พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแพ่งรับฟ้องข้ามเขต: ดุลพินิจพิจารณาคดีแม้ข้อกฎหมายกำหนดเขตศาล
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลแพ่งรับฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามกฎหมายต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลแพ่งชอบพิจารณาคดีอสังหาริมทรัพย์นอกเขต แม้ฟ้องผิดศาลแรก แต่ศาลรับฟ้องแล้ว
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตามแต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้วย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(4)ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วโดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานนอกประเด็นที่ศาลฎีกาย้อนสำนวน: ห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ศาลฎีกาได้พิพากษาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเรื่องอำนาจฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งตามฟ้องหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นได้สืบพยานในเรื่องดังกล่าวแล้วยังได้สืบพยานในประเด็นอื่นจนสิ้นกระแสความอีกด้วย ดังนี้ เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณานอกเหนือคำพิพากษาศาลฎีกา การสืบพยานประเด็นอื่นของศาลชั้นต้นไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นโดยชอบ ฎีกาของโจทก์ข้อที่ว่าการที่ศาลแพ่งสืบพยานประเด็นอื่นด้วยเท่ากับศาลแพ่งใช้ดุลพินิจรับพิจารณาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) แล้ว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน & อำนาจศาลอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้อง: โจทก์ไม่เป็นโจทก์ในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)ซึ่งจะเป็นฟ้องซ้อนนั้น โจทก์ในคดีแรกต้องเป็นโจทก์ในคดีหลังด้วยเมื่อโจทก์ในคดีนี้ของศาลแพ่งไม่ได้เป็นโจทก์ในคดีก่อนของศาลจังหวัดชลบุรี ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน คดีนี้เดิมศาลแพ่งมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ ต่อมาได้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นแล้วมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ได้รับฟ้อง เป็นไม่รับฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลแพ่งที่เพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้องให้ศาลชั้นต้นรับฟ้อง ดังนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นพ้องกับศาลแพ่งที่สั่งไม่รับฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลแพ่งได้รับฟ้องของโจทก์นัดชี้สองสถานกำหนดให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม โจทก์เสียค่าขึ้นศาลครบแล้ว เป็นการรับฟ้องโจทก์ไว้โดยอาศัยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) แล้วก็หาชอบที่จะใช้ดุลพินิจเพิกถอนคำสั่งของตนไม่ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งศาลแพ่งที่ไม่รับฟ้องโจทก์เสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนของกองปราบปรามในคดีอาญาที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักรชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยออกโดย อาศัยอำนาจตาม ความในมาตรา 6แห่ง พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตาม บทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร และตาม ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2519ข้อ 15(ก)7 กำหนดให้กองกำกับการ 7 ซึ่ง เป็นหน่วยงานสังกัดกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนคดีอาญาต่าง ๆ ตาม กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น การสอบสวนคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่ง มิได้ทำการสอบสวนโดย พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ความผิดได้ เกิดขึ้น แต่ เป็นการสอบสวนโดย เจ้าพนักงานตำรวจแผนก 3 กองกำกับการ 7 กองปราบปราม จึงถือ ว่าเป็นการสอบสวนโดยเจ้าพนักงานซึ่ง กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนที่ ชอบด้วย กฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(6)120พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องคดีต่อ ศาลอาญา ซึ่ง มี อำนาจรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จเป็นพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่ง
การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีอาญา หาใช่เป็นคดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 ดังนี้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รับคดีไว้พิจารณาหมายความว่าให้รับคดีนี้ไว้ไต่สวนมูลฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 162(1) ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นประทับฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จะถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รับคดีไว้พิจารณาหมายความว่าให้รับคดีนี้ไว้ไต่สวนมูลฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 162(1) ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นประทับฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จะถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการรับคำร้อง: ศาลแพ่งมีอำนาจรับคำร้องแม้มีข้อโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจ หากได้เริ่มกระบวนการพิจารณาแล้ว
การที่ศาลแพ่งได้รับคำร้องของผู้ร้อง ส่งสำเนาให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามคัดค้าน และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จนกระทั่งมีการนัดไต่สวนพยานของผู้คัดค้านไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ให้อำนาจไว้แล้ว ศาลแพ่งชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ศาลใช้ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครโจทก์ขอแก้ฟ้องโดยแก้ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง และยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต ดังนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 4 เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่ศาลแพ่งยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจของศาลแพ่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) เมื่อศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามคำร้องขอของโจทก์ ก็แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจ ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แล้ว คำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลแพ่งของโจทก์ แม้ข้อความในคำร้องของโจทก์บางตอนเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) ศาลแพ่งก็มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาล การใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ตามสัญญาเช่า และอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่สำหรับอำนาจของศาลแพ่งนั้นยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งด้วยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา14 (4) คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดนนทบุรี จำเลยทั้งสองก็มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนนทบุรี ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จ แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากวัดโจทก์เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาล ไม่มีข้อความระบุให้ใช้ทรัพย์ที่เช่าเพื่อการอย่างอื่น การที่จำเลยนำที่ดินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงปลูกบ้านอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ทรัพย์เพื่อการอย่างอื่นผิดวัตถุประสงค์ตามสัญญา เป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาได้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากวัดโจทก์เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาล ไม่มีข้อความระบุให้ใช้ทรัพย์ที่เช่าเพื่อการอย่างอื่น การที่จำเลยนำที่ดินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงปลูกบ้านอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ทรัพย์เพื่อการอย่างอื่นผิดวัตถุประสงค์ตามสัญญา เป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาได้