คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 427

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำลอง & ความรับผิดทางละเมิด: สหกรณ์ต้องรับผิดชอบการกระทำละเมิดของบุคคลที่แสดงตนเป็นตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นสหกรณ์จำกัดที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์ในการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถแท็กซี่ของตนวิ่งรับคนโดยสารโดยมีเครื่องหมายของจำเลยที่ 2 ติดไว้ที่ข้างรถทั้งสองข้าง แสดงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการวิ่งรับคนโดยสารตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขับรถแท็กซี่โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำลอง: สหกรณ์ต้องรับผิดในผลละเมิดของรถแท็กซี่ที่มีเครื่องหมายของสหกรณ์
จำเลยที่ 2 เป็นสหกรณ์จำกัดที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์ในการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถแท็กซี่ของตนวิ่งรับคนโดยสารโดยมีเครื่องหมายของจำเลยที่ 2 ติดไว้ที่ข้างรถทั้งสองข้าง แสดงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการวิ่งรับคนโดยสารตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน เมื่อจำเลยที่ 1ได้ขับรถแท็กซี่โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิด จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถแท็กซี่ต่อการกระทำละเมิดของคนขับที่ได้รับอนุญาตให้เช่ารถและวิ่งรับส่งผู้โดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็น เจ้าของรถแท็กซี่คันเกิดเหตุ ได้นำรถแท็กซี่ไปเข้าเป็นสมาชิกในสหกรณ์แท็กซี่ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1 นำออกไปวิ่งรับส่งคนโดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวแทนและเจ้าของรถ กรณีรถแท็กซี่ทำละเมิด
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า รถแท็กซี่คันที่เกิดเหตุเป็นรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3878กรุงเทพมหานครของอ. น้องชายจำเลยที่ 2 ไม่ใช่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นการฟ้องผิดตัวนั้น ปรากฏว่า ในข้อนี้จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร เท่านั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า รถแท็กซี่คันเกิดเหตุไม่ใช่คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถแท็กซี่ ได้นำรถแท็กซี่ หมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 2 ไปเข้าเป็นสมาชิกในสหกรณ์แท็กซี่ก่อน แล้วให้จำเลยที่ 1 นำออกไปวิ่งรับส่งคนโดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถที่ให้เช่าซื้อและอนุญาตใช้ประกอบการขนส่งต่อละเมิดที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้างผู้เช่า
จำเลยที่ 4 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถบรรทุก ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งเช่าซื้อรถบรรทุกคันเกิดเหตุ เพื่อให้นำไปประกอบกิจการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 เป็นผู้นำรถไปตรวจสภาพ ต่อทะเบียนรถและต่อใบอนุญาตประกอบการขนส่งทุกปี จำเลยที่ 3 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในกิจการขนส่งดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวไปกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการต่อละเมิดของตัวแทนในกิจการขนส่งที่ใช้ชื่อตัวการ
จำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกไปแล้ว แต่เป็นการให้เช่าซื้อไปเพื่อให้จำเลยที่ 3 นำไปประกอบกิจการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 เป็นผู้นำรถไปตรวจสภาพต่อทะเบียนรถและต่อใบอนุญาตประกอบการขนส่งทุกปี จำเลยที่ 3ไม่ได้เช่าซื้อรถไปเพื่อประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 3 เองเพราะจำเลยที่ 3 มิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลจึงต้องใช้ชื่อของจำเลยที่ 4 ในการประกอบกิจการดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 4 ให้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกไปแล้วเป็นผู้ขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลให้จำเลยที่ 3 นำไปประกอบการขนส่งในชื่อของจำเลยที่ 4 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในกิจการขนส่งดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3ขับรถคันดังกล่าวไปกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวแทนได้กระทำไปนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,820 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถยนต์ของนายจ้างโดยลูกจ้าง การรับผิดในความเสียหายจากการขับรถประมาท และการเป็นตัวแทน
จำเลยที่ 1 เป็นพลทหารเกณฑ์อยู่ใต้บังคับบัญชาของสามีจำเลยที่ 2 ก่อนเกิดเหตุสามีจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ไปช่วยงานศพบิดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปในกิจการของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในกิจการนั้น จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเรือชนสะพาน: ความรับผิดของเจ้าของเรือ ผู้ควบคุม และผู้ว่าจ้าง รวมถึงประเด็นอายุความและการฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น. เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่ สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอด ได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะ กับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลย จำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของ จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
of 17