พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆ ซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆ ซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในคดีละเมิด และสิทธิในการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล
จำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งบุคคลเดินรถโดยสารประจำทาง ได้เช่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 มาใช้ในการเดินรถโดยสารของตนโดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็น คนขับ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แม้นายจ้างของโจทก์จะได้ออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ไปแล้วก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์พ้นความรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการเดินรถจากการกระทำของคนขับรถรับจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งรับจ้างสาธารณะ คันหมายเลขทะเบียน 1 ท-3725 และนำไปวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะคันดังกล่าวเป็นประจำ หรือจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 เชิดจำเลยที่ 3 ออกแสดงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1โดยการขับรถยนต์สาธารณะคันดังกล่าว ซึ่งมีตรา หรือเครื่องหมายอันเป็นสัญญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ประตูด้านหลังของรถยนต์คันดังกล่าวและยังบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการใช้รถยนต์คันดังกล่าวรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร จำเลยที่2 จึงต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วยแสดงให้เห็นว่านอกจากโจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานนายจ้างของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะจำเลยที่ 3 เชิดให้ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการเดินรถรับจ้างจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กรณีมีตัวการตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งรับจ้างสาธารณะ คันหมายเลขทะเบียน 1 ท-3725 และนำไปวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ รถยนต์รับจ้างสาธารณะคันดังกล่าวเป็นประจำ หรือจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 เชิดจำเลยที่ 3 ออกแสดงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1โดยการขับรถยนต์สาธารณะคันดังกล่าว ซึ่งมีตราหรือเครื่องหมายอันเป็น สัญญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ประตูด้านหลังของรถยนต์คันดังกล่าว และยังบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการใช้รถยนต์คันดังกล่าวรับจ้างขนส่งผู้โดยสารจำเลยที่2 จึงต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วยแสดงให้เห็นว่านอกจากโจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานนายจ้างของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะจำเลยที่ 3 เชิดให้ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ละเมิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พ. ลงนามในสัญญารับเหมาสร้างทางในฐานะทำแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 สัญญามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เมื่อ พ. และคนงานสร้างทางตัดฟันต้นไม้และแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด จะมารื้อฟื้นยกขึ้นเป็นข้อฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่ารถไม่ต้องรับผิดในละเมิดจากผู้เช่า หากการให้เช่าไม่ขัดกฎหมายควบคุมการขนส่ง
กฎกระทรวงฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 ข้อ 8(5) ที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคนในท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องไม่ยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำกัดหรือสมาชิกของสหกรณ์หรือบุคคลอื่นเช่ารถของบริษัทจำกัดหรือสหกรณ์ไปหารายได้นั้นมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อควบคุมการประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบุคคลภายนอก หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการฝ่าฝืนกฎกระทรวงโดยนำรถของตนไปให้บุคคลอื่นเช่าหารายได้ ก็อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรืออาจถูกนายทะเบียนยานพาหนะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเท่านั้น ผู้รับอนุญาตให้ประกอบการหาจำต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและการพิพากษาคดีอาญาที่มีผลผูกพันในคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 1 ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส.แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ส.ขับ ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส.แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ส.ขับ ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและการรับผิดในผลละเมิด การวินิจฉัยนอกประเด็นและผลของคำพิพากษาในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 1 ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส. แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ ส.ขับลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
จำเลยที่ 1 กับ ส.ลูกจ้างของโจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คร่อมเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนและล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของ ส. แล้วเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่ ส.ขับลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ยกฟ้อง ส. ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 หากไม่มีหลักฐานการเป็นตัวแทน และการระงับมูลหนี้ละเมิด
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับตัวแทนของโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ มิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 2 ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือแสดงการตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยก็ลงในฐานะเป็นพยานเจ้าของรถ หาใช่กระทำในฐานะนายจ้างหรือคู่สัญญาไม่ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาท อันเป็นเหตุให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไปและโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างและตัวการเพื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ย่อมระงับ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาท อันเป็นเหตุให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไปและโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างและตัวการเพื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ย่อมระงับ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมจากผลละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างหรือตัวแทนทางการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1