฉพาะที่ และผลต่อการลดอัตราอากร
ตามพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530ให้คำนิยามคำว่ายาใช้ภายนอกและยาใช้เฉพาะที่แบ่งแยกกันไว้โดยเฉพาะโดยยาใช้ภายนอกจะไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่ซึ่งแตกต่างไปจากคำนิยามตามพระราชบัญญัติ ยาพ.ศ.2510ซึ่งจะมียาที่เป็นทั้งสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันได้ฉะนั้นภายหลังใช้พระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530แล้วจะไม่มียาที่เป็นทั้งสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันได้เลยดังนั้นหากจะแปลความหมายของประกาศกรมศุลกากรที่46/2531ลำดับที่60ที่กำหนดว่าจะต้องเป็นยาที่มีสารออกฤทธิ์4ตัวคือ แคมเฟอร์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส เมนทอลและ เมทิลซาลิซิเลต ชนิดครีมชนิดขี้ผึ้งชนิดน้ำสำหรับใช้ภายนอกและเฉพาะที่ซึ่งประกาศใช้ภายหลังพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่5)พ.ศ.2530ว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ด้วยก็จะไม่มียาชนิดใดตรงตามประกาศข้อนี้จะทำให้ประกาศข้อนี้ไม่มีผลใช้บังคับเลยความมุ่งหมายของประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวมีความหมายว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกชนิดหนึ่งและเป็นยาน้ำสำหรับใช้เฉพาะที่อีกชนิดหนึ่งหาได้มีความหมายว่าต้องเป็นทั้งยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันไม่เมื่อยาน้ำมัน กวางลุ้งของโจทก์เป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกจึงต้องตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.1/2528,ศก.1/2531และศก.7/2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตีความพิกัดอัตราศุลกากรของอธิบดีกรมศุลกากร และการจัดประเภทสินค้า (ยาอม) เพื่อการจัดเก็บภาษี
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503 มาตรา12 ให้อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความสั่งเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรให้ถูกต้องได้ ถ้าหากการจัดพิกัดอัตราศุลกากรตามที่ถือปฏิบัติกันมายังไม่ถูกต้อง
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03ง.(32) ในลักษณะยาอื่นๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามา ในราชอาณาจักรแต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอ และหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้า พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่17.04 โดยถือเป็นลูกกวาดซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกันจะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03ง.(32) ในลักษณะยาอื่นๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามา ในราชอาณาจักรแต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอ และหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้า พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่17.04 โดยถือเป็นลูกกวาดซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกันจะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความพิกัดอัตราศุลกากร และการจัดพิกัดสินค้า (ยาอม) เป็นลูกกวาดเพื่อเสียภาษี
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา12 ให้อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความสั่งเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรให้ถูกต้องได้ ถ้าหากการจัดพิกัดอัตราศุลกากรตามที่ถือปฏิบัติกันมายังไม่ถูกต้อง
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03 ง. (32) ในลักษณะยาอื่น ๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519 ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอและหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 17.04 โดยถือเป็นลูกกวาด ซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03 ง. (32) ในลักษณะยาอื่น ๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519 ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอและหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 17.04 โดยถือเป็นลูกกวาด ซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายยาปลอม ต้องพิสูจน์ได้ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นยาปลอมตั้งแต่แรก
การปรับบทลงโทษผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าผู้กระทำได้ขายหรือสั่งเข้ามาโดยรู้ว่าเป็นยาปลอม ตามฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเป็นยาปลอม และจำเลยก็ไม่ได้ให้การรับว่าได้รู้ว่าของกลางเป็นยาปลอมแต่แรก เพิ่งรู้ภายหลังเมื่อได้พิสูจน์แล้วจึงลงโทษจำเลยตามวรรคหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยา สถานพยาบาล และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต
คำว่า 'ขาย' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 หมายความถึงจำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในการค้า และมีไว้เพื่อขายด้วย
ยาที่จำเลยได้ขายและมีไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 126 ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งจำเลยใช้ในการรักษาพยาบาลคนไข้ในสถานพยาบาลซึ่งจำเลยเป็นผู้ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 38 เป็นกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนและได้ดำเนินการต่อไปเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล แต่ได้เปิดดำเนินการสถานพยาบาลการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมดังนั้นการที่โจทก์อ้างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว มาขอให้ลงโทษจำเลยเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายเลย ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องได้เอง
ความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ฯ พระราชบัญญัติยา ฯขายยาและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งได้กระทำในระหว่างวันเวลาเดียวกัน เป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษเรียงกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2514 ข้อ2
ยาที่จำเลยได้ขายและมีไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 126 ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งจำเลยใช้ในการรักษาพยาบาลคนไข้ในสถานพยาบาลซึ่งจำเลยเป็นผู้ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 38 เป็นกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนและได้ดำเนินการต่อไปเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล แต่ได้เปิดดำเนินการสถานพยาบาลการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมดังนั้นการที่โจทก์อ้างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว มาขอให้ลงโทษจำเลยเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายเลย ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องได้เอง
ความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ฯ พระราชบัญญัติยา ฯขายยาและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งได้กระทำในระหว่างวันเวลาเดียวกัน เป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษเรียงกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2514 ข้อ2