คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 427

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในความเสียหายจากการเปิดบัญชีด้วยเอกสารไม่ถูกต้อง และเจตนาโดยประมาทของผู้เสียหาย
แม้การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วยความประมาทเลินเล่อโดยเปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ ว.ในนามของโจทก์ที่ 1 โดยดูแต่เพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 มิได้ดูต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 และเปรียบเทียบรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 กับ ว.เป็นเหตุให้ ว.ถอนเงินที่ ช.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ในการขายคืนพันธบัตรรัฐบาลและโอนเงินที่ขายได้ตามเช็คขีดคร่อมที่ธนาคาร-แห่งประเทศไทยสั่งจ่ายแก่โจทก์ทั้งสองมาเข้าบัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวไป อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เนื่องจาก ช.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสอง นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ที่ 1 ให้ ว.ไปขอเปิดบัญชีออมทรัพย์กับจำเลยที่ 2ได้ ถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นตัวการประกอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442จึงให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการขุดคลองใกล้เขตที่ดินของผู้อื่น และข้อยกเว้นอายุความ
"คลอง" ก็คือสิ่งอื่นที่คล้าย "คู" ดังนั้น การขุดคลองจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 1342 ด้วย
การที่จำเลยตกลงให้บริษัท ก.เข้าขุดคลองในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยต้องรู้เห็นและต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อคลองที่ขุดขึ้นอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ไม่ถึง 1 เมตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา1342 วรรคสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจัดการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินของโจทก์ที่ติดต่อกับที่ดินที่จำเลยขุดคลอง มิใช่เรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขนส่งและการแก้ไขคำฟ้อง
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกัน หรือจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ 4" อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผย การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่า โรงสีชัยเจริญ 4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตร ซึ่งจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นหุ้นส่วน โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้น ข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 446
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 กับห้างหุันส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในสัญญาเดินรถ และความรับผิดร่วมของเจ้าของรถ
จำเลยที่ 3 เป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างสามล้อและส่งเสริมประกอบอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้างสามล้อมีพฤติการณ์ในลักษณะที่แสดงว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผยถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตาม ป.พ.พ.มาตรา 427,821 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุ ได้เข้าร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 เองก็ได้รับประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับจ้าง เช่นนี้แสดงว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 ดำเนินกิจการเดินรถยนต์รับจ้างสามล้อตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำการเชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เช่นกัน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของสหกรณ์และเจ้าของรถต่อการกระทำละเมิดของตัวแทน
จำเลยที่ 3 เป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างสามล้อและส่งเสริมการประกอบอาชีพผู้ขับ-รถยนต์รับจ้างสามล้อมีพฤติการณ์ในลักษณะที่แสดงว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับส่งคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้นจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427,821 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกินเหตุ ได้เข้าร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 เองก็ได้รับประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับจ้าง เช่นนี้แสดงว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 ดำเนินกิจการเดินรถยนต์รับจ้างสามล้อตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำการเชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เช่นกัน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมจำเลยร่วมในคดีแพ่ง: ศาลอนุญาตได้หากจำเลยเดิมอาจต้องรับผิดในฐานะตัวการหรือนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ประกอบการขนส่งใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1646 นนทบุรี แล้วโจทก์ยังระบุอีกว่า จำเลยเป็นนายจ้างหรือตัวการได้ใช้จ้างวานหรือเชิดให้ผู้มีชื่อซึ่งเป็นลูกจ้าง หรือตัวแทนขับรถคันดังกล่าว ดังนั้นแม้ต่อมาโจทก์จะแถลงว่ารถคันดังกล่าวเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิใช่ของจำเลยก็ตามแต่จำเลยอาจต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างหรือตัวการตามคำฟ้องอีกได้ จึงต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จำเลยก่อน การที่โจทก์ขอและศาลมีคำสั่งให้เรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่มีผลต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยเฉพาะ และไม่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบจะขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีได้ หาต้องฟ้องเป็นอีกคดีต่างหากไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถและผู้ใช้รถในฐานะตัวแทนจากการประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 80-3469 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้นำรถเข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับบริษัทจำเลยที่ 4 โดยรถคันดังกล่าวมีชื่อจำเลยที่ 4 ติดที่ข้างรถเห็นได้ชัดเจน และจำเลยที่ 4 รับว่ารถยนต์คันนี้ใช้บรรทุกสินค้าของจำเลยที่ 4 นำไปส่งให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการของจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลประโยชน์จากการนี้โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการ/นายจ้างเมื่อตัวแทน/ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดจากละเมิด คดีทิ้งฟ้องฎีกา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะตัวการหรือนายจ้างที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนหรือลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนหรือในทางการที่จ้าง เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีหนี้ที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มาร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตความรับผิดของตัวการ-ผู้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายแต่ละราย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับโจทก์ที่ 1แล้ว โจทก์ที่ 7 และที่ 8 มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงยุติสำหรับโจทก์ที่ 7 และที่ 8 การที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ประมาทตามฟ้องโจทก์นั้นเป็นการวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มิได้ประมาทแล้วย่อมผูกพันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีที่อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 จะมิได้เข้าเป็นคู่ความก็ต้องถือว่าอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 2 ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 1 จึงมิได้กระทำละเมิดและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีใหม่ซึ่งเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1
of 17