คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 427

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากเหตุไฟไหม้: ตัวการ-ตัวแทน-ผู้กระทำละเมิดร่วม
ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้สวนยางพาราของโจทก์เสียหาย โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากการที่เพลิงไหม้สวนยางพาราซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาททำให้สวนยางพาราของโจทก์เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 1เป็นบุคคลนอกคดีส่วนอาญา ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนแพ่งต่อไป
จำเลยที่ 1 พาคนไปถางป่าในสวนแล้วจุดไฟเผาและขอให้จำเลยที่ 2 ช่วยดูแลไฟอย่าให้ลุกลาม จำเลยที่ 2 ได้ขอให้จำเลยที่ 3 ไปช่วยระวังไฟด้วย ถือไว้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการช่วยดูแลระมัดระวังมิให้เพลิงลุกลามไปยังที่อื่น แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดความระมัดระวังจนเป็นเหตุให้เพลิงลุกลามเข้าไปไหม้สวนยางพาราของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในผลแห่งละเมิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,427

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการลากจูงรถหุ้มเกราะ: โจทก์ควบคุมดูแลการผูกลวดสลิงเอง จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำแต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสินล้อวิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือเป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่นสะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูง โดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะนอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4 ยืนยันต่อจำเลยที่ 2ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะจะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้อง ลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้ การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะ ชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็กแต่ถ้าหากผูกหลายทบเจ้าด้วยกันก็เป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227,432 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการลากจูงรถและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสิบล้อ วิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือ เป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูงโดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และที่ 2 และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4ยืนยันต่อจำเลยที่ 2 ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะ จะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตราย และเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมกับตัวแทน: ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจากการใช้รถยนต์ร่วมกัน
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันพิพาทเข้าจดทะเบียนร่วมกับบริษัท ส.ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะนำรถยนต์คันพิพาทขนส่งคนโดยสารอันเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ส. จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกันกับบริษัท ส.ในการดำเนินกิจการขนส่งคนโดยสารด้วย
จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2นำเข้าจดทะเบียนร่วมขนส่งกับบริษัท ส.ออกไปรับจ้างขนส่งคนโดยสารตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ส.เป็นการร่วมกับบริษัท ส.เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ด้วยจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 427 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับจำเลยที่ 2เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีผลกระทบถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการต่อโจทก์ตามกฎหมายมาตราดังกล่าว เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 สามารถนำรถยนต์คันพิพาทออกขนส่งคนโดยสารได้ก็เพราะจำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันพิพาทเข้าจดทะเบียนร่วมกับบริษัท ส.ด้วย ไม่ใช่เพราะจำเลยที่ 1 เช่ารถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นความรับผิดนายจ้าง-ตัวแทน: ศาลฎีกาวินิจฉัยนอกประเด็นหากไม่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่แรก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เพราะเหตุจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้าง หรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 กรณีใดกรณีหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้เป็นประเด็นนายจ้างลูกจ้าง โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นความรับผิดนายจ้าง-ตัวแทน: ศาลฎีกาเน้นการวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด หากโจทก์ไม่โต้แย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่2และที่3ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2หรือเพราะเหตุจำเลยที่1เป็นตัวแทนของจำเลยที่2กรณีใดกรณีหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้เป็นประเด็นนายจ้างลูกจ้างแสดงว่าคู่ความประสงค์กำหนดประเด็นข้อพิพาทความรับผิดเรื่องนายจ้างลูกจ้างเพียงเหตุเดียวส่วนความรับผิดเรื่องตัวการตัวแทนเป็นอันหมดสิ้นไปเมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่1เป็นตัวแทนของจำเลยที่2กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะนายจ้างและจำเลยที่3ผู้รับประกันวินาศภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7549/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และคดีขอปลดเปลื้องทุกข์
โจทก์กล่าวในฟ้องถึงการกระทำของจำเลยแยกจากกันเป็นสองกรณี คือ จำเลยเป็นตัวการจ้างวานบุคคลอื่น ทำการขุดร่องน้ำในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวน ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังของบุคคลซึ่งจำเลยว่าจ้างทำให้โดนท่อน้ำประปาของโจทก์ ซึ่งฝังไว้บริเวณทางเข้าที่ดินโจทก์แตกหักเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเงิน 100 บาท จำเลยในฐานะตัวการและผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบต่อ ความเสียหายดังกล่าวกรณีหนึ่ง และหลังจากที่จำเลยจ้างบุคคลอื่นขุดร่องน้ำในที่ดินดังกล่าวซึ่งโจทก์ใช้เป็นที่ทำสวนและเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์แล้ว จำเลยได้เอาเครื่องสูบน้ำไปตั้งสูบน้ำขึ้นจากคลองชลประทานสัมปทวน เข้าไปในร่องน้ำดังกล่าว เป็นเหตุให้น้ำไหลเอ่อท่วมที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถปลูกพืชทำสวนในที่ดินนั้น ตลอดจนบริเวณพื้นที่รัศมีคลองชลประทานสัมปทวนได้อีกกรณีหนึ่ง ดังนี้ ในกรณีแรกโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ ค่าเสียหายในการซ่อมแซมท่อน้ำประปาเป็นเงิน 100 บาท เมื่อความเสียหายส่วนนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีหลัง โจทก์ขอให้บังคับจำเลยกลบร่องน้ำที่ขุดและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม กับห้ามจำเลยสูบน้ำจากคลองชลประทานสัมปทวนเข้าไปในร่องน้ำ ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการทำสวนในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวนที่จำเลยขุดร่องน้ำและที่ดิน ของโจทก์เป็นเงิน 1,500 บาท และค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ 1,000 บาท มาด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบและเมื่อคดีในส่วนนี้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6719/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง การฟ้องฐานนายจ้างต้องระบุชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ไม่ได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการ ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่แสดงให้เห็นชัดขึ้นว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 1 ไม่ว่าในฐานะใด อันเป็นการปฏิเสธฟ้องของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือไม่ ด้วยนั้น จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้องตามคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากการเปิดบัญชีด้วยเอกสารไม่ถูกต้อง และเจตนาโดยประมาทของผู้เสียหาย
แม้การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วยความประมาทเลินเล่อโดยเปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ ว.ในนามของโจทก์ที่ 1 โดยดูแต่เพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 มิได้ดูต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 และเปรียบเทียบรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 กับ ว.เป็นเหตุให้ ว.ถอนเงินที่ ช.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ในการขายคืนพันธบัตรรัฐบาลและโอนเงินที่ขายได้ตามเช็คขีดคร่อมที่ธนาคาร-แห่งประเทศไทยสั่งจ่ายแก่โจทก์ทั้งสองมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวไป อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เนื่องจาก ช.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสอง นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 ให้ ว.ไปขอเปิดบัญชีออมทรัพย์กับจำเลยที่ 2ได้ ถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นตัวการประกอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442จึงให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงกึ่งหนึ่ง
of 17